ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทิฏฐิ 2 ที่จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ  (อ่าน 6146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทิฏฐิ 2 ที่จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ
« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 07:50:32 pm »
0
เป็นข้อความปรากฏในหนังสือ ธรรมศึกษาชั้นโท หมวด 2

 พึ่งเรียนวันนี้  แต่ยังไม่เข้าใจ จึงขอมาหาข้อมูลเพิ่มคะ

     ทิฏฐิ  2 เป็นมิจฉาทิฏฐิ

    1.สัสสตทิฏฐิ  มีความเห็นว่าเที่ยง

    2.อุจเฉททิฏฐิ มีความเห็นว่าขาดสูญ

  ความหมายมีเพียงหัวข้อ ไม่มีการยกคำอธิบาย ไว้จึงขอวานผู้รู้ช่วยยกคำอธิบายให้ด้วยคะ
 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทิฎฐิสังยุตต์ - โสตาปัตติวรรค - ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 01:26:27 pm »
0


ทิฎฐิสังยุตต์ - โสตาปัตติวรรค - ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

    ๙. สัสสตทิฏฐิสูตร

    ว่าด้วยความเห็นว่าโลกเที่ยง

    [๔๓๓] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะถือมั่น

อะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น

อย่างนี้ว่า โลกเที่ยง. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่

เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง.

    [๔๓๔] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง?

    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น

จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?

    ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

    พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น

จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?

    ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

    พ. สิ่งใดที่ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว ค้นคว้าแล้ว

ด้วยใจ แม้สิ่งนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

    ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

    ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

    พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น

จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง บ้างไหม?

    ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกละความสงสัยในฐานะ ๖ เหล่านี้ ชื่อว่า

เป็นอันละความสงสัยแม้ในทุกข์ แม้ในทุกขสมุทัย แม้ในทุกขนิโรธ แม้ในทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น อริยสาวกผู้นี้ เราเรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

    จบ สูตรที่ ๙.
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทิฏฐิ 2 ที่จัดเป็น มิจฉาทิฏฐิ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 01:29:30 pm »
0
ความเห็นผิดท่านแจกไว้เป็น ๒ อย่าง
  สัสสตทิฏฐิ  เห็นว่ายั่งยืน คืออะไรเป็นอย่างไร  ก็คงเป็นอย่างนั้นอยู่เสมอ
เช่นคนตายไปแล้วก็ต้องเป็นคน  สัตว์ชนิดอะไรตายไปแล้วก็ต้องเป็นสัตว์ชนิด
นั้น  ไม่มีแปรปรวนเปลี่ยนแปลง  นี่เรียกว่า  สัสสตทิฏฐิ  เห็นว่ายั่งยืน
 หรือเที่ยงอย่างหนึ่ง  อุจเฉททิฏฐิเห็นว่าขาดสูญ  ตายแล้วสูญหมดไม่มีเกิด
ใหม่  และถึงเกิดใหม่ก็ไม่ใช่เรา  เช่นธาตุทั้ง ๔  คือ  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม
หรือ ๕ เติมอากาศเข้าด้วย  ไปประชุมถูกต้องตามส่วนเมื่อไร  ก็เกิดมี
วิญญาณ  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วนเวียนกันไป
 เมื่อธาตุแยกจากกันไป  ดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  อากาศ  ก็เป็นดิน  น้ำ  ไฟ
ลม  อากาศ  คงอยู่ตามธรรมดา  ไม่เป็นเราไม่เป็นใคร
 แต่ถ้าไปประชุมกันเข้าใหม่ก็เกิดวิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร ไปใหม่อีก
นี่เป็นพวก  อุจเฉททิฏฐิ  เห็นว่าตายสูญ
         
    อีกอย่างหนึ่ง  ท่านแยกทิฏฐิเป็น ๓ คือ  อกิริยทิฏฐิ  เห็นว่าไม่เห็นอันทำ
คนจะทำอะไรก็ทำไป  แต่ว่าเท่ากับไม่ได้ทำแล้วก็แล้วกันไป  ไม่มีผลอะไร
ทำดีก็ไม่ได้ผลดี  ทำชั่วก็ไม่ได้ผลชั่ว  สักแต่ว่าทำเท่านั้น  อย่างหนึ่ง
  อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่าไม่มีเหตุ  คือคนจะได้ดีก็ได้ดีเอง  ได้ชั่วก็ได้ชั่วเอง
ไม่มีเหตุไม่มีผล  ถึงคนจะทำดีเท่าไร ๆ  แต่ถ้าไม่มีใครยกย่องก็ไม่ดี
ถึงคนจะทำชั่วเท่าไร ๆ  แต่ถ้าไม่มีใครลงโทษก็ไม่ได้ชั่ว  ไม่มีเหตุไม่มีผล
นี่อย่างหนึ่ง
  นัตถิกทิฏฐิ  เห็นว่าไม่มี  คือไม่มีมารดาบิดา  ไม่มีบุตร  เมื่อมารดาบิดามี
ลูกออกมาก็แล้วกันไป  ต่างคนก็ต่างไป  มารดาบิดาไม่มีคุณอะไรกับลูก
ลูกก็ไม่ต้องเป็นกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดา  แม้คนที่เป็นอยู่นี่ก็สักแต่ว่า
ธาตุอันหนึ่ง ๆ  ที่รวมกันเข้า  จะไปทำอะไรใคร  ก็ไม่เป็นอะไร คนหนึ่งไปตี
หัวคนอีกคนหนึ่ง  ก็เป็นแต่ธาตุต่อธาตุกระทบกัน  นี่อีกชนิดหนึ่ง
  อกิริยาทิฏฐิ  กับ  อเหตุกทิฏฐิ  แย้งกับพระพุทธภาษิตเพราะพระพุทธภาษิต
สอนว่า  คนที่ทำอะไรลงไป  การที่ทำนั้นมีดีมีชั่ว  ถ้าทำดีก็ต้องมีผลดี  ถ้าทำ
ชั่วก็มีผลชั่ว  ไม่ใช่เพียงสักแต่ว่าทำแล้ว ๆ ไป  และพระพุทธภาษิตแสดงว่ามี
เหตุมีผล  คือคนที่เป็นคนดี ก็เพราะทำเหตุที่ดี ได้ผลดี
เป็นคนชั่วก็เพราะทำเหตุชั่ว  ได้ผลชั่ว  อยู่ที่คน
  นัตถิกทิฏฐิ  เห็นว่าไม่มีอะไรก็แย้งกับพุทธภาษิตที่แสดงว่ามีอยู่  คือ  ดิน
น้ำ  ไฟ  ลม อากาศ  และธาตุรู้  รวมเป็นธาตุ ๖  เพราะธาตุรู้นั่นแหละที่มี
อยู่รวมกับดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  อากาศ  ที่เป็นธาตุไม่รู้จึงปรากฏเป็นคน  คน
นั่นแหละเมื่อทำดีก็ได้เลื่อนชั้นเป็นดียิ่งขึ้นไปโดยลำดับ  จนถึงเป็นพระอริยะ
เมื่อทำชั่วก็ได้ผลชั่ว
           ทิฏฐิเหล่านี้จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ  ความเห็นผิด  เพราะได้ฟังมา
จากอื่นบ้างเพราะคิดเอาเองบ้าง  แต่ไม่ได้ทำให้มีให้เป็นปรากฏขึ้นชัด  จึง
ขาดความเห็นจริง  เมื่อขาดความเห็นจริง  ก็ไปเห็นไม่จริงเห็นผิด  จึงเป็น
มิจฉาทิฏฐิ  ความยึดทิฏฐิ  ความเห็นอันผิดจากความจริง
เป็นทิฏฐุปาทาน  หรือ  ทิฏฐิอุปาทาน
เป็นทิฏฐุปาทาน  หรือ  ทิฏฐิอุปาทาน 
ยึดถือความเห็นอย่างหนึ่ง
( โอ.  ๒/๙๑-๙๓ ).
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร