วันก่อนดู ลูกหลาน ไปสอบ เข้า เรียนต่อ ปรากฏว่า เด็กนักเรียน สมัครสอบ 1600 คน แบ่งเป็น ของ ร.ร.ที่รับสมัคร 750 คน และ ที่เหลือคือต่าง ร.ร. อื่น และรับเด็กได้ เพียง 1 ห้อง คือ 50 คน คิดเป็นอัตตรา เฉลี่ยแล้ว น้อยมากที่จะมีโอกาสสอบได้
ระบบ แป๊ะเจ๊ยะ ใต้โต๊ะ ของผู้บริหารขั้นสูงของโรงเรียนยังมีอยู่่ ไม่มีทางเลยที่ บ้านนอกคอกนา ตาสี ยายสา จะให้เด็กที่อัจฉริยะไปทำข้อสอบ แล้ว จะสอบได้ เนื่องด้วย ระบบฝาก ใต้โต๊ะ ก็เกิน 50 คนแล้ว
โอ อนาถ การศึกษา ของ นักเรียนไทย ในปัจจุบัน ที่ต้องแข่งขันกันเข้า โรงเรียนที่มีชื่อเสียง แต่ที่ไหนได้ ตอนที่ผมรับสมัครงาน ไม่ได้ดูสถาบันการศึกษา ระดับ ม.3 หรือ ม6 เลย ที่ดูคือ ระดับปริญญาตรี ว่าจบมาจากสถาบันไหน เท่านั้น ดังนั้น นักเรียน ม3 ม6 ถึงเป็น โรงเรียนกระจอกก็รับทำงานครับ
แต่สำหรับเด็กที่เรียน สถาบันมีชื่อ ค่านิยมก็ยังคิดอยู่ ว่า ถ้าเรียนสถาบันมีชื่อเสียง ก็สามารถสอบ เอนทราน เข้า สถาบันมีชื่อเสียงได้ ใช่หรือไม่ ครับ
อันที่จริง ตอบอย่างนี้ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว ผมดูสถิติ โรงเรียนมีชื่อ และทำวิจัย อยู่ 5 โรงเรียน ที่สอบเข้ามหาวิทยยาลัย ดัง ๆ นั้น ไม่ได้มีมากมาย อย่าง ร.ร.จังหวัดที่มีชื่อเสียงบ้านผม นักเรียน ม. 6 จบ 600 กว่าคน 16 ห้องเรียน ๆ ละ 50 คน สอบเข้ามหาวิทยาลัยดัง ๆ มีชื่อเสียง ด้วยเอนทรานซ์ได้เพียง 60 คนเท่านั้นเอง นอกนั้นก็เป็นเอกชน ราชภัฏ มหาวิทยาลัยเปิด และ ไม่ได้เรียนต่อ ไม่ได้เรียนต่อมี มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ นะครับ เพราะพื้นฐานคนไทยแล้ว ฐานะยากจนเป็นส่วนใหญ่ การกู้หนี้ยืมสิน เป็นสิ่งที่คนไทยไม่ชอบทำ ครับ