กับคำตอบของพระอาจารย์ครับ แยบยลดีมาก และ ท่าน aaaa ก็ชี้แนะได้เป็นอย่างดีสงเคราะห์ลงกรรมฐานอันวิจิตรไว้ดีแล้ว
โดยส่วนตัวผมนี้ซึ่งเป็นเพียงปุถุชนผู้ไม่รู้ธรรม ไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา ขอตอบความเห็นลงในกระทู้ท่าน NIRVANAR55 ผู้ปฏิบัติมาดีแล้วสักนิดนะครับสวดมนต์ คือ อนุสสติกรรมฐาน เมื่อเจริญย่อมยังกุศลจิตให้เกิดขึ้น มีนิวรณ์เครื่องกันนี้ลดลง ยังจิตให้สงบเกิดสมาธิ
ภาวนา คือ เป็นการเจริญให้มีขึ้นเกิดขึ้น ฝึกอบรมพัฒนา กายและใจ
ดังนั้นแล้วหากเอาแต่สวดมนต์อย่างเดียวแต่ไม่ภาวนาให้ถึงก็ได้แค่ความสงบ ไม่ถึงสมาธิอันควรแก่งาน เพราะขาดภาวนาการทำให้เกิดขึ้นพ้ฒนาจากความสงบนั้นไปสู่ความตั้งมั่นชอบ หากภาวนาโดยส่วนเดียวแล้วจับพลัดจับผลูไปจิตก็สร้างฐานความเป็นกุศลศรัทธาและสงบได้ยาก เพราะว่าอีกส่วนหนึ่งบทสวดมนต์ก็คือคำบริกรรมในสมาธินั่นเอง
ทีนี้สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดก็คือ เจริญทั้งคู่
- ดังนั้นครูบาอาจารย์ท่านจะให้สวดมนต์ก่อนกรรมฐาน เพื่อล้างนิวรณ์อย่างหยาบก่อน แล้วดึงศรัทธาในพระรัตนตรัยให้มีเกิดขึ้นแก่จิตใจเรา
- เมื่อมีศรัทธาจิตก็ตั้งมั่นในพระธรรมคำสอนและกรรมฐานเพื่อออกจากทุกข์
- แผ่เมตตาให้ตนเอง เพื่อให้สงบกายใจจากกิเลสทุกข์อันเร่าร้อนที่มีในตนให้เปิดทางแห่งวิราคะ จนมีจิตเป็นกุศลน้อมไปในการสละ
- แผ่เมตตาให้ผู้อื่น เพื่อละความผูกเวรที่ตนมีต่อเขา และที่เขามีต่อเรา ปารถนาให้เข้าเป็นสุขสวัสดีเสมอด้วยตนพบแต่กุศลดีงามเป็นสุข
- การกระทำใน ๔ ข้อข้างต้นทำให้เราเกิดความสงบใจจากกิเลส เพื่อภาวนาต่อจากความสงบใจจากกิเลสอันเป็นกุศล จิตจะมีทั้ง ศรัทธาพละ วิริยะพละ สติพละ นำไปสู่สมาธิพละ และ ปัญญาพละในการต่อมา
อธิบาย- ถ้าภาวนาโดย พุทโธ จะเห็นว่า พุทโธนี้คือพุทธคุณ เป็นบทสวดในอิติปิโส ซึ่ง พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ทีนี้ คุณจะภาวนาพุทโธโดยถึงอนุสสติได้อย่างไรถ้าคุณไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าอย่างล้นพ้น ถ้าไม่ศรัทธาก็ได้แค่คำบริกรรมเท่านั้นซึ่งทำสมาธิไปก็ฟุ้งไปเรื่อย
ก็ต่อเมื่อศรัทธาในพระพุทธเจ้าแล้วว่า พระองค์ทรงเป็นผู้รู้สมมติรู้โมหะที่ทำให้มัวเมาลุ่มหลง ผู้ตื่นจากโมหะความลุ่นหลงในสมมติ ผู้เบิกบานพ้นแล้วจากโมหะสมมติทั้งปวงแล้ว ได้กระทำกิจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงกระทำได้บริบูรณ์ดีแล้ว
- ทีนี้ถึงจะรู้ว่าผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นเช่นไรแต่ไม่เข้าใจในอรรถในความหมายจริง ก็ต้องอาศัยการสวดมนต์ และ การเรียนรู้ คือ สุตะ ควบคู่ไปพร้อมกับการภาวนา เมื่อเจริญใฝ่ใจเรียกรู้ก็จะเห็นว่า จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นสมมติทั้งหมด จิตมันรู้ทุกอย่างแต่รู้แค่สมมติเท่านั้น ก็จะเข้าใจถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
- เมื่อรู้เห็นตามจริงดั่งนี้แล้ว ย่อมมีจิตเป็น"ศรัทธาพละ" เมื่อจะเปล่งวาจาว่าพุทโธ ก็มีจิตระลึกถึงคุณนั้นเป็นพุทธานุสสติในบทที่ว่าด้วยความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนั้น ด้วยจิตที่เป็นศรัทธา เปล่งวาจาบริกรรมบทสวดมนต์ไรๆก็เป็น อนุสสติ ๖ ไปหมด ด้วยศรัทธาด้วยกุศลเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้เป็นต้น นิวรณ์ทั้งปวงย่อมไม่มีที่ให้เกิดขึ้นไม่สามารถกำเริบขึ้นได้ ย่อมเกิดฉันทะและสังวรปธานเป็นกำลังความเพียร คือ "วิริยะพละ" เกิดขึ้น มีจิตยินดีในความเพียรนั้น เสร็จแล้วจิตมันก็จะน้อมเจริญภาวนาทั้งกายและใจให้มากขึ้น เกิดเป็น "สติวิริยะ" ด้วยตั้งมั่นภาวนาในพุทโธไปร่วมกับรู้อยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆจนเกิด "สมาธิพละ" จนแม้คำบริกรรมหายไปเหลือแต่รู้ลมหายใจแต่จิตก็จริงอยู่ในพุทธคุณโดยที่มีสติจดจ่ออยู่ที่ลมนั้นโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว ไม่นานก็จะถึงซึ่งจิตตั้งมั่นชอบ "ปัญญาพละ" ก็จะเกิดขึ้น ณ ที่นั้นเห็นมีธรรมเอกผุดขึ้น
- เมื่อผมอธิบายมาประมาณนี้ถ้าไม่ยืดเยื้อวกวนไป ท่าน NIRVANAR55 ก็คงเห็นว่า..ที่พระอาจารย์สนธยา กล่าวถึงและชี้แนะเรื่อง การแปลงฟันบน ฟันล่าง บ้วนปาก ฯ ย่อมเป็นเรื่องอันเดียวกันที่เกี่ยวพันกัน สำคัญทั้งหมด- ดังนั้นหากสวดมนต์แล้วลำบากจริงๆ ก็ให้สวดคำบูชาพระรัตนตรัย คือ อระหัง สัมมา... ไป เสร็จก็ตั้งนโม 3 จบ กล่าวว่า พุทโธ เม นาโถ ธัมโม เม นาโถ สังโฆ เม นาโถ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอันประเสริฐเป็นที่ยึดเหนี่ยวเคารพศรัทธาของข้าพเจ้า แล้วก็แผ่เมตตาให้ตนเองและผู้อื่น แล้วก็ภาวนาไป