ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)  (อ่าน 8186 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 10:34:10 am »
0









ขึ้นเกาะชมวัดดอนหลวง กลางบึงหนองหานกุมภวาปี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 11:39:52 am »
0

วัดดอนหลวง
สังกัดมหานิกาย เขตปกครองเจ้าคณะตำบลแชแล เขต1 อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี

ดอนหลวง เป็นเกาะอยู่กลางหนองหาน สันนิษฐานว่า มาจากคำว่า "คุ้มหลวง" (ที่พักเจ้านายฝ่ายใน)
แชแล มาจากภาษาอิสาน "แซแล" แปลว่า ออกนอกเส้นทาง
กุมภวาปี แต่เดิมนั้นมีชาวบ้านอพยพมาจากที่ราบสูงโคราชและชัยภูมิ มาตั้งถิ่นฐานอยู่แถบลุ่มน้ำปาว เพราะเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อนข้าวของเตรื่องใช้ปั้นจากดิน ชาวบ้านจึงพากันปั้นหม้อด้วยดิน เรียกว่า "กุมภ" แปลว่า "หม้อ" รวมกับ "วาปี" ซึ่งแปลว่า "น้ำ" เรียกรวมกันว่า "กุมภวาปี" จึงได้ใช้เป็นชื่อตำบลและอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน


พระพุทธโศภณฑีปังกร องค์เป็นจุดเด่นของวัดดอนหลวง ก่อนขึ้นเกาะจะเห็นพระพุทธรูปองค์นี้แต่ไกล




ประวัติอำเภอกุมภวาปี

กุมภวาปีมีฐานะเป็นเมือง จะตั้งเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากตำนานพื้นเมือง "ผาแดง-นางไอ่" ได้กล่าวว่า เมืองกุมภวาปีมีมาแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในดินแดนนี้มีชื่อเดิมว่า"ชทีตานคร" หรือ "เพตานคร" ปกครองโดยพญานาคที่ปลอมตัวขึ้นมาดูความงามของนางไอ่คำ ต่อมาเมืองชทีตานครได้ล่มจม เพราะเกิดศึกชิงนางไอ่คำขึ้น ระหว่างท้าวผาแดงแห่งเมืองเผาพงศ์ ภูเขาควาย ประเทศลาว กับท้าวพังคี บุตรพญานาค แห่งเมืองนาตาล ศีกครั้งนั้นทำให้เมืองชทีตานครล่มจนกลายเป็นหนองหาน อ.กุมภวาปี เท่าทุกวันนี้

เมื่อถึงปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีกลุ่มชนจากท้องที่ต่างๆ เช่นกลุ่มของนายชาญ นางเลา หมื่นประเสริฐ ต้นตระกูล "ชาญนรา" และกลุ่มของมหาเสนาต้น ตระกูล "ฮามไสย์" เป็นต้น ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำหนองหาน

เนื่องจากอยู่ใกล้หนองน้ำใหญ่ มีปลาชุกชุม ประชาชนจีงมีอาชีพปั้นหม้อดินเผา และจับปลาน้ำจืด หมู่บ้านนี้จึงมีชื่อว่า "บ้านบึงหม้อ"

ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระวรฤทธิฤาไชย ผู้ครองเมืองได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานตราตั้งชื่อเมืองนี้ เป็นทางการว่า "กุมภวาปี" เพื่อให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและชื่อหมู่บ้าน ซึ่งมาจากคำว่า "กุมภะ" แปลว่า หม้อ  กับ "วาปี" แปลว่า หนองหรือบึง  คำว่า "กุมภวาปี" นามนี้ จึงปรากฏหลักฐานตั้งแต่นั้นมา



นำทิวทัศน์รอบๆเกาะมาให้ชมครับ

ส่วนตัวแล้ว ชอบกุฏิทรงไทยเล็กๆแบบนี้


และจากการบันทึกการเสด็จการครวจราชการ ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก ซึ่งได้มาตรวจราชการมณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ได้บันทึกเรื่องการเสด็จตรวจราชการและจัดพิมพ์ไว้ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 มีความตอนหนึ่งว่า "...ข้ามห้วยอ้ายเต้นถึงเขตรเมืองกุมภวาปี เมืองนี้ยกเอาบ้านบึงหม้อ ตั้งขึ้นเปนเมือง เมื่อรัชกาลที่ 5 พระวรฤทธิฤาไชยผู้ว่าราชการเมืองกุมภวาปี มารับ..."

นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังได้เสด็จไปเที่ยวรอบหนองหาน และได้ทรงบันทึกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับหนองหาร(ปัจจุบันเขียน"หนองหาน") ไว้ว่า "...หนองหารนี้มีชื่อเสียงมาในพงศาวดารเป็นบึงใหญ่กว้างมาก มีชาวบ้านตั้งหาปลาอยู่โดยรอบ ทางเดินรอบหนองหารประมาณสองวัน มีท่าลงหนองที่บ้านเชียงแหว ระยะทางห่างจากเมืองกุมภวาปี 200 เส้น มีเกาะในหนองหาน เรียกกันว่า "เกาะดอนแก้ว" มีหมู่บ้านและวัดบนเกาะนั้นด้วย น้ำหนองหารที่ไหลลงปาวไปตกลำพาชี เมืองกุมภวาปีมีราษฎรอยู่ประมาณ 6,000 คน มีชาวเมืองนครราชสีมา มาตั้งทำมาค้าขายอยู่หลายครัว..." (อ.ทองไสย์ โสภารัตน์)

ในปี พ.ศ. 2440 รัชการที่ 5 โปรดเกล้าฯให้กระทรวงมหาดไทย รวมเมืองกุมภวาปี หนองหาน หนองบัวลำภู และบ้านหมากแข้ง ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอุดรธานี เมืองกุมภวาปี จึงมีฐานะเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดอุดรธานี โดยมีที่ว่าการอำเภอกุมภวาปี ตั้งอยู่ที่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำฆ้อง(โรงเรียนอนุบาลกุมภวาปี-ปัจจุบัน) ตำบลพันดอน ปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกว่า "เมืองเก่า" และมีพระประสิทธิสรรพกร(บุปผา สีหะไตร) เป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบลใหญ่ คือ ตำบลปะโค ตำบลพันดอน ตำบลอุ่มจาน ตำบลตูมใต้ และตำบลแชแล มีกำนันตำบลต่างๆ ตามลำดับดังนี้
    ตำบลปะโค ขุนปะโคคุณากร
    ตำบลพันดอน ขุนพันดอนดิสาร
    ตำบลอุ่มจาน ขุนอินทร์อุ่มจาน
    ตำบลตูมใต้ ขุนตูมคามิน
    ตำบลแชแล ขุนระบิลแชแล






ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2468-2472 ร.อ.อ.หลวงนิคมพรรณาเขต (เขียน สีหะอำไพ)นายอำเภอคนที่ 9 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกุมภวาปีจากบ้านน้ำฆ้อง มาตั้งที่บ้านดงเมือง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เมืองใหม่" ตำบลตูมใต้(ตำบลกุมภวาปี ในบัจจุบัน) โดยมีเหตุผล 4 ประการคือ
     1. เพราะที่ตั้งเมืองเก่าเป็นที่ลุ่ม ถูกน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
     2. เพราะที่ตั้งเมืองใหม่ น้ำท่วมไม่ถึง ประกอบกับตั้งอยู่ริมน้ำปาว มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดปี
     3. เพราะที่ตั้งเมืองใหม่ เป็นศูนย์กลางของทุกตำบล เหมาะแก่การขยายชุมชนใหม่ในอนาคต
     4. เพื่อสร้างเมืองใหม่รองรับกับทางรถไฟสายใหม่ ที่แยกจากเส้นทางอุดรธานีผ่านบ้านดงเมือง สู่สกลนครและนครพนม

ต่อมาเมืองกุมภวาปีได้เจริญได้แตกเมืองต่างๆออก ดังนี้
     1. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอศรีธาตุ ปี พ.ศ. 2511
     2. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอโนนสะอาด ปี พ.ศ. 2515
     3. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอวังสามหมอ ปี พ.ศ. 2518
     4. แยกเป็นกิ่งอำเภอและเป็นอำเภอหนองแสง ปี พ.ศ. 2522
     5. แยกเป็นกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคาร ปี พ.ศ. 2540


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=410415
http://www.baanmaha.com/community/thread24540.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2015, 11:59:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 01:06:46 pm »
0


คำขวัญอำเภอกุมภวาปี : "กุมภวาปี  เมืองน้ำตาล อุทยานวานร ดอนแก้วพุทธสถาน หนองหานสายธารแห่งชีวิต ธรรมชาติวิจิตรทะเลบัวแดง"

เมืองกุมภวาปี เป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และได้พัฒนาการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีการสำรวจพบในท้องที่ต่าง ๆ กระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง

เมืองกุมภวาปีมีชื่อปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานเรื่องผาแดงนางไอ่ ในนามเมืองเอกชะทีตา หรือทีตานคร อันถือเป็นวรรณกรรมที่เป็นต้นเค้าของการปรากฏชื่อบ้านนามเมืองที่เกี่ยวข้องในบริเวณหนองหานน้อยและลุ่มน้ำชีตอนบน ความในวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง “ผาแดงนาไอ่” กล่าวว่า เมืองทีตานครเป็นเมืองใหญ่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ เจ้าผู้ครองเมืองชื่อพญาขอม มีธิดาชื่อว่า ไอ่คำ เมื่อนางไอ่คำเจริญวัยได้มีเจ้าชายจากเมืองผาโพงชื่อ ท้าวผาแดง ได้มาติดพันเกี้ยวพาราสีหวังได้เป็นคู่ครอง




กาลต่อมา พญาขอมได้จัดงานบุญบั้งไฟของเมืองทีตานครนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงเมืองบาดาลเขตแดนของพญานาค ทำให้ท้าวพังคีโอรสของพญานาคหลอมตัวเป็นกระรอกเผือกขึ้นมาเที่ยวชมงานพร้อมกับบริเวณท้าวพังคีในร่างกระรอกเผือกได้แอบยลโฉมนางไอ่คำทางช่องหน้าต่าง เมื่อนางไอ่เห็นเข้าก็ปรารถนาอยากได้กระรอกเผือกไว้เชยชมจึงให้เสนาอามาตย์ตามจับแต่ก็จับไม่ได้ ในที่สุดนายพรานประจำเมื่อก็ใช้หน้าไม้ยิงกระรอกเผือกตายแล้วก็ชำแหละเนื้อกระรอกนำมาแบ่งบันประกอบอาหารกิน ด้วยแรงอธิษฐานของพังคีก่อนตายทำให้เนื้อกระรอกเผือกเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากมายกินกันทั่วเมืองก็ไม่หมดและขอให้คนที่ได้กินเนื้อจงตายตามไปด้วย

เมื่อท้าวพังคีตาย บริวารได้กลับไปบอกพญานาคบิดาของพังคีทำให้พญานาคโกรธมากจึงสำแดงอิทธิฤทธิ์ทำให้เมืองทีตานครของพญาขอมถล่มจมดินกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งก็คือหนองหานกุมภวาปีนั่นเอง ส่วนชาวเมืองที่กินเนื้อกระรอกเผือกก็ล้วนตายกันหมดรวมทั้งท้าวผาแดงและนางไอ่คำด้วย ยกเว้นบรรดาแม่ม่ายที่ไม่ได้รับแบ่งเนื้อกระรอกเผือกมากิน ทำให้บ้านเมืองของเขาไม่ถูกทำลาย จึงเหลือเป็นเกาะกลางหนองหานที่เรียกกันว่า “ดอนแก้ว” ในปัจจุบัน




ลักษณะของโบราณบ้านดอนแก้ว จะมีลักษณะคล้ายกับเมืองโบราณสมัยทวารดี โดยทั่วๆ ไป คือ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบตัวเมือง และมีศาสนสถานที่สำคัญอยู่นอกตัวเมือง นั่นคือพระมหาธาตุเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มใบเสมาปักรอบๆ โดยมีคตินิยมเพื่อแสดงเขตสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คล้ายๆ กับการปักใบเสมาของเมืองฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เยื้ององค์พระมหาธาตุเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกเราจะพบภาพสลักเป็นลวดลายธรรมชาติบางส่วนและจารึกภาษาขอมที่มีสภาพลบเลือนไปมากแล้วสองใบ

จากสิ่งที่กล่าวมาแล้วจึงพออนุมานได้ว่า ชุมชนโบราณบ้านดอนแก้วมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ถึงแม้จะมีการสับเปลี่ยนกลุ่มของผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่เป็นช่วง ๆ จนไม่สามารถที่จะสืบสานความเป็นมาได้อย่างต่อเนื่องจากปากสู่ปากได้ แต่ในด้านแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏให้เห็นปัจจุบันนี้ ก็เป็นสิ่งยืนยันถึงความสำคัญ และอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี




ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งสำคัญ บรรดาบ้านเมืองต่างๆ ในหัวเมืองลาวและหัวเมืองภาคอีสาน ได้มีใบบอกไปกรุงเทพฯ เพื่อขอตั้งขึ้นเป็นบ้านเมืองในพระราชอาณาจักรสยามและมีการเปลี่ยนชื่อบ้านนามเมืองให้ไพเราะขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ทางราชสำนักจะพิจารณาชื่อจากภูมินามดั้งเดิมแล้วนำมาดัดแปลงชื่อเพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกนามมงคลของบ้านเมือง แล้วจึงมีสารตราตั้งเมืองอนุญาตให้ตั้งเป็นบ้านเมืองที่สำคัญต่อไป บ้านบึงหม้อได้รับการตั้งชื่อนามมงคลจากราชสำนักกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ว่า “เมืองกุมภวาปี”

ซึ่งเมืองกุมภวาปีได้ตั้งจากชื่อเดิม คือ บ้านบึงหม้อ เนื่องจากรากศัพท์คำว่า กุมภ หรือ กุมภ์ นั้นมีความหมายว่า หม้อ หรือ ชื่อราศีที่ ๑๑ รูปคนปั้นหม้อ ส่วนคำว่า วาปี หมายถึง หนองน้ำหรือบึง เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันจึงได้คำว่า กุมภวาปี อันหมายถึง บึงหม้อ นั่นเอง

__________________________________________________________________________________
ข้อมูลจาก http://tambonkumpawapi.go.th/index.php?op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=381



ศาลาที่เห็น เป็นที่ประทับใจของคณะที่ไปทุกคน อากาศสดชื่นมากๆ ได้นั่งชมทิวทัศน์แล้วไม่อยากไปไหนเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2015, 01:09:43 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 01:30:21 pm »
0


(ต่อจากด้านบน) สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรกของประเทศไทย เสด็จตรวจราชการมณฑลอุดรและมณฑลอิสาน ได้บันทึกการเสด็จ และจัดพิมพ์ไว้เมื่อปีวอก พุทธศักราช ๒๔๖๓ ความว่า
       “....ข้ามห้วยอ้ายเต้นถึงเขตเมืองกุมภวาปี เมืองนี้ยกบ้านบึงหม้อตั้งขึ้นเป็นเมืองเมื่อในรัชกาลที่ ๕ พระวรฤทธิฤาไชย ผู้ว่าราชการเมืองกุมภวาปีมารับ....”

นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้เสด็จไปเที่ยวชมรอบหนองหานและได้บันทึกต่อไปอีกว่า
       “.....หนองหานนี้มีชื่อมาในพงศาวดาร เป็นหนองใหญ่กว้างมาก มีชาวบ้านอาศัยหาปลาอยู่โดยรอบ ทางเดินรอบหนองหานประมาณ ๒ วัน มีท่าลงหนองที่บ้านเชียงแหว ระยะทางห่างจากเมืองกุมภวาปี ๒๐๐ เส้น  มีเกาะในหนองเรียกว่า เกาะดอนแก้ว  มีหมู่บ้านและวัดบนเกาะนั้นด้วย  น้ำหนองหานนี้ไหลลงลำปาวไปตกลำพาชี  เมืองกุมภวาปีมีราษฏรประมาณ ๖,๐๐๐ คน มีชาวเมืองนครราชสีมามาตั้งบ้านทำมาค้าขายด้วยหลายครัว.....”

 

การที่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้อธิบายไว้เช่นนี้ก็พอให้เป็นที่สังเกตได้ว่า ในเมืองกุมภวาปีสมัยนั้นได้มีชาวโคราชเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพทำมาค้าขายแล้ว ซึ่งชาวโคราชนี้ถือเป็นกลุ่มชนที่มีความชำนาญในด้านเครื่องปั้นดินเผากลุ่มหนึ่งในภาคอีสาน ดังนั้นเมื่อได้เขามาอยู่ในบริเวณหนองหานจึงได้นำเอาดินที่มีคุณสมบัติในการเกาะตัวเป็นอย่างดีมาปั้นเป็นภาชนะเครื่องใช้จำพวกหม้อ ไห และอื่น ๆ  ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ชาวบ้านจะเรียกชื่อหนองน้ำหรือบึง ที่ดินมีคุณสมบัติในการนำมาปั้นหม้อไหได้ดี ว่า “บึงหม้อ”   

อีกนัยหนึ่งของชื่อบึงหม้ออาจจะมาจากลักษณะของบึงหรือหนองหานนี้มีความคล้ายคลึงกับหม้อก็เป็นได้  ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บึงหม้อ”  ซึ่งเหตุผลนี้ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาและภาพถ่ายทางอากาศ ทำการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์และตีความกันต่อไป 




มีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ ในบริเวณเมืองกุมภวาปีนี้ ถือว่าเป็นชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการมาช้านานนับย้อนลงไปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓ สมัยทวารวดี  ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่บริเวณเกาะดอนแก้วกลางหนองหาน จากการศึกษาของนักวิชาการด้านโบราณคดีพบว่าบริเวณเกาะดอนแก้วนี้มีร่องรอยของชุมชนโบราณสมัยทวารวดี  คือ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี มีคูน้ำคันล้อมรอบ และมีศาสนสถานอยู่นอกตัวเมืองด้านทิศตะวันออก คือ  องค์พระมหาธาตุเจดีย์และกลุ่มใบเสมาหิน 

ถ้าหากพิจารณากลุ่มใบเสมาที่ปักนอกตัวเมืองด้านทิศตะวันออก คือ องค์พระมหาธาตุเจดีย์ พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญแล้ว  จะพบว่าใบเสมาหินนั้นถูกปักไว้ไม่น้อยกว่า ๒ ยุคด้วยกัน  คือ  ยุคแรกใบเสมาหินมีลักษณะเป็นแปดเหลี่ยม ลักษณะเช่นนี้ไปพ้องกับคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์เกี่ยวกับเรื่องหลักโลก หรือศิวะลึงค์  ที่เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในจักรวาล  ซึ่งใบเสมาแปดเหลี่ยมนี้น่าจะสร้างขึ้นตามคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นสำคัญ




ในยุคต่อมาใบเสมาหินมีลักษณะเป็นแผ่นแกะสลักลวดลายหรือเรื่องราวบนแผ่นใบเสมาหินนั้น  เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อดั้งเดิม  แต่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ถึงรายละเอียดของใบเสมาในยุคนี้ เนื่องจากลวดลายนั้นลบเลือนไปจนหมด  จะเหลือให้เห็นก็เพียงลวดลายที่ฐานทั้งสองด้านของใบเสมาหินแบบแผ่นทองที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ขององค์พระมหาธาตุเจดีย์เพียงแท่งเดียวเท่านั้น 

อย่างไรก็แล้วแต่การที่จะพบใบเสมาหินแบบแผ่นเช่นนี้ก็พอที่จะนำไปเทียบเคียงกับกลุ่มใบเสมาหินที่พบในภาคอีสานตอนบนเช่นกันได้  เป็นต้นว่ากลุ่มใบเสมาหินที่เมืองฟ้าแดดสูงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์  และกลุ่มใบเสมาหินจังหวัดเลย ที่แกะสลักลวดลายบนแผ่นใบเสมาเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ในนิทานชาดกทางพระพุทธศาสนา  และบางหลักยังมีรูปหม้อน้ำเป็นองค์ประกอบหลักและมีลวดลายพันธ์พฤกษาเป็นองค์ประกอบรองอีกด้วย



เกาะดอนหลวงด้านนี้ เป็นที่จอดเรือของอีกกลุ่มหนึ่ง เส้นทางการเดินเรือของเรือกลุ่มนี้จะต่างกับเรือของคณะของผม
กล่าวกันว่า เส้นทางเรือของกลุ่มนี้สวยกว่าเส้นทางของคณะผม(บัวแดงเยอะกว่าสวยกว่า)


ถ้าหากใบเสมาหินที่บริเวณโบราณสถานดอนแก้วมีการรับอิทธิพลการแกะสลักภาพบนใบเสมาหินเช่นเดียวกับที่เมืองฟ้าแดดสูงยางและที่จังหวัดเลยแล้ว  ก็น่าจะมีการแกะสลักรูปหม้อน้ำหรือกุมภะ ประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาหรือใบไม้ดอกไม้ด้วย ซึ่งเรียกหม้อน้ำแบบนี้ว่า “หม้อปูรณฆฎะ”  อันเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายไปยังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น  อินโดนีเซีย  เขมร  และไทย  โดยมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความชุ่มชื่น และในที่สุดก็กลายเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงมงคลประการหนึ่งด้วย อันถือเป็นคติความเชื่อในพระพุทธศาสนา

การสันนิษฐานตีความจากใบเสมาดังกล่าวนี้อาจจะเป็นต้นเค้าอีกประการหนึ่งของชื่อบ้านบึงหม้อก็เป็นได้  เนื่องจากเกาะดอนแก้วเป็นเกาะที่มีความสำคัญและใหญ่ที่สุดกลางหนองหาน มีศาสนสถานสำคัญ  ดังนั้นเมื่อมีการตั้งชื่อบ้านนามเมืองขึ้น ชาวบ้านจึงได้นำเอาสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง และความชุ่มชื่น มาตั้งเป็นชื่อบ้านเมืองของพวกตน

______________________________________________________________________________________
ข้อมูลจาก http://tambonkumpawapi.go.th/index.php?op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=381
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 02:25:50 pm »
0


(สองภาพบน) คนที่เห็นคือคุณพิชชา จันทะหาร (Roj khonkaen) เจ้าภาพหลักของทริปทะเลบัวแดง


(ภาพนี้ได้รับการเอื้อเฟื้อจากพระที)

ภาพนี้กำลังลงเรือ เพื่อออกจากเกาะดอนหลวง(ภาพนี้ได้รับการเอื้อเฟื้อจากพระที)


ถาม : ตำนานผาแดง-นางไอ่ แท้จริงแล้วเกิดที่ไหน.? เกิดที่หนองหาร อำเภอเมืองสกลนคร หรือ หนองหาน อ.กุมภาวาปี จ.อุดรธานี
ตอบ : ตำนานผาแดง-นางไอ่ นั้น มีอยู่ทั้งสองที่ แต่หากพิจารณาลักษณะภูมิศาสตร์ ตลอดจนตำนานพื้นบ้านแล้ว นักวิชาการส่วนหนึ่งเชื่อว่า ความเป็นไปได้อยู่ที่ หนองหานกุมภวาปี ขอยกเอาประวัติอำเภอกุมภวาปี จากเว็บบ้านมหา (http://www.baanmaha.com/community/thread24540.html) มาแสดงดังนี้

จากตำนาน ผาแดงนางไอ่ที่เล่ามาโดยสังเขปนี้ พอจะมีหลักฐานทางโบราณคดี เป็นเครื่องยืนยันให้สอดดล้องกับสภาพบ้านเมืองที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันหลายประการ น่าเชื่อถือว่าจะมีมูลความจริงอยู่มาก คือ
     1. ดอนแม่หม้าย กลายมาเป็น บ้านดอนแก้ว
     2. คุ้มหลวง (ที่พักเจ้านายฝ่ายใน)กลายมาเป็น ดอนหลวง ซึ่งเป็นเกาะอยู่กลางหนองหาน
     3. บ้านคอนสาย (กิ่ง อ.กู่แก้ว) เป็นสถานที่ที่นายพรานคอนธนู และขึ้นสายธนูเตรียมจะยิงกะรอกด่อน
     4. บ้านเมืองพรึก เป็นสถานที่ชาวบ้านกำก้อนดิน ก้อนหิน ขว้างปากระรอก พรึก(พึก)คือการหว่านหรือขว้างวัตถุทีละมากๆ
     5. บ้านแชแล เป็นที่กระรอกเดินผิดทาง (ภาษาอิสาน- แซแล แปลว่า ออกนอกเส้นทาง)
     6. บ้านพันดอน เป็นที่ป่าไม้มากมายพรานไล่ยิงกระรอกจนจนมุม มาตายอยู่บริเวณนี้
     7. บ้านเซียบ เมื่อไล่ล่ากระรอกด่อนเสร็จแล้ว ทีมพรานก็เมื่อยหล้าจึงหยุดพักเอาแรงเลยงีบหลับ(เซียบ)ไปพักหนึ่ง
     8. บ้านเชียงแหว เป็นสถานที่ที่ชำแหละ(แหวะ)เนื้อกระรอก โดยคนชำแหละเป็นเซียง(คนที่สึกจากการบวชเณร)แบ่งกันกิน
     9. บ้านห้วยกองสี เป็นสถานที่ที่นางไอ่คำโยนกลองทิ้งไป
   10. บ้านน้ำฆ้อง เป็นสถานที่ที่นางไอ่ทิ้งฆ้องลงไป
   11. บ้านห้วยสามพาด เป็นสถานที่ที่ม้าบักสามของผาแดง หกล้มลง
   12. หนองแหวน(อยู่ทิศเหนือบ้านเชียงแหว)เป็นสถานที่ที่ผาแดงถอดแหวนโยนทิ้งลงไป


ถาม : อ.หนองหาน อยู่จังหวัดอะไร
ตอบ : อยู่ จ.อุดรธานี ทิศเหนือของทะเลบัวแดงหรือหนองหานกุมภวาปี อยู่ติดกับตำบลพังงู ของอำเภอหนองหาน


ถาม : หนองหานน้อย อยู่ที่ไหน.?
ตอบ : หนองหานน้อย อยู่ที่ อ.หนองหานนั่นเอง เป็นเมืองเก่า เรียกว่า เมืองหนองหานน้อย


ถาม : คำว่า หนองหาน กับ หนองหาร ใช้ต่างกันอย่างไร.?
ตอบ : คำว่า"หนองหาน" ใช้กับทะเลบัวแดงกุมภวาปี และ อ.หนองหาน ที่ จ.อุดรธานี ส่วนคำว่า"หนองหาร" ใช้กับทะเลสาบหนองหาร ที่ จ.สกลนครเท่านั้น



ทะเลสาบหนองหาน สกลนคร (ภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

ทะเลสาบหนองหาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ทะเลสาบหนองหาน หรือ หนองหานหลวง เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ เป็นรองจากบึงบอระเพ็ด ตั้งอยู่บริเวณอำเภอเมืองสกลนคร อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่กว่า 77,000 ไร่ ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.0-10.0 เมตร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด นกน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย สันนิษฐานว่าหนองหานเกิดจากการยุบตัวของแผ่นเปลือกโลกอันเนื่องมาจากการถูกชะล้างของชั้นหินเกลือใต้ดินจนเกิดโพรงขนาดใหญ่ และเกิดการพังทลายยุบตัวลงเป็นหนองน้ำในเวลาต่อมา ตามคติความเชื่อของชาวสกลนคร หนองหาร เป็นผลจากการกระทำของพญานาค สืบเนื่องมาจากการกระทำอันผิดทำนองคลองธรรมของชาย-หญิง ในตำนานผาแดง นางไอ่

ทะเลสาบหนองหาน ประกอบ เกาะน้อยใหญ่ มากกว่า 30 เกาะ เกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุดคือ เกาะดอนสวรรค์ โดยมีพุทธสถานโบราณ ภายในเกาะ สำหรับผู้ที่ต้องการเที่ยวเยียมชม รวมทั้งทัศนียภาพ น้ำใส สาหร่ายสีทอง นกน้ำ ปลา นานาพันธุ์ และวิถีชีวิตของชาวประมงหนองหาน

ในปี พ.ศ. 2557 ทะเลสาบหนองหานได้รับการคัดเลือกจากสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ให้เป็นทะเลสาบที่มีความแปลกที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทะเลสาบแมงกะพรุน ในสาธารณรัฐปาเลา ด้วยในช่วงต้นฤดูหนาว หรือปลายปี จะมีดอกบัวสีแดงบานสะพรั่งพร้อมกัน ทำให้มีทัศนียภาพที่ีสวยงาม ดอกบัวจะบานเช่นนี้ไปจนถึงช่วงต้นฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม

___________________________________
ที่มา th.wikipedia.org/wiki/ทะเลสาบหนองหาน


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1
ภาพทะเลบัวแดง มีให้ชมทั้งหมดเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตามชม
 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2015, 02:39:18 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 04:03:58 pm »
0

ภาพยังมีต่ออีก ยังมีอยู่.. เป็นภาพที่ประทับใจ รจ พิชชา ค่ะ เป็นภาพที่ถ่ายงานวันเกิดที่ทะเลบัวแดง หนองหาน อุดรธานี  ขอบพระคุณพระอาจารย์ และศิษย์พี่  สายกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทุกท่านค่ะ ปีนี้จะนิมนต์อีก ไม่รู้พระอาจารย์จะรับหรือเปล่า แล้วแต่วาสนาแล้วกันนะคะ เพราะว่าทำบุญตักบาตรวันเกิดที่บ้านต้องทำติดต่อกัน ๓ ปีค่ะ ปีที่ ๒ ทำบุญแล้ว ค่ะ  เหลืออีก ๑ ปี 

ปล. ขอสมเด็จปู่ ฯ ให้พระอาจารย์รับนิมนต์ครั้งที่ ๓ ด้วยนะคะ  ทำบุญตักบาตรที่บ้านแล้วจะไปภูทอก จ.บึงกาฬ เชียงคาน 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2015, 07:17:52 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 26, 2015, 09:08:01 pm »
0
แสดงว่ายังมีรูป ไม่ได้ นำมาให้ดูอีกจำนวนมาก

  :88: thk56
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทะเลบัวแดงบาน หนองหาน กุมภวาปี (๓)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 27, 2015, 01:10:35 pm »
0

     สาธุ ยอดเยี่ยม gd1
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา