( แสดงสมาบัติ 8 ให้ถูกต้อง ก็จะสามารถเข้าสมาบัติ 8 ได้ )
สมาบัติ 8 ที่หลายท่านเข้าใจผิด หลายท่านพอเริ่มภาวนา ก็พูดถึงสมาบัติ 4 บ้าง 5 บ้าง 8 บ้าง กันไปเรื่อยเปื่อย ปัจจุบัน พอพูดถึง สมาบัติ 8 ทุกคนก็เข้าใจว่า ก็ รูปฌาน 4 ( ถึงจตุตถฌาน ) อรูปฌาน 4 ( คือปฏิบัติต่อจาก ฌาน 4 ถึง เนวนาสัญญายตนะ ) ว่าคือ สมาบัติ 8 ถ้าพูดอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ เขาจึงไม่ถึงวมุตติ ในอานาปานสติ ได้เพราะ อานาปานสติ เป็น รูปฌาน 4 ตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง จตุตตถฌาน และก็เป็น สมาบัติ 8 ด้วย ส่วนการใช้ ญาณทั้ง 9 เข้าสมาบัติ 5
ข้อความในมูลกรรมฐาน ระบุว่า
แม่บท
ยา จายํ ภิกฺขุ อาภาธาตุ ยา จ สุภาธาตุ ยา จ อากาสานญฺจายตนธาตุ ยา จ วิญญาณญฺจายตนธาตุ ยา จ อากิญฺจญฺายตนธาตุ อิมา ธาตุโย สญฺญาสมาปตฺติ ปตฺตพฺพา ฯ ยายํ ภิกฺขุ เนวสญฺญานาสญฺญายตนธาตุ อยํ ธาตุ สงฺขาราวเสสสมาปตฺติปตฺตพฺพา
( บทตั้ง สญญาสมาบัติ แล สังขารวิเสสาสมาบัติ )
สังขาราวิเสสสมาบัติ ( หรือ สมาบัติ 8 ) มีดังนี้ เริ่มเข้าดังนี้
1. อาภาธาตุ
2. สุภาธาตุ
3. อากาสานัญจายตนะธาตุ
4. วิญญานัญจายตนะธาตุ
5. อากิญจัญญายตนะธาตุ
6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ
( 7. นิโรธอายตนะธาตุ ) ในพระสูตร ตัดส่วนนี้ออก ใน มูลกรรมฐาน ทรงไว้
8. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ
ลำดับการเข้า อรูปสมาบัติ 8 ต้องเริ่มจาก อาภาธาตุ ไม่ใช่เริ่มจาก จตุตถฌาน ซึ่งเป็นรูป กรรมฐาน เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ อรูป
อุทกดาบส สอนรูปฌาน 4 เป็น โลกียะสมาบัติ
อาฬารดาบสสอน อรูปฌาน 4 เป็น โลกิียะสมาบัติ
พระพุทธเจ้า สอน สมาบัติ 8 เป็น โลกุตตระสมาบัติ
ในพระไตรปิฏก เรียกว่า สัตตธาตุ คือ เอา นิโรธอายตนะธาตุ ออก เพราะ นิโรธะอายตนะ สัญญาเวทยิตนิโรธ เริ่มต้น
เหมือน พระยุคลธรรม ถูกนำออก จาก องค์แห่ง ฌาน เพราะว่า เป็นอารมณ์ เริ่มต้น ของสุข
ดังนั้นเวลาเจริญ อานาปานสติ เป็น รูปฌาน 4 เป็น สมาบัต 6 และ เป็น สมาบัติ 8 จึงมีวิธีการเข้าสมาธิ ต่างกัน
เทียบ ใน ปฐมฌาน มี
วิตก วิจาร ปีติ ( ยุคลธรรม ) สุข เอกคัคตา จะเห็นว่าในมุูลกรรมฐาน ไม่ได้ตัดออก ให้ความสำคัญ กับ ยุคลธรรม ไว้
ส่วน นิโรธอายตนะธาตุ นั้น ในมูลกรรมฐาน ก็ทรงไว้ อธิบายเพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับพระสูตร ที่ปรากฏอยู่
ดังนั้นการเข้า สมาบัติ 8 จึงมีวิธีการปรากฏ ในมุลกรรมฐาน กัจจายนะ อย่างนี้
ไว้ค่อยอธิบาย ส่วนท่านใดยังไม่แน่ใจ ให้ไปอ่านพระสูตรนี้ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๓. ธาตุสังยุต]
๒. ทุติยวรรค ๑. สัตตธาตุสูตร
ซึ่งจะเห็นว่า การอธิบาย ชื่อ สมาบัติเหมือนกัน และ จำนวนธาตุ เหมือนกัน นั่นเอง ตอนทีฉันได้เรียน มูลกรรมฐาน จากครูไม่รู้สึกถึงความขัดแย้ง ในกองกรรมฐาน เพราะดำเนินตามลำดับ ไปตามลำดับ อธิบายตรงไป ตรงมา นั่นเอง
เจริญพรข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

ธาตุ 8 ประการ
1. อาภาธาตุ คู่กับ อนฺธการธาตุ หรือ กาฬธาตู ( ธาตุที่บัง รัศมี )
2. สุภะธาตุ คู่กับ อสุภะธาตุ จึงปรากฏ
3. อรูปธาตุ อาศัย รูปธาตุ ( สุภาธาตุ )
อธิบายลำดับ การเข้าสมาบัติ 8 ไม่ได้อาศัย จตุตฌาน เพราะ จตุตถาน มี เอกัคคตา และ อเบกขา เป็น ฌานุเบกขาแล้ว ไม่สามารถ ทำกิจ ในการพิจาณา ไตรลักษณาการได้
วิธีการเข้า สมาบัติ 8 อรูปกรรมฐาน แบบพุทธะ
1. ตั้งบริกรรม ในอานาปานสติ อาศัยรูปนิมิติ ที่เป็น อุคคหนมิต ๆ อาศัยแสงสว่าง จึงจะเห็น นิมิต ได้
2.เมื่อแสว่างปรากฏ พร้อม อุคคหนิมิต ใอ้ทการอฺธิษฐาน อุคคหนิมิต เป็น ปฏิภาคนิมิต การเข้า ปฏิภาคนิมิต นั้น เป็นการ สุภาธาตุ เมื่อ สุภาธาตุ สงบแล้ว ( ความพอใจ ในสุกาธาตุ อิ่มตัว )
3.อธิษฐาน เข้าอากาสนัญญาจัญญายตนะธาตุ มีรูปธาตุ คือ สุภาธาตุ ( คือ มนธาตู วิญญาณธาตุ ) ในธาตุที่ เป้นอากาศต้องไม่ปราศจาก มนธาตุ เพราะถ้าปราศจาก มนธาตุ ก็ไม่มีการเห็น รับทราบ ไม่มีอะไรเลย
( ยังมีต่อ )
อุทกดาบส สอน รูปฌาน คือ ฌาน 1 - 5 แก่ เจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์เห็นว่า ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
จึงไปเรียนกับ อาฬารดาบส ผู้สอน อรูปธาตุ อาฬารดาบส ไมได้เป็นศิษย์ อุทกดาบส ไม่มีฌาน 1 - 5 แต่ สำเร็จ อรูปฌาน 6
อรูปฌาน 6 มีอะไร บ้าง
1. อาภาธาตุ 2.สุภาธาตุ 3.อากาสานัญจาตนะธาตุ 4. อากิญจัญญายตนะธาตุ 5. วิญญานัญจายตนะธาตุ 6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ
ที่เจ้าชายสิทธัตถะต้องไปปฏิบัติต่อสองอย่าง คือ การรวม รูปฌาน และ อรูปธาตุ
สิ่งที่ปรากฏในพระไตรปิฏก นั้น อรูปธาตุ ไม่เรียกว่า ฌาน มีแต่คำว่า ธาตุ เท่านั้น กับ อรูปธาตุ
ดังนั้น ถ้าใครปฏิบัติ ในห้องพระพุทธคุณ มาด้วยการเดินธาตุ ก็จะสามารถไปสู่ อรูปธาตุได้
1. อาภาธาตุ คือ อะไร ?
อาภาธาตุ คือ แสงสว่าง ที่ปรากฏในสมาธิ
2. สุภาธาตุ คือ อะไร ?
สุภาธาตุ คือ นิมิตอันงาม อันเกิดจากรูปกรรมฐาน ตั้งแต่ พระลักษณะ และ พระรัศมี จนปรากฏนิมิต อันงามผ่องใส
3. อากาสานัญจายนตะ คือ อะไร ?
คือ การกำหนด อายตนะทั้งปวง เป็นดั่งเช่นอากาศ การทำอย่างนี้ต้องอาศัย หทัยวัตถุ และ อากาสธาตุ คือต้องเข้าถึง รูปนิมิต อันเกิดจาก มหาภูตรูป 4 และ อุปาทายรูป 23 โดยตั้ง มโนธาตุ และ มนายตนะธาตุ ไว้ใน อากาสไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ถ้าไม่ปรากฏ ตัวรูปธาตุนิมิต ก็ไม่สามารถกำหนด อรูปธาตุ ไม่ได้ เพราะไม่มีผัสสะ มองไม่เห็น
( ยังมีต่อ )