ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เด็กที่เป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องบวชเป็นสามเณรก่อนมีใครบ้างครั้ง ในครั้งพุทธกาล  (อ่าน 5448 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

เด็กที่เป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องบวชเป็นสามเณรก่อนมีใครบ้างครั้ง ในครั้งพุทธกาล


 :25: thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

สามเฌรโสปากะ
(ยกมาแสดงบางส่วน)

    ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในโสปากกำเนิด(ผู้เกิดและเติบโตในป่าช้า) ในเมืองราชคฤห์.
     ปรากฏโดยชื่ออันมีมาโดยกำเนิดว่า โสปากะ.
     ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านเกิดในตระกูลพ่อค้า ส่วนคำว่าโสปากะ เป็นแต่เพียงชื่อ.
     คำนั้นผิดจากบาลีในอุทาน เพราะกล่าวไว้ว่า เมื่อถึงภพสุดท้าย เราเกิดในกำเนิดโสปากะ ดังนี้.

     เมื่อเขาเกิดได้ ๔ เดือน บิดาก็ตาย อาจึงเลี้ยงไว้. ท่านเกิดได้ ๗ ปีโดยลำดับ.
     วันหนึ่ง อาโกรธว่า ทะเลาะกับลูกของตน จึงนำเขาไปยังป่าช้า เอาเชือกผูกมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แล้วเชือกนั้นนั่นแหละผูกมัดอย่างแน่นหนาติดกับร่างของคนตาย แล้วก็ไปเสียด้วยคิดว่า สุนัขจิ้งจอกเป็นต้นจงกัดกิน.
     เพราะเด็กนั้นเป็นผู้มีภพครั้งสุดท้าย เขาไม่อาจให้ตายได้เอง เพราะผลบุญของเด็ก
     แม้สัตว์ทั้งหลายมีสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ก็ไม่อาจครอบงำได้.


      :96: :96: :96:

     ในเวลาเที่ยงคืน เด็กนั้นเพ้ออยู่ว่า
     คติของเราผู้ไม่มีคติจะเป็นอย่างไร หรือเผ่าพันธุ์ของเรา
     ผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์จะเป็นใคร ใครจะเป็นผู้ให้อภัยแก่เรา ผู้ถูกผูกอยู่ในท่ามกลางป่าช้า.


     ในเวลานั้น พระศาสดาทรงตรวจดูเวไนยสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอันโพลงอยู่ในภายในหทัยของเด็ก จึงทรงแผ่พระโอภาสทำให้เกิดสติแล้วตรัสอย่างนี้ว่า
      มาเถิดโสปากะ อย่ากลัว จงแลดูตถาคต เราจะยังเธอให้ข้ามพ้นไป ดุจพระจันทร์พ้นจากปากราหูฉะนั้น.
      ทารกตัดเครื่องผูกให้ขาดด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาจบคาถา ได้เป็นพระโสดาบัน ได้ยืนอยู่ตรงหน้าพระคันธกุฏี.




      มารดาของทารกนั้นไม่เห็นบุตรจึงถามอา เมื่ออาเขาไม่บอกความเป็นไปของบุตรนั้น จึงไปค้นหาในที่นั้นๆ คิดว่า เขาเล่าลือว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้อดีต อนาคต และปัจจุบัน ถ้ากระไรเราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามความเป็นไปแห่งบุตรของเรา จึงได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.

     พระศาสดาทรงปกปิดทารกนั้นด้วยพระฤทธิ์ ทรงถูกนางถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เห็นบุตรของข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปของเขาบ้างไหม พระเจ้าข้า.
     จึงตรัสธรรมว่า
     บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความเป็นผู้ต้านทาน บิดาก็ดี เผ่าพันธุ์ก็ดี ย่อมไม่มีเพื่อความเป็นผู้ต้านทาน ความต้านทานในหมู่ญาติ ย่อมไม่มีแก่ผู้อันความตายถึงทับแล้ว.
     นางได้ฟังธรรมนั้นแล้วได้เป็นพระโสดาบัน. ทารกได้บรรลุพระอรหัต.


      ans1 ans1 ans1

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคลายพระฤทธิ์.
     ฝ่ายมารดาก็ได้เห็นบุตร ร่าเริงดีใจ ได้ฟังว่า บุตรนั้นเป็นพระขีณาสพ จึงให้บวชแล้วก็ไป.

     ท่านโสปากะนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ในร่มเงาแห่งพระคันธกุฎี ถวายบังคมแล้วจงกรมตามเสด็จ.
     พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงอนุญาตอุปสมบทแก่เธอ จึงมีพระดำรัสถามปัญหา ๑๐ ข้อ
     โดยมีอาทิว่า เอกํ นาม กึ อะไรชื่อว่าหนึ่ง ดังนี้.

     ฝ่ายท่านโสปากะนั้น ถือเอาพระพุทธประสงค์ เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ ทูลแก้ปัญหาเหล่านั้น
     โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ดังนี้.
     ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ปัญหาเหล่านั้นจึงชื่อว่า กุมารปัญหา.
     พระศาสดาทรงมีพระทัยโปรดปราน เพราะการพยากรณ์ปัญหาของเธอ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท.
     ด้วยเหตุนั้น อุปสมบทนั้นจึงชื่อว่า ปัญหพยากรณอุปสมบท อุปสมบทด้วยการพยากรณ์ปัญหา.ฯ

_________________________________________________
อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา สัตตกนิบาต ๔. โสปากเถรคาถา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=364
ขอบคุณภาพจาก http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 28, 2013, 08:05:12 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


    อุปสัมปทา การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ;
    วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลักมี ๓ อย่างคือ

    ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง
    ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา หรือสรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร
    ๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้ ;


   วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษ จำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓. เป็นข้อ ๘. ท้ายสุด)
   ๓. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ
   ๔. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร
   ๕. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
   ๖. ทูเตนะ อุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่อ อัฑฒกาสี
   ๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒ ครั้งจากสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี
   ๘. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา (ข้อ ๓. เดิม)

______________________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




ทรงอนุญาตบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์

    [๓๔] ก็โดยสมัยนั้น  ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบทมาจากทิศต่างๆ จากชนบทต่างๆ ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท. ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบทย่อมลำบาก.
     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ มีพระทัยปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บัดนี้ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบทมาจากทิศต่างๆ จากชนบทต่างๆด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชา อุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบท ย่อมลำบาก  ผิฉะนั้น 


      st12 st12 st12

     เราพึงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้นๆ ในชนบทนั้นๆ เถิด. ครั้นเวลาเย็นเสด็จออกจากที่เร้น รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ณ ที่นี้ ได้มีใจปริวิตกเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า บัดนี้ภิกษุทั้งหลายพากุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท มาจากทิศต่างๆจากชนบทต่างๆ  ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคจักให้พวกเขาบรรพชาอุปสมบท ในเพราะเหตุนั้น ทั้งพวกภิกษุทั้งกุลบุตรผู้มุ่งบรรพชา และกุลบุตรผู้มุ่งอุปสมบทย่อมลำบาก 

     ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้นๆในชนบทนั้นๆเถิด. 
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราอนุญาตพวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้นๆในชนบทนั้นๆ เถิด.


      ans1 ans1 ans1

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็แลพวกเธอพึงให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทอย่างนี้:-
     ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและผู้มุ่งอุปสมบท
     - ปลงผมและหนวด
     - แล้วให้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า 
     - ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว 
     - ให้นั่งกระหย่งประคองอัญชลีสั่งว่า เธอจงว่าอย่างนี้ แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้:-
             ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
             ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
             ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
             แม้วาระที่ ๒  ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
             แม้วาระที่ ๒  ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
             แม้วาระที่ ๒  ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
             แม้วาระที่ ๓  ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
             แม้วาระที่ ๓  ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
             แม้วาระที่ ๓  ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์นี้.


      กถาว่าด้วยอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ จบ.

_________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๗๗๘ - ๘๑๐. หน้าที่ ๓๓ - ๓๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=4&A=778&Z=810&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=34
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

เด็กที่เป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องบวชเป็นสามเณรก่อนมีใครบ้างครั้ง ในครั้งพุทธกาล


 :25: thk56


      ans1 ans1 ans1

   วิเคราะห์จากขั้นตอนการบวชในพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า การบรรพชาและอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ มี ๔ ขั้นตอนโดยลำดับ คือ
     - ปลงผมและหนวด
     - แล้วให้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า
     - ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว
     - ให้นั่งกระหย่งประคองอัญชลีกล่าวไตรสรณคมน์
   (สมัยพุทธกาลภิกษุสามารถบวชด้วยการกล่าวไตรสรณคมน์ได้ ยังไม่มีการแบ่ง)

   ในสมัยพุทธกาลมีสามเณรที่สำเร็จอรหันต์ตอนปลงผมเสร็จ(เท่าที่ค้นได้)มี ๔ รูป คือ
     - สามเณรสีวลี
     - สามเณรทัพพมัลลบุตร
     - สังกิจจสามเณร
     - สุมนสามเณร

   การบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ขั้นตอนสุดท้าย คือ การกล่าวไตรสรณคมน์
   ในเมื่อยังไม่ถึงขั้นตอนสุดท้าย ก็อาจถือได้ว่า ยังเป็นฆราวาสอยู่
   เพราะเหตุที่เพิ่งปลงผมเสร็จ ยังไม่ได้ครองผ้า และยังไม่ได้กล่าวไตรสรณคมน์
   ทำให้สรุปได้ว่า เด็กที่บรรลุอรหันต์ก่อนเป็นสามเณร มีทั้งหมด ๕ รูป (รวมโสปากสามเณร)

   ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ  :49:

   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ