ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม  (อ่าน 4009 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sivaroj

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 12
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2013, 01:56:56 pm »
0
อาตมาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้ไม่กี่วัน
ตั้งใจบวชทดแทนพระคุณบิดาและมารดาที่ชราภาพและเจ็บป่วย
ช่วงกลางคืนที่วัดมีปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิ อาตมาก็ได้ฝึกนั่งพร้อมๆญาติโยม
พอเสร็จแล้วจะมีญาติโยมนำน้ำ มะพร้าว (ทั้งผลผ่าเฉพาะหัว) น้ำฟักทอง
(ต้มสุก) ถวายพระ อาตมาก็ฉันตามพระรูปอื่น ( พระพี่เลี้ยง)
    ข้อสงสัยอาตมาคือ
1 ผิดธรรมวินัยหรือไม่
2 หากผิดผิดมากหรือไม่ ปลงอาบัติ ช่วยได้หรือไม่
3 หากผิดครั้งต่อไปจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ฉันตามรูปอื่น
ช่วยตอบข้อสงสัยให้พระใหม่อย่างอาตมาด้วย
บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2013, 02:06:44 pm »
0
ไม่ผิดธรรมและวินัย เพราะวินิจฉัย คณะสงฆ์ไทย อนุญาต ในสาย มหานิกาย
เวลาฉันก็แค่ เพียงบำบัดโรค คือ ความหิว

 :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 10, 2013, 10:49:12 pm »
0
2 หากผิดผิดมากหรือไม่ ปลงอาบัติ ช่วยได้หรือไม่
3 หากผิดครั้งต่อไปจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ฉันตามรูปอื่น
ช่วยตอบข้อสงสัยให้พระใหม่อย่างอาตมาด้วย

ไม่ต้องกังวลผิดเป็นลหุกาบัติอย่างเบา (ปาจิตตีย์) ปลงประจานเสียแก่สงฆ์หรือผู้ร่วมสหธรรมมิกกันก็สิ้นความต้องนั้นๆ หากจะเลี่ยงก็เลี่ยงได้แก่ตน ภิกษุอื่นพิจารณาเป็นเภสัชแก่ตนเฉพาะตน ขออย่าไปกังวลในส่วนของผู้อื่นเพียงตนเลี่ยงก็เลี่ยงไป ครับ!



ןx


หมายเหตุ : ข้อสังเกตในการห่มบวบจะม้วนบิดขวาหรือซ้ายก็ได้ตามแต่สำนักนั้นๆจะนิยม ถ้าบิดซ้ายจะเป็นที่นิยมของสายธรรมยุตติกนิกาย หากบิดขวาจะเป็นที่นิยมของฝ่ายมหานิกาย ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2013, 12:16:53 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2013, 12:18:12 am »
0
วิธีแสดงอาบัติ 

(พรรษาอ่อน ว่า)
   สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ                  (ว่า ๓ หน)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ       (ว่า ๓ หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฎิเทเสมิ
(พรรษาแก่ รับว่า)   ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย
(พรรษาอ่อน ว่า)   อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ
(พรรษาแก่ รับว่า)   อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ
(พรรษาอ่อน ว่า)                   สาธุ สุฎฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    ทุติยัมปิ      สาธุ สุฎฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
    ตะติยัมปิ     สาธุ สุฎฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
           นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
           นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
           นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
       จบพรรษาอ่อน       


(พรรษาแก่ ว่า)
   สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ                  (ว่า ๓ หน)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ       (ว่า ๓ หน)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย อาปัตติโย
อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฎิเทเสมิ
(พรรษาอ่อน รับว่า)   อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย
(พรรษาแก่ ว่า)   อามะ อาวุโส ปัสสามิ
(พรรษาอ่อน รับว่า)   อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ
(พรรษาแก่ ว่า)                   สาธุ สุฎฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    ทุติยัมปิ      สาธุ สุฎฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
    ตะติยัมปิ     สาธุ สุฎฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
           นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
           นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
           นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
       เสร็จพิธีแสดงอาบัติ       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2013, 12:22:58 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2013, 11:06:45 am »
0


น้ำปานะแบบไหนที่พระฉันได้ทั้งคืน

เป็นที่ข้องอกข้องใจกันอยู่พอสมควรกับเรื่องของน้ำปานะ ว่าน้ำอะไรที่พระสามารถฉันได้ตลอดคืน เนื่องจากมีการเข้าใจผิดกันอยู่ ญาติโยมจึงถวายผิดประเภท Food&Health จึงถือโอกาสดีในวันเข้าพรรษามาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำปานะอย่างถูกต้องค่ะ

น้ำปานะ คือ เครื่องดื่มที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ จัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่พระภิกษุสงฆ์รับประเคนไว้แล้วฉันในช่วงหลังเที่ยงไปได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งเช้า

ผู้บัญญัติให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรกคือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกพระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตน้ำปานะ หรือน้ำดื่ม 8 ชนิด คือ
     1. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลมะม่วง
     2. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลหว้า
     3. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด
     4. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด
     5. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลมะซาง
     6. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลจันทน์ หรือผลองุ่น
     7. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลเหง้าบัว
     8. น้ำปานะ  ที่ทำด้วยผลมะปราง หรือผลลิ้นจี่


และทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด ยกเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด





สรุปได้ว่า ในเวลาวิกาลพระท่านสามารถดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลใหญ่กว่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด วิธีทำก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก จะทำให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ได้ แต่ห้ามผ่านการสุกด้วยไฟ

น้ำที่ห้ามพระสงฆ์ดื่มในยามวิกาล
- น้ำจากมหาผล คือ ผลไม้ใหญ่ 9 ชนิด คือผลตาล ผลมะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม และฟักทอง
- น้ำที่ได้จากธัญชาติ 7 ชนิด มีข้าวสาลี ข้าวเปลือก หน้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวแดง ข้าวฟ่าง
- น้ำที่ได้จากพืชจำพวกถั่ว มีถั่วเขียว ถั่วเหลือง  เป็นต้น
- รวมถึงน้ำนมสด ก็ไม่จัดเป็นน้ำปานะ เพราะนมสดถือเป็นโภชนะ (คืออาหาร) อันประณีต ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล


 ans1 ans1 ans1

ส่วนโภชนะอันประณีตอีก 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แม้จะเป็นอาหาร แต่ก็เป็นเภสัช คือยาด้วยพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ฉันได้ทั้งในกาลและวิกาล คือฉันได้ไม่จำกัดเวลา
     มาถึงตรงนี้แล้ว ก็เป็นอันเข้าใจได้เลยว่า
     ทั้งนม, น้ำเต้าหู้, นมถั่วเหลือง, โอวัลติน กาแฟ ไม่จัดว่าเป็นน้ำปานะ
     ฉะนั้นจะจัดน้ำปานะถวายพระก็ต้องระวังกันด้วยนะคะ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://home.truelife.com/detail/1874934/guru
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระบวชใหม่ มีข้อข้องใจสอบถาม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2013, 11:52:28 am »
0
ans1 ans1 ans1 ans1
พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ
         น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
         น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑
         น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
         น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
         น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑
         น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑
         น้ำปานะทำด้วยเหง้าบัว ๑
         น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.


    :25: :25: :25:
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.


    ครั้งนั้น เกณิยชฎิลสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ณ อาศรมของตนโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล
    ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เกณิยชฎิลจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของเคี้ยว ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ นำพระหัตถ์จากบาตรห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

_______________________________________________________
ที่มา : เรื่องเกณิยชฎิล พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=2364&Z=2519&pagebreak=0


ans1 ans1 ans1 ans1
พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔

     [๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า
สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ สิ่งไรไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค.

     วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
     พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้:-
     ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
     ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควรขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
     ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
     ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.


      :25: :25: :25:
     พระพุทธานุญาตกาลิกระคน
     [๙๓] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า
         - ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ
         - สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ
         - ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกควรหรือไม่ควรหนอ
         - สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ
         - ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ
         - ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิก ควรหรือไม่ควรหนอ
     แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.


      st12 st12 st12
    พระผู้มีพระภาคตรัส ว่าดังนี้:-
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยามกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาลไม่ควรในวิกาล
    ๒. สัตตาหกาลิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล
    ๓. ยาวชีวิกระคนกับยาวกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล
    ๔. สัตตาหกาลิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.
    ๕. ยาวชีวิกระคนกับยามกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรชั่วยาม ล่วงยามแล้วไม่ควร.
    ๖. ยาวชีวิกระคนกับสัตตาหกาลิกที่รับประเคนในวันนั้น ควรตลอด ๗ วัน ล่วง ๗ วันแล้วไม่ควร.

__________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=05&A=2572&Z=2603

ans1 ans1 ans1 ans1   
       
อรรถกถาเรื่องพระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔

    มหาปเทส ๔              
    เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) ๔ ข้อเหล่านี้ว่า ยํ ภิกฺขเว มยา อิทํ น กปฺปติ เป็นต้น.
    พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหาปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า :-


    ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ ๗ ชนิดเป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต.
    มหาผล ๙ อย่าง คือ ผลตาล ผลมะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง เป็นอันทรงห้าม และอปรัณณชาติทุกชนิด มีคติอย่างธัญญชาติเหมือนกัน.
    มหาผลและอปรัณณชาตินั้น ไม่ได้ทรงห้ามไว้ก็จริง ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ,
    เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรในปัจฉาภัต.


    น้ำปานะ ๘ อย่าง ทรงอนุญาตไว้ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็กมีหวาย มะขาม มะงั่ว มะขวิด สะคร้อและเล็บเหนี่ยวเป็นต้น มีคติอย่างอัฏฐบานแท้ น้ำปานะแห่งผลไม้เหล่านั้น ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ก็จริง.
    ถึงกระนั้น ย่อมเข้ากับสิ่งที่เป็นกัปปิยะ เพราะฉะนั้น จึงควร.....ฯลฯ....

____________________________________________________
ที่มา : พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔ อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=92&p=1

หมายเหตุ
   - ธัญญชาติ 7 ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก หน้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวแดง ข้าวฟ่าง
   - อปรัณณชาติ คือ พืชจำพวกถั่ว มีถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น



อาตมาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้ไม่กี่วัน
ตั้งใจบวชทดแทนพระคุณบิดาและมารดาที่ชราภาพและเจ็บป่วย
ช่วงกลางคืนที่วัดมีปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิ อาตมาก็ได้ฝึกนั่งพร้อมๆญาติโยม
พอเสร็จแล้วจะมีญาติโยมนำน้ำ มะพร้าว (ทั้งผลผ่าเฉพาะหัว) น้ำฟักทอง
(ต้มสุก) ถวายพระ อาตมาก็ฉันตามพระรูปอื่น ( พระพี่เลี้ยง)
    ข้อสงสัยอาตมาคือ
1 ผิดธรรมวินัยหรือไม่
2 หากผิดผิดมากหรือไม่ ปลงอาบัติ ช่วยได้หรือไม่
3 หากผิดครั้งต่อไปจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ฉันตามรูปอื่น
ช่วยตอบข้อสงสัยให้พระใหม่อย่างอาตมาด้วย

ans1 ans1 ans1
     ขอให้ผู้ถามอ่าน บทความ พระไตรปิฎกและอรรถกถาที่นำเสนอมาข้างต้น ให้เข้าใจ ผมขอตอบข้อสงสัยดังนี้
    ๑. หากยึดเอาพุทธพจน์ตามตัวอักษรที่ปรากฏแล้ว ไม่มีข้อไหนที่ยืนยันว่าผิดวินัย แต่หากยึดตามความเห็นตามอรรถกถาจารย์ที่วินิจฉัยตามหลักมหาปเทส ๔ แล้ว ก็ต้องถือว่า ผิดวินัย
    ๒. ผิดระดับไหน ผมเองไม่เชี่ยวชาญตอบตรงๆไม่ได้ แต่ไม่ใช่ปาราชิกแน่นอน
    ๓. หากไม่ต้องการทำผิดวินัยอีก ก็ขอให้อ่านข้อธรรมที่นำเสนอให้ละเอียด ทำความเข้าใจให้ดี และขอให้รู้จักปฏิเสธ อย่าเกรงใจคนอื่นจนทำให้เราทำผิดศีล

    คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 11, 2013, 12:00:20 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ