ลำดับแห่งการศึกษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
การศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๒๕ - ๒๔๘๐ พระภิกษุเดินทางมาศึกษาพระกรรมฐาน ณ ศูนย์กลางพระกรรมฐาน ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ คือที่วัดราชสิทธาราม (พลับ)
การหากัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร คือ ผู้เป็นมิตรที่ดีฝ่ายเจริญ ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาจารย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ดูกรอานนท์ จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อาศัยเราเป็นกัลยาณมิตรแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิดได้, พระพุทธเจ้าถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง จึงรับเอาพระกรรมฐาน ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นดีที่สุด
เมื่อพระพุทธองค์ ทรงปรินิพพานแล้ว รับเอาพระกรรมฐานในสำนักพระมหาสาวก ๘๐ พระองค์ ถ้าพระมหาสาวกทั้ง ๘๐ ปรินิพพานแล้ว และเสาะหาจนได้กัลยาณมิตรแล้ว ให้ทำดังนี้………
การมอบตัวต่อพระรัตน์ไตร
นำเครื่องสักการ พระรัตนไตรอันประกอบไปด้วย ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ ๕ กระทงกล่าวคำบูชาพระรัตนไตร นิยมนำมาในวันพฤหัสบดี ทำวัตรจบแล้ว พระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน เทศน์ขึ้นธรรม (เทศขึ้นพระกรรมฐาน ตามพระคัมภีร์เทศของเก่า) ๑ จบ ตามแบบอย่างโบราณที่เคยประพฤติปฎิบัติมา
เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน และทำความเข้าใจ มีใจความย่อๆดังนี้ กล่าวถึงการสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วเกิดปีติ เกิดความสงบ(ยุคล) เป็นสุข มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นต้น
การตั้งสมาธิ
สำหรับพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผู้ไม่เคยเจริญสมาธิมาก่อนเลย ท่านให้เจริญภาวนา พระกรรมฐาน ที่มีอานุภาพน้อย(ปริตตารมณ์) ทำให้จิตสามารถยกขึ้นตั้งลงสู่สมาธิได้โดยง่าย เป็นขั้นๆไป
ท่านให้เจริญภาวนาในห้องพระพุทธคุณอันมีใน พระปีติทั้ง ๕ ประการ พระยุคลธรรม ๖ ประการ พระสุขสมาธิ ๒ ประการ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเบื้องต้นดีแล้ว จึงเจริญภาวนาสมาธิเบื้องสูงต่อไป
การเจริญภาวนาสมาธิเบื้องสูง
ตั้งจิตหาประมาณมิได้ ท่านให้เจริญพระกรรมฐานทีมี ปฏิภาคนิมิตร เรียงลำดับดังนี้
ท่านให้เจริญภาวนา พระอานาปานสติ กายคตาสติ กสิณสิบประการ และอสุภสิบประการ
การขึ้นองค์ฌาน
ทำให้จิตเป็นมหิทตารมณ์ ท่านให้ขึ้นองค์ฌาน ต่อจากอสุภกรรมฐาน เพราะอสุภกรรมฐาน องค์แห่งวิตกมีกำลังมาก จิตสามารถยกขึ้นสู่องค์ฌานได้โดยง่าย และท่านให้เจริญเอายัง ฌานปัญจกนัย คือ ฌานห้าประการ ฌานนี้ใช้สำหรับฝึกผู้ที่ยังไม่ชำนาญในองค์ฌาน จะได้กำหนดองค์ฌานแต่ละฌานได้
เมื่อชำนาญแล้ว จึงทำฌานปัญจกนัย ให้เป็นฌานจตุกนัย คือฌาน ๔ (จบรูปกรรมฐาน)

ก่อนขึ้นห้องวิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ท่านกำหนดให้เรียนเอายังอรูปกรรมฐานก่อน คือ อนุสสติ ๖ พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔
เพื่อให้จิตชำนาญแคล่วคล่องอยู่กับสภาวธรรม เมื่อยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาภูมิแล้ว วิปัสสนาปัญญาญาณ จะแก่กล้า
การขึ้นสู่วิปัสสนาภูมิ
ให้เจริญภาวนาเอายัง
พระวิสุทธิ ๗ ประการ
พระวิปัสสนาญาณสิบประการ
ต่อด้วย พระโพธิปักขิยธรรมสามสิบเจ็ดประการ
ต่อด้วยออกบัวบานพรหมวิหาร หรือเรียกว่า เมตตาเจโตวิมุตติ
(จบวิธีและขั้นตอนการเจริญกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับของดั้งเดิม)
ถ้าเหตุ ปัจจัยพร้อม การประพฤติปฎิบัติก็จะไปได้เร็ว แม้แต่บุคคลผู้มีอายุเพียงแปดขวบ
วิธีการบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แบบดั้งเดิม
เจริญภาวนาได้ถึงห้องพระกรรมฐาน ห้องไหนให้บอกพระกรรมฐานได้แค่ ลำดับนั้น เช่น จบพระปีติ ๕ พระยุคล ๖ พระสุขสมาธิ ๒ ก็ให้บอกพระกรรมฐานได้แค่พระปีติ พระยุคล พระสุข ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔
ทรงแต่งตั้งพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ในรัชสมัยราชกาลที่๒-๓
๑. อาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ พระเจ้าแผ่นดิน ทรงแต่งตั้งเอง แต่งตั้งแล้วให้เรียกขานคำนำหน้าชื่อว่า พระอาจารย์ได้
๒. ราชสำนักแต่งตั้ง หมายถึงทางวัดส่งรายชื่อไปให้ทางราชสำนักแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในรัชกาลที่ ๒ -๓ พระอาจารย์บอกพระกรรมฐานฯ จะได้รับพระราชทานนิตยภัต ๑ ตำลึง ๒ บาท ปลายรัชกาลที่๒ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงหาเงินตรา เข้าท้องพระคลังได้มาก ทรงค้าสำเภา กับ
ต่างประเทศ เวลานั้นประเทศชาติเริ่มมั่งคั่งอ้างอิง
หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.comขอบคุณภาพจาก
http://upic.me/,http://farm3.static.flickr.com/,http://www.dhammajak.net/,http://lh3.ggpht.com/