ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ถูกดูหมิ่น จ้วงจาบ เช่นนี้ จะนิ่งดูดายหาควรไม่.!!??  (อ่าน 1747 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา (เป็นถ้ำขนาดใหญ่ในอดีต เพดานถ้ำยุบลงมาในช่วงหลัง)

สังคายนาครั้งแรก
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

สังคายนา คือการรวบรวมหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหมวดหมู่ ก่อนหน้าสังคายนาเกิดขึ้นจริงๆ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ได้รวบรวมหมวดหมู่แห่งธรรมะตั้งแต่หมวดหนึ่งถึงหมวดสิบ และเกินสิบไว้ก่อนแล้ว ชื่อว่า สังคีติสูตร และ ทสุตตรสูตร ที่ไม่นับเป็นสังคายนาก็เพราะยังไม่สมบูรณ์ สังคายนาครั้งแรกที่สมบูรณ์เกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานได้ 3 เดือน โดยพระอรหันต์สาวก 500 รูป อันมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ณ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ มีพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สาลวโนทยานของเหล่ามัลลกษัตริย์ แห่งเมืองกุสินารานั้น พระมหากัสสปะอยู่ต่างเมือง ทราบข่าวพระประชวรของพระพุทธองค์ จึงเดินทางพร้อมภิกษุบริวารประมาณ 500 รูป เพื่อเฝ้าพระพุทธองค์ ก่อนเข้าไปยังเมืองกุสินารา ได้พักเหนื่อยอยู่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่ง ขณะนั้นอาชีวกนักบวชนอกพุทธศาสนาคนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพเดินออกนอกเมืองมา พระมหากัสสปะจึงเอ่ยถามถึงพระพุทธเจ้า อาชีวกคนนั้นกล่าวว่า ศาสดาของพวกท่านปรินิพพานได้ตั้ง 7 วันแล้ว พวกท่านยังไม่ทราบอีกหรือ


 :25: :25: :25:

ได้ยินดังนั้นภิกษุที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ก็นั่งนิ่งปลงธรรมสังเวช พิจารณาความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ฝ่ายภิกษุที่ยังเป็นเสขบุคคล และปุถุชนอยู่จำนวนมาก ก็พากันร่ำไห้อาลัยอาวรณ์ในพระพุทธองค์ มีขรัวตารูปหนึ่งนามสุภัททะ ได้เห็นภิกษุทั้งหลายร่ำไห้อยู่ จึงปลอบโยนว่า นิ่งเสียเถอะ อย่าร้องไห้เลย พระศาสดาปรินิพพานไปก็ดีแล้ว สมัยยังทรงพระชนม์อยู่ทรงจู้จี้สารพัด ห้ามโน่นห้ามนี่ จะทำอะไรก็ดูจะผิดไปหมด ไม่มีอิสระเสรีภาพเลย บัดนี้เราเป็นอิสระแล้ว ปรารถนาจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้

พระมหากัสสปะได้ยินดังนั้นก็สลดใจ "โอหนอ พระบรมศาสดาสิ้นไปยังไม่ข้าม 7 วันเลย สาวกของพระองค์พูดได้ถึงขนาดนี้ ต่อไปนานเข้าจะขนาดไหน"





ท่านรำพึงว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะทรงพระชนม์อยู่ ทรงมีพระมหากรุณาแก่ท่านเป็นกรณีพิเศษ ได้ประทานบาตรและจีวรแก่ท่าน และทรงรับเอาบาตรจีวรของท่านไปทรงใช้เอง นับว่าทรงไว้วางพระทัยตัวท่านเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ถูกดูหมิ่น จ้วงจาบ เช่นนี้ จะนิ่งดูดายหาควรไม่ ท่านจึงตัดสินใจทำสังคายนาโดยคัดเลือกพระอรหันต์สาวกผู้ทรงอภิญญา ได้จำนวน 499 รูป เว้นไว้ 1 รูป เพื่อพระอานนท์

ขณะนั้นพระอานนท์ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล จะเลือกท่านด้วยก็ไม่ได้ เพราะคุณสมบัติยังไม่ครบ ครั้นจะไม่เลือกก็ไม่ได้ เพราะการทำสังคายนาครั้งนี้ขาดพระอานนท์ไม่ได้ เนื่องจากพระอานนท์เป็นผู้ใกล้ชิดพระพุทธองค์มากที่สุด ได้ทรงจำพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์มากกว่าใคร พระมหากัสสปะจึงให้โอกาสพระอานนท์ เพื่อเร่งทำความเพียรเพื่อทำที่สุดทุกข์ให้ได้ทันกำหนดสังคายนา อันจะมีขึ้นใน 3 เดือนข้างหน้า


 :96: :96: :96:

พระอานนท์จึงเร่งบำเพ็ญเพียรทางจิตอย่างหนัก แต่ยิ่งเพียรมากเท่าไร ก็ดูเสมือนว่าจุดหมายปลายทางห่างไกลออกไปทุกที จึงรำพึงว่า พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานว่า เราจะทำที่สุดทุกข์ได้ไม่นานหลังจากพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน คำพยากรณ์ของพระพุทธองค์คงไม่มีทางเป็นอื่นแน่ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องเพียรให้มากขึ้นกว่าเดิม

วันหนึ่ง หลังจากเพียรภาวนาอย่างหนักรู้สึกเหนื่อย จึงกำหนดว่าจะพักผ่อนสักครู่แล้วจะเริ่มใหม่ จึงนั่งลงเอนกายนอนพัก เท้าไม่ทันพ้นพื้น ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ท่านก็ "สว่างโพลงภายใน" บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ขีณาสพทรงอภิญญาในบัดดล





ขณะนั้น พระสงฆ์ 499 รูปกำลังนั่งประชุมกันตามลำดับพรรษา เว้นอาสนะว่างไว้หนึ่งที่สำหรับพระอานนท์ พระอานนท์ต้องการประกาศว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว จึงเข้าฌานบันดาลฤทธิ์ดำดินไป โผล่ขึ้นนั่งบนอาสนะ ท่ามกลางสังฆสันนิบาต ทันเวลาพอดี

เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว พระมหากัสสปะ ประมุขสงฆ์ ได้ประกาศให้พระอุบาลีผู้เชี่ยวชาญพระวินัย ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ ผู้เป็นพหูสูต ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยตัวท่านเอง ทำหน้าที่เป็นผู้ซักถามประเด็นต่างๆ มีพระสงฆ์ทั้งปวงช่วยกันสอบทาน


 ans1 ans1 ans1

ลักษณะของการสังคายนา คงเป็นทำนองนี้ คือ

1.พระสงฆ์ทั้ง 500 รูปคงต่างก็เสนอพระธรรมเทศนาที่ตนได้ยินมาจากพระพุทธเจ้า มากบ้างน้อยบ้าง ข้อมูลส่วนใหญ่ก็ได้มาจากพระอุบาลี และพระอานนท์

2.พระธรรมเทศนานั้นๆ พระพุทธองค์คงทรงแสดงโดย "ภาษา" ถิ่นต่างๆ พระสงฆ์ในที่ประชุมคงตกลงกันว่าจะต้องใช้ภาษาใดภาษาหนึ่ง "ร้อยกรอง" พระธรรมเทศนานั้นๆ และภาษานั้นก็คือ ภาษามาคธี (หรือภาษามคธ) เมื่อซักถามและตอบให้อรรถาธิบาย จนเป็นที่ตกลงกันแล้ว ก็ "ร้อยกรอง" เป็นภาษามาคธี

3.เมื่อร้อยกรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงก็ "สวดสังวัธยายร่วมกัน" คือท่องพร้อมๆ กัน เพื่อให้จำได้คล่องปาก เพราะฉะนั้นจึงเรียกกิจกรรมครั้งนี้ว่า "สังคายนา" (แปลว่า สวดร่วมกัน, สวดพร้อมกัน) ด้วยประการฉะนี้


 gd1 gd1 gd1

สังคายนาครั้งนี้กระทำ ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต นอกเมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ มีพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ครองนครขณะนั้นทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ กระทำกันอยู่เป็นเวลา 7 เดือนจึงสำเร็จ

การทำสังคายนาครั้งนี้เรียกว่า "สังคายนาพระธรรมวินัย" เนื่องจากยังไม่มีพระไตรปิฎก และได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา โดยระบบ "มุขปาฐะ" (คือการท่องจำ)



ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน หน้า 6 ฉบับวันที่ 17 พ.ย.2556
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1384687587&grpid=&catid=19&subcatid=1903
ขอบคุณภาพจาก
http://upload.wikimedia.org/
http://www.alittlebuddha.com/
http://2g.pantip.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าไม่มี พระผู้เฒ่า ที่ทำให้เกิดเหตุ เราก็คงไม่มีการทำสังคายนา เป็นแน่แท้ ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณ

   thk56 thk56 thk56 บรรดามารทั้งหลายด้วย
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ