ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตามดูลม หายใจเข้า ออก ให้เป็น นิสัย ด้วย วินัย ที่ดี  (อ่าน 4695 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


อุปกิืเลส ญาณนิทเทส

ภาวะอันตรายของสมาธิ มี 3 หมวด ๆ ละ 6

1. ปฐมฉักกะ ( ภาวะอันตรายของสมาธิ 6 ประการ บทที่ 1)

1.1 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายใน เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจเข้าเข้า
ที่ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

1.2 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายนอก เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจออก
ที่ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

1.3 ความเป็นไปแห่งตัณหา คือ ความติดใจหวัง ลมหายใจเข้า   

1.4 ความเป็นไปแห่งตัณหา คือ ความติดใจหวัง ลมหายใจออก   

1.5 ความหลง ในการได้ลมหายใจออก ของพระโยคาวจร ผู้ถูก ลมหายใจเข้า ครอบงำ   

1.6 ความหลง ในการได้ลมหายใจเข้า ของพระโยคาวจร ผู้ถูก ลมหายใจออก ครอบงำ

ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติ อานาปานสติ มักจะเกิดความ ฟุ้งซ่าน ด้วยการบังคับลมหายใจเข้า และ ออก และ เพ่ง

ด้วยความปรารถนา และ้ติดใจคือหลง ในการหายใจเข้า และ หายใจออก ถูกลมหายใจครอบงำ

เหมือนบุคคลที่ได้ของเล่นมาใหม่ ก็ชอบใจ เพลินในลมหายใจเข้า และ หายใจออก

หรือ เหมือนคนที่ไม่มีลมหายใจเข้า ด้วยจะถึงมรณะย่อมทรมาน เพราะไม่มีลมหายใจเข้า

หรือ ย่อมทรมาน เพราะลมหายใจที่เข้าแล้ว ไม่มีลมหายใจออก

แท้ที่จริงการภาวนา ลมหายใจเข้า มีได้ เพราะมีลมหายใจออก

                     ลมหายใจออก มีได้ เพราะมีลมหายใจเข้า

สรรพสัตว์ที่มีปาณะ ย่อมอาศัย ลมใจหายออก และ ลมหายใจเข้า จึงจักมีชีวิตอยู่ได้ฉันใด

การติดใจ และ ต้องการลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ย่อมไม่เกิดการปล่อยวางดังนั้นภาวนา

มีเป้าหมาย ระลึกรู้ใน ลมหายใจเข้า หายใจออก โดยธรรมชาติแห่ง กาย และ จิต ไม่ได้มุ่งหวังให้

พระโยคาวจร บังคับหรือหลงในลมหายใจเข้า และ ออก การภาวนานั้นต้องภาวนาเพียง แต่ผู้หายใจออก

และ ผู้หายใจเข้า ด้วยความมีสติ  จึงชื่อว่า อานาปาน + อนุสสติ = อานาปานุสสติ

ดังนั้น ปฐมฉักกะ จึงชี้แจงความผิดพลาดของผู้ฝึกเบื้องต้นไว้ในการประคองลมหายใจอก และ ลมหายใจเข้า



เบื้องต้นแต่เท่านี้ก่อน พอให้ท่านทั้งหลายได้อ่านทบทวน ในปฐมฉักกะให้ขึ้นใจ อย่าโลภมากในปริยัติ

ค่อยทำความเข้าใจด้วยการภาวนา เพราะกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐาน ปฏิบัติ นะจ๊ะไม่ใช่

เรียน ๆ ท่อง ๆ กรรมฐานจักก้าวหน้าได้ ต้องภาวนา

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับ พระอาจารย์ เป็นประโยชน์มากครับ

ผมเองเพิ่งได้เข้าใจถึงความฟุ่งไปหลงไปของผมที่ทำให้เกิดความหลงผิดอยู่ หรือ ระสับระส่ายไม่เป็นสมาธิหาความสงบไม่ได้
แม้เคยผ่านมามีมาเพราะด้วยสมัยหนึ่งเจริญปฏิบัติด้วยความไม่คิดอะไร ไม่หวังอะไร ไม่ลังเลสงสัย ไม่รู้อะไรทั้งสิ้นสักแต่ทำๆไปความเป็นไปของมันก็เกิดขึ้นเอง

แต่เพราะเมื่อเรียนมากรู้มากคิดมากความเสื่อมไปจึงมาถึง และ เพราะเหตุดังพระสูตรนี้ๆนี่เอง อุปสรรคในการเจริญปฏิบัติใดๆ ความสูญสลายและมิจฉาใดๆ จึงเกิดขึ้นแก่กายใจผมดังนี้

บัดนี้ได้แจ่มแจ้งใจผมนัก ขอขอบพระคุณพระอาจารย์ครับที่เผยแพร่นำพระสูตรนี้ให้ได้รู้ ผมจะสำรวมระวังและเพียรปฏิบัติต่อไำปครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา