สำหรับ หญิง ชาย ทั่วไป เป็น ภาษาไทย

คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
* อายุระหว่าง ๒๐-๖๕ ปี (จะพิจารณารับผู้ที่อายุต่ำหรือสูงกว่านี้ ตามความเหมาะสม)
* ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม
* มีความตั้งใจจริง และมีความศรัทธาที่จะรับการอบรม
* พร้อมและเต็มใจรักษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนด โดยเฉพาะการงดพูดคุยสนทนาตลอดเวลาทั้ง ๗ วัน
สำหรับผู้ใหญ่ทั้งหญิงและชาย จัดอบรมด้วยภาษาไทย
สวน โมกขพลาราม ร่วมกับ ธรรมทานมูลนิธิ จัดให้มีการอบรมสมาธิภาวนาแบบอานาปานสติ สำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมะ และต้องการปฏิบัติจนเห็นผลด้วยตนเอง
สมาธิ แบบอานาปานสตินี้ เป็นวิธีที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติจนตรัสรู้ และทรงแนะนำให้ศึกษาปฏิบัติให้มาก เพราะอำนวยประโยชน์ทั้งด้าน ความสงบ (สมถะ) และ ความรู้รอบ (วิปัสสนา)
“
เอวํ ภาวิตา โข ภิกฺขเว อานาปานสติ, เอวํ พหุลีกตา;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล;
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา, ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่;
อิติ ด้วยประการฉะนี้แล
“
จุดประสงค์ของการอบรม
เพื่อ ชี้แนะหลักธรรมที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้จริง และเพื่อฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา จนสามารถสัมผัสความสงบเย็นภายใน และความอิสระของจิตใจ อันเกิดจากความประจักษ์ในสัจจธรรม
รูปแบบการจัดอบรม
ถือแนวทางการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตให้สมบูรณ์ ครบถ้วน ตามระบบองค์รวมแห่งพุทธธรรมทั้งสามด้าน กล่าวคือศีล-สมาธิ-ปัญญา อันจะนำไปสู่วิถีชีวิตที่สุขสงบเย็น ก้าวหน้า อย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน ทั้งส่วนตนและสังคมโดยรวม กล่าวคือ
ศีล : ฝึกการใช้ชีวิตที่สงบเย็น เรียบง่าย เป็นอิสระจากพันธนาการทางวัตถุส่วนเกินให้มากที่สุด ให้ความสำคัญต่อการรักษาปฏิบัติตามระเบียบวินัยอันดีของชุมชน ดำรงชีวิต อย่างมีคุณค่าเป็นประโยชน์ ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง โดยถือแนว ปฏิบัติศีลแปดเป็นบรรทัดฐานขั้นต่ำ.
สมาธิ : ฝึกหัดพัฒนายกระดับความมีคุณภาพและประสิทธิภาพของจิต ทั้งทางด้านสติและสมาธิด้วยระบบอานาปานสติภาวนา โดยฝึกหัดปฏิบัติในทุกอิริยาบถของการดำรงชีวิตตลอดระยะเวลาของการอบรม.
ปัญญา : ด้วยการนำเสนอหลักธรรมที่เป็นแก่นหลักของพุทธธรรม เพื่อเป็นแนวทางและพื้นฐานความรู้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดการพัฒนาปัญญาญาณ รู้เห็นแจ้งสภาวะตามความเป็นจริงของสัจธรรมแห่งชีวิตและสรรพสิ่งทั้งหลายที่ เกี่ยวข้อง.
อนึ่ง จุด มุ่งหมายอันเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการอบรม ได้แก่การพัฒนาสภาวะความ สงบเย็นภายในจิตใจของผู้ร่วมกิจกรรมเป็นพื้นฐานเบื้องต้น จึงถือเป็นข้อตกลง ที่เคร่งครัด ในการงดพูดจา ติดต่อสื่อสาร กับบุคคลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ตลอดระยะเวลาของการอบรม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องถือปฏิบัติอย่างจริง จัง เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม
การเป็นอยู่
การใช้ชีวิตเป็นอยู่ที่ ธร รมาศรมนานาชาติ ซึ่งเป็นชุมชนแห่งพุทธะ (ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) ชุมชนแห่งสันติสงบร่มเย็น และการฝึกฝนพัฒนาตนเอง จึงใช้แนวทางที่ท่าน อาจารย์พุทธทาสให้ไว้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์ กล่าวคือ
“กินอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง”,
“เป็นอยู่อย่างง่าย มุ่งกระทำสิ่งที่ยาก” และ
ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ดังนี้
รับประทานอาหารวันละ ๒ มื้อ (งดเว้นเนื้อสัตว์) วันที่ ๖ ของการอบรม จัดให้ฝึกเข้าอยู่อุโบสถศีล โดยรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว
ฝึกหัดการนอนด้วยหมอนไม้ พร้อมเครื่องนอนที่เรียบง่ายที่สุด ฝึกการใช้ชีวิตเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้า
ใช้ชีวิตอยู่กับตัวเองโดยลำพัง เพื่อให้สามารถศึกษา เรียนรู้ เข้าใจ ภาวะจิตใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา
ใช้เวลาของชีวิตให้คุ้มค่ามากที่สุด ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม และฝึกฝนอบรมตนเองตลอดเวลาของการอบรม
ใช้ชีวิตด้วยความสงบเย็น ผ่อน คลาย ไม่เคร่งเครียดเร่งร้อน ใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเรียนรู้ สภาวะแห่งความสมดุลพอเหมาะพอดี ในทุก ๆ การกระทำแห่งการดำเนินชีวิต
การเตรียมตัว
ท่านควรศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติการเป็นอยู่และตารางเวลากิจกรรมให้เข้าใจอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อให้ท่านสามารถปรับตัวดำเนินชีวิตแห่งการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง โดยไม่เกิดความวิตกกังวลใด ๆ
จัดการธุระส่วนตัวให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนเริ่มกิจกรรม เพื่อตัดสิ่งที่จะกวนจิตใจของท่านตลอดระยะเวลา ๗ วันของการอบรม
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาใด ๆ โปรด สอบถามอาสาสมัครผู้ทำหน้าที่ประสานการจัดอบรม เพื่อขจัดสิ่งรบกวนจิตใจท่าน ก่อนเริ่มการอบรม และเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดคุยให้มากที่สุดตลอดการอบรม
ข้อควรระลึก
ท่านที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ควรระลึกเสมอว่า ท่านต้องการเข้าร่วมกิจกรรม อบรมพัฒนา ฝึกฝนตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่ง จะต้องผ่านกระบวนการฝึกฝนอบรมตนที่ยากลำบากบ้างเป็นธรรมดา โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเรียนรู้และปรับตัว จะต้องใช้ความอดทนและความเพียร เป็นอย่างสูง แต่จะนำมาซึ่งผลอันมีคุณค่าสูงยิ่งต่อการดำรงชีวิตอย่างมิอาจ ประเมินค่าได้ กรุณาอย่าเข้าร่วมอบรมเพื่อทดลองเล่น หรือหวังว่าจะได้อะไรดี ๆ โดยปราศจากการลงแรง หรือได้มาด้วยความสะดวกสบายเลย ท่านจะพบกับความผิดหวังอย่างแน่นอน โปรด ตระหนักไว้เสมอว่า พระบรมศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัจธรรมอันสูงสุด ในสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างธรรมชาติธรรมดาที่สุด มิได้ตรัสรู้ในพระราชวังอันแสนสะดวกสบาย ที่พระองค์ทรงสละละทิ้งออกมา
ท่านพร้อมแล้วหรือยัง ?
ข้อพึงปฏิบัติ
* อยู่ร่วมตลอดการอบรม เข้าร่วมทุกรายการและตรงต่อเวลา
* งดติดต่อบุคคลภายนอก และไม่ออกนอกบริเวณที่อบรม
* งดการพูดคุยกับผู้ปฏิบัติอื่น มีปัญหากรุณาถามวิทยากร หรือเจ้าหน้าที่
* ไม่นำอาหาร หรือของกินอย่างอื่นติดตัวมา ควรรับประทานอาหารเฉพาะที่จัดให้ เพื่อความเป็นอยู่อย่างง่าย
* ตั้งใจปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง ด้วยความกระตือรือร้น
* ไม่คาดหวังเกินไปจนเคร่งเครียด ปฏิบัติด้วยความผ่อนคลาย
* งดส่งเสียงดังทุกกรณี และมีความเกรงใจผู้อื่น
* มีสติในทุกอิริยาบถ ทำงานและกิจวัตรทุกอย่างให้เป็นการปฏิบัติธรรม
* งดใช้เครื่องประดับของมีค่า และไม่ควรนำติดตัวมา
ของใช้จำเป็นที่ต้องนำมา
* เสื้อตัวยาวคลุมสะโพก ไม่รัดรูป ไม่บาง ไม่ใช้เสื้อแขนกุด
* ผ้าถุงหรือกางเกงขายาว สีสุภาพ งดนุ่งกางเกงขาสั้น
* ผ้าสำหรับใส่เวลาอาบน้ำ มีสีเข้ม ๒ ผืน (ชาย-ผ้าขาวม้า, หญิง-ผ้าถุง)
* ยาทากันยุง
* ยา (หากมีโรคประจำตัว)
* ร่ม
* ถุงย่าม หรือถุงผ้า (งดใช้ถุงพลาสติก)
กำหนดการ
ตารางกิจกรรมอานาปานสติภาวนา
อานาปานสติ: วันที่ ๑๙
๐๗.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. ลงทะเบียน เข้าห้องพัก
๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. แนะนำสถานที่, ชี้แจงระเบียบความเป็นอยู่
๑๗.๐๐ – ๑๘.๔๕ น. ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน
๑๘.๔๕ – ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. ชี้แจงรายละเอียดการอบรม
๒๑.๐๐ – ๗๔.๐๐ น. พักผ่อน
อานาปานสติ: วันที่ ๒๐
๐๔.๐๐ น. ระฆังปลุก
๐๔.๓๐ – ๐๕.๑๕ น. ทำวัตรสวดมนต์เช้า
๐๕.๑๕ – ๐๖.๐๐ น. ธรรมะรับอรุณ
๐๖.๐๐ – ๐๖.๔๕ น. กายบริหาร (ไทเก็ก)
๐๖.๔๕ – ๐๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๐๘.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. อาหารเช้า, งานอาสาสมัคร, พักผ่อน
๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ธรรมปฏิสันถาร
๑๐.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติ, ธรรมบรรยาย
๑๒.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. อาหารกลางวัน, พักผ่อน
๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. เทปอานาปานสติ
๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๑๖.๓๐ - ๑๗.๓๐ น. แนะนำเทคนิคการปฏิบิ/ ธรรมบรรยาย
๑๗.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน
๑๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
๑๙.๓๐ – ๒๐.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๒๐.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. ชมวิดิทัศน์
๒๑.๐๐ – ๐๔.๐๐ น. พักผ่อน
อานาปานสติ: วันที่ ๒๑ - ๒๕
๐๔.๐๐ น. ระฆังปลุก
๐๔.๓๐ – ๐๕.๑๕ น. ทำวัตรสวดมนต์เช้า
๐๕.๑๕ – ๐๕.๔๕ น. นั่งสมาธิ
๐๕.๔๕ – ๐๖.๑๕ น. ธรรมะรับอรุณ
๐๖.๑๕ – ๐๗.๑๕ น. กายบริหาร (ไทเก็ก)
๐๗.๑๕ – ๐๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๐๘.๐๐ – ๑๐.๐๐ น. อาหารเช้า, งานอาสาสมัคร, พักผ่อน
๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ธรรมบรรยาย
๑๒.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. อาหารกลางวัน, พักผ่อน
๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. เทปอานาปานสติ
๑๕.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๑๖.๓๐ - ๑๗.๓๐ น. แนะนำเทคนิคการปฏิบิ/ ธรรมบรรยาย
๑๗.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน
๑๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
๑๙.๓๐ – ๒๐.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติภาวนา
๒๐.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. สรุปการปฏิบัติประจำวัน/ ชมวิดิทัศน์
๒๑.๐๐ – ๐๔.๐๐ น. พักผ่อน
อานาปานสติ: วันที่ ๒๖
๐๔.๐๐ น. ระฆังปลุก
๐๔.๓๐ –๑๕.๐๐ น. เหมือนวันที่ ๒๑ - ๒๕
๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ปัจฉิมนิเทศ
๑๕.๓๐ - ๑๗.๓๐ น. ทำงานอาสาสมัคร “เอาเหงื่อชำระอัตตา”
๑๗.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะ, พักผ่อน
๑๙.๐๐ – ๑๙.๓๐ น. ทำวัตรสวดมนต์เย็น
๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติอานาปานสติ, ชี้แจงกิจกรรมของธรรมาศรมนานาชาติ
๒๑.๐๐ – ๐๔.๐๐ น. พักผ่อน
อานาปานสติ: วันที่ ๒๗
๐๔.๐๐ น. ระฆังปลุก
๐๔.๓๐ – ๐๕.๑๕ น. ทำวัตรสวดมนต์เช้า
๐๕.๑๕ – ๐๕.๓๐ น. นั่งสมาธิ
๐๕.๓๐ – ๐๖.๐๐ น. ธรรมะรับอรุณ
๐๖.๐๐ – ๐๘.๐๐ น. นำชมธรรมาศรมธรรมมาตา
๙.๓๐ น. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
หมายเหตุ วันที่ ๒๕ สมมติให้เป็นวันพระ จักเข้าอยู่องค์อุโบสถศีล รับประทานอาหารมื้อเช้าเพียงครั้งเดียว เวลา ๘.๐๐ น. ดื่มน้ำปานะเวลา ๑๒.๐๐ น. และ ๑๗.๓๐ น.