ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนาน 'พระสมเด็จ' บางขุนพรหม สู่การสร้างรูปเหมือน 'สมเด็จฯโต'  (อ่าน 4872 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ตำนาน 'พระสมเด็จ' บางขุนพรหม สู่การสร้างรูปเหมือน 'สมเด็จฯโต' : บุญนำพา

วัดใหม่อมตรส เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านพานถม บางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาล "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี" เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดวรามะตาราม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า "วัดอำมาตยรส" หรือ "วัดอมฤตรส" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดบางขุนพรหม" หรือ "วัดบางขุนพรหมใน" คู่กันกับ "วัดบางขุนพรหมนอก" หรือ "วัดอินทรวิหาร" ต่อมาเมื่อปี ๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดใหม่อมตรส" จนถึงปัจจุบัน

      วัดนี้มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่ง เท่าที่สืบทราบได้ คือ
      ๑.พระอธิการอ่อน
      ๒.พระอธิการอยู่
      ๓.พระอธิการเทศ
      ๔.พระอธิการแถม
      ๕.พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง)
      ๗.พระครูบริหารคุณวัตร (ชม) และ
      ๘.พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม นันทโก) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน


 :25: :25: :25: :25:

วัดใหม่อมตรส มีชื่อเสียงในด้านวัตถุมงคล คือ พระสมเด็จ กรุบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ตามประวัติบันทึกไว้ว่า...เมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ "เสมียนตราด้วง" ผู้เป็นต้นตระกูล "ธนโกเศศ" ได้มีจิตศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์ วัดบางขุนพรหมใน และได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้ เพื่อบรรจุ "พระสมเด็จฯ" เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา

ในครั้งนั้น เสมียนตราด้วง ได้อาราธนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ธนบุรี ประกอบพิธีสร้างพระเครื่อง (พระสมเด็จ) ขึ้น พร้อมกับเมตตาปลุกเสกให้ จำนวนพระที่สร้างประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ ตามคตินิยมเท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์  เมื่อปลุกเสกเสร็จแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้เสมียนตราด้วง นำพระสมเด็จ เข้าบรรจุกรุไว้ที่ในเจดีย์องค์ใหญ่ หลังอุโบสถวัดใหม่อมตรส

 st12 st12 st12 st12

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ทางวัดได้ทำพิธีเปิดกรุอย่างเป็นทางการ โดยพระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) และพระครูบริหารคุณวัตร (ชม) พระสมเด็จ ที่ได้ทำพิธีเปิดกรุครั้งนั้น ได้รับความศรัทธานิยมกันอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่สมัยนั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ที่เรียกกันว่า พระสมเด็จ กรุบางขุนพรหม เช่าหาบูชากันถึงองค์ละกว่า ๑ ล้านบาทขึ้นไป

ใน พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ได้จัดพิธีหล่อ "พระพุทธรูปอมตมงคลรังสี ทรงเครื่องจักรพรรดิ์" ขนาดหน้าตัก ๖๙ นิ้ว และรูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตัก ๓๙ นิ้ว เพื่อประดิษฐานไว้ใน ศาลาอมตมงคลรังสี วัดใหม่อมตรส ให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาสืบไป

 st11 st11 st11 st11

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๙ น. ได้จัดพิธีเททองหล่อ "พระพุทธอมตมงคลรังสี" หน้าตัก ๖๙ นิ้ว, "รูปเหมือนสมเด็จฯ โต" ขนาดหน้าตัก ๓๙ นิ้วและหล่อพระนำฤกษ์อีกจำนวนหนึ่ง

โดยมีพระเกจิอาจารย์ นั่งปรกอธิษฐานจิตทั้ง ๔ ทิศ คือ พระพิพิธพัฒนาทร (หลวงพ่อสมชาย) วัดปริวาส, พระครูพิศาลจริยาภิรม (พระมหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ (พระอารามหลวง), พระครูวิมลญาณอุดม (พระอาจารย์ติ๋ว) วัดมณีชลขัณฑ์ และ พระครูปทุมวรกิจ (หลวงพ่อชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง

 :96: :96: :96: :96:

ในโอกาสเดียวกันนี้ วัดใหม่อมตรส ได้หล่อพระบูชา พระพุทธอมตมงคลรังสี เนื้อทองเหลืองรมดำ หน้าตัก ๑๒ นิ้ว จำนวน ๑๗๒ องค์, ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว จำนวน ๒๗๒ องค์,ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว จำนวน ๓๗๒ องค์ และพระพุทธอมตมงคลรังสีทรงเครื่อง (กรรมการ) เนื้อสัตตโลหะ จำนวน ๔๙ องค์ (จองหมดแล้ว), รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขนาดหน้าตัก ๑๒ นิ้ว เนื้อนวโลหะ (กรรมการ) จำนวน ๔๙ องค์ (จองหมดแล้ว), ขนาดหน้าตัก ๑๒ นิ้ว เนื้อทองเหลืองรมดำ จำนวน ๑๗๒ องค์, ขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว จำนวน ๒๗๒ องค์, ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว จำนวน ๓๗๒ องค์ (จองหมดแล้ว),

เหรียญสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคำ สร้างตามจำนวนสั่งจอง, เหรียญพิมพ์ใหญ่ เนื้อเงิน จำนวน ๔๗๒ เหรียญ (จองหมดแล้ว), เนื้อนวโลหะ จำนวน๙๗๒ เหรียญ (จองหมดแล้ว), เนื้อทองทิพย์ จำนวน ๙๗๒ เหรียญ (จองหมดแล้ว) และเนื้อทองแดง จำนวน ๒๐,๐๐๐ เหรียญ,

ล็อกเกต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จำนวน ๙๗๒ องค์, ล็อกเกต พระครูพิพัฒนานุกุล จำนวน ๔๗๒ องค์, ขันน้ำมนต์ จำนวน ๔๗๒ ใบ และพระสมเด็จ (พระผงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)) พิมพ์ใหญ่ เอ เกศทะลุซุ้ม มีสังฆาฏิ พิเศษ โรยผงเก่า จำนวน ๕,๐๐๐ องค์ รับเปิดจองขณะนี้ จนถึงวันประกอบพิธีพุทธาภิเษก

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ในวันศุกร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ อุโบสถวัดใหม่อมตรส จุดเทียนชัย เวลา ๑๔.๒๙ น. เป็นราชาฤกษ์

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ เพื่อสมทบทุนการก่อสร้าง "ศาลาอมตมงคลรังสี" ซึ่งเป็นศาลาอเนกประสงค์ ๓ ชั้น ใช้เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน และประโยชน์ในศาสนกิจของพระสงฆ์ ซึ่งกำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จในขณะนี้ โดยต้องใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาท

ผู้ศรัทธาสนใจติดต่อได้ที่ เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส หรือที่ วิหารสมเด็จฯ โทร.๐-๒๒๘๑-๘๐๕๘, ๐๘-๑๗๗๔-๒๕๒๖, ๐๘-๗๘๑๔-๗๒๒๐




พระครูพิพัฒนานุกูล เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ถวายเครื่องไทยธรรมแด่พระธรรมสุธี


พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม นนุทโก)
   - น.ธ.เอก, ป.ธ.๔ พ.ม., ศษ.บ. เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม.
   - ชื่อเดิม "เทียม มหาชูสกุล" เกิดเมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ ณ บ้านหมู่ที่ ๒ ต.บัลลังก์ อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา

อุปสมบท เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๐๗ ณ วัดตะเคียน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยมีพระครูสังวรวิริยโสภณ วัดตะเคียน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาสำลี อุตตโม วัดตะเคียน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอธิการน้อย ถาวโร วัดกุดม่วง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ พ.ศ.๒๔๙๖ จบชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนประชาบาล ๗ วัดเทพคงคา, พ.ศ.๒๕๑๐ สอบได้นักธรรมชั้นเอก, พ.ศ.๒๕๑๕ สอบได้ ป.ธ.๓, พ.ศ.๒๕๑๕ สอบเทียบได้ชั้นประถมปีที่ ๗, พ.ศ.๒๕๑๗ สอบได้ประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.ศ.๓), พ.ศ.๒๕๒๓ สอบได้ ป.ธ.๔, พ.ศ.๒๕๒๔ สอบได้ประกาศนียบัตรพิเศษวิชาการศึกษา (พ.กศ.), พ.ศ.๒๕๒๗ สอบได้ ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.), พ.ศ.๒๕๓๒ สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิต (ศษ.บ.) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


 :96: :96: :96: :96:

งานด้านการปกครอง พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส, พ.ศ.๒๕๓๖ เป็นพระวิทยาธิการแขวงวัดสามพระยา, พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส, พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส และพ.ศ.๒๕๕๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ถึงปัจจุบัน

งานด้านการศึกษาสงเคราะห์ ตั้งทุนการศึกษาสงเคราะห์นักเรียน นักศึกษา ทั้ง ๓ ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา ตามคำสั่งมหาเถระสมาคม ตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ จนถึงปัจจุบัน โดยได้เพิ่มทุนการแจกทุนทุกปี ทั้งทุนในนามวัด และสังฆาธิการในวัด

งานสาธารณูปโภค ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๙ ถึง พ.ศ.๒๕๕๑ รวมทั้งงานก่อสร้างและงานบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด จำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า ๗๑ ล้านบาท

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

สมณศักดิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ "พระครูพิพัฒนานุกูล" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์, พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์, พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี, พ.ศ.๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก

พระครูพิพัฒนานุกูล (หลวงพ่อเทียม นันทโก) เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณธรรม ได้ศึกษาสรรพวิชามาจากหลายสำนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก หลวงพ่อแสง วัดหนองเขวา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองโคราช นับเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาผู้มีผลงานเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของพระศาสนา และสังคมทั่วไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140925/192712.html
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=567379
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา