ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จ้องสมาร์ทโฟนทำ "ตาสั้น" พุ่ง! เด็กไทยเสื่อมเพิ่ม 3 เท่า-ร้านเเว่นเฮลูกค้าตรึม  (อ่าน 1165 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


จ้องสมาร์ทโฟนทำ "ตาสั้น" พุ่ง! เด็กไทยเสื่อมเพิ่ม 3 เท่า -ร้านเเว่นเฮลูกค้าตรึม

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตคนเปลี่ยนไป ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้สูงอายุหันมาใช้เทคโนโลยีกันเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อสายตาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือสมาร์ท โฟนต่างๆ ยิ่งส่งผลให้สายตาผิดปกติเร็ว อย่างในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีลงมา หากใช้เครื่องมือเหล่านี้มากๆ ตั้งแต่เด็กก็จะทำให้สายตาสั้นเร็วขึ้น เนื่องจากใช้สายตามากเกินไป ขณะเดียวกันจะทำให้สายตายาวเร็วขึ้นด้วย จากปกติสายตายาวจะเกิดในผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป ตามอายุที่เพิ่มขึ้นก็จะพบเร็วขึ้น โดยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและสภาพการใช้เทคโนโลยี

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีการหวาดกลัวแสงสีฟ้า (Blue Light) จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ จะป้องกันอย่างไร นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวว่า แสงสีฟ้ามีคลื่นรังสีเกิน 400 นาโนเมตร สามารถทะลุทะลวงเซลล์ประสาทตาได้ ทำให้เสื่อมเร็ว และมีผลต่อการมองเห็น การเห็นสีที่ผิดแปลกไป แต่ไม่ใช่จะเกิดขึ้นง่ายๆ เนื่องจากแสงสีฟ้าจะพบในจอคอมพิวเตอร์ชนิดแอลอีดี (LED) และต้องใช้เป็นประจำติดต่อกันทุกวันและยาวนาน ตรงนี้ไม่มีตัวเลขเก็บว่าใช้เวลายาวนานแค่ไหนจึงจะเกิดผล

นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวว่า ส่วนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนนั้น ส่วนใหญ่ไม่มี แต่ก็เห็นมีการทำในรูปแบบแอลอีดีเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญไม่ควรใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือยาวนานติดต่อกันตลอดทั้งวัน โดย 30 นาที ควรพักสัก 5 นาที กรณีที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่หากเป็นการเล่นโทรศัพท์มือถือควรหันไปทำกิจกรรมอื่นๆ บ้าง เล่นกีฬา ออกกำลังกาย มีประโยชน์กว่า เพราะปัจจุบันขนาดซ้อนมอเตอร์ไซค์ยังเล่นโทรศัพท์ ทำให้ขาดสมาธิ



จักษุแพทย์โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า จากผลสำรวจล่าสุดคนไทยใช้มือถือประมาณ 41 ล้านคน ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 20 ล้านคน ใช้อินเตอร์เน็ตประมาณ 15 ล้านคน โดยโทรศัพท์ที่นิยมส่วนใหญ่เป็นสมาร์ทโฟน ซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างในเครื่องเดียว ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ ในปี 2557 ระบุว่าประชาชนไทยใช้สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากที่สุดร้อยละ 77 โดยใช้เฉลี่ย วันละ 7.2 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่ใช้เฉลี่ย วันละ 4.6 ชั่วโมง ชี้ให้เห็นว่าประชาชนใช้สายตาเพ่งข้อมูลในสมาร์ทโฟนยาวนานขึ้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดสายตาผิดปกติเพิ่มขึ้น

"สายตาผิดปกติจะมีทั้งสั้น ยาว และเอียง การเล่นคอมพิวเตอร์ในเด็กวัยประถม คืออายุต่ำกว่า 15 ปี เด็กจะใช้สายตามาก จะทำให้สายตาสั้นเร็วกว่าปกติ ซึ่งมีทั้งสั้นเทียมหรือสั้นชั่วคราว และสั้นถาวร โดยอัตราการเกิดปัญหาสายตาสั้นขณะนี้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว จากที่เคยพบร้อยละ 8 ของจำนวนประชากร เป็นร้อยละ 30 ทำให้เด็กมีปัญหาในการเรียน เด็กจะมองตัวหนังสือบนกระดานไม่ชัด ทำให้จดข้อมูลและเรียนไม่ทันเพื่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาเด็กเบื่อหน่ายการเรียน นอกจากนี้จะทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศีรษะโดยไม่รู้สาเหตุ เกิดจากการเพ่งสายตา ส่งผลต่อการทำงานในบางอาชีพที่ต้องใช้สายตาในอนาคต เช่น นักบิน ตำรวจ ทหาร เป็นต้น" นพ.ฐาปนวงศ์กล่าว


 :96: :96: :96: :96:

นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวว่า ส่วนกลุ่มที่อายุเกิน 15 ปีจะไม่มีปัญหาสายตาสั้นเทียม แต่จะเกิดปัญหาเมื่อยล้า แสบตา ตาแห้ง มีอาการปวดศีรษะ หรือทำให้ไมเกรนกำเริบ หากเป็นผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นวัยทำงาน ตามปกติสายตาจะเริ่มยาว หากใช้สายตามากกว่าปกติจะเกิดอาการเมื่อยล้า ปวดตา ตาแดง แสบตามากขึ้น และหากกลับไปบ้านและทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์อีก จะทำให้เมื่อยล้ามากขึ้น และเกิดสะสม เวียนศีรษะ สำหรับวัยหลังเกษียณ การเล่นไลน์หรือคอมพิวเตอร์มาก จะมีอาการแสบตา ตาแห้ง ปวดตา อาการจะเป็นมากกว่าผู้ที่อายุน้อย เนื่องมาจากความเสื่อมในการทำงานของอวัยวะที่เกิดตามวัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลผลสำรวจจากสำนักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อเดือนกันยายน 2557 พบว่าทั่วประเทศมีผู้พิการทางการมองเห็น 171,597 คน โดยโรคที่เป็นสาเหตุของตาบอดที่สำคัญ 5 โรค ได้แก่ โรคต้อกระจก ต้อหิน โรคจอตา โรคที่ทำให้ตาบอดในเด็ก และโรคของกระจกตา จากการสำรวจช่วงปี 2549-2550 พบว่าประชากรไทยมีความชุกของตาบอดร้อยละ 0.59 และสายตาเลือนรางร้อยละ 1.57



ผู้สื่อข่าว "มติชน" สอบถามพนักงานในร้านขายแว่นตายี่ห้อดังร้านหนึ่ง ได้รับข้อมูลว่า ระยะนี้มีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 20% ทั้งเปลี่ยนอุปกรณ์แว่น และมาตรวจวัดสายตา ส่วนใหญ่จะมาเปลี่ยนแว่นตากรองแสงและตัดแว่นสายตาสั้น ผู้ที่มาใช้บริการส่วนมากจะเป็นคนวัยทำงาน จะมีบ้างที่เป็นเด็กมาตัดแว่นสายตาสั้น จากการสอบถามลูกค้าจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสายตา น่าจะเกิดจากการเพ่งมองโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนมากเกินไป

นางวันทนา ลำเลิศ อายุ 51 ปี อาชีพรับราชการ กล่าวว่า ปกติจะใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเช็กข้อมูลข่าวสาร อ่านไลน์ และดูความเคลื่อนไหวของสังคม โดยใช้ประมาณวันละ 2 ชั่วโมง และปกติเป็นคนสายตาสั้นอยู่แล้วจึงไม่ค่อยมีปัญหากับการเล่นสมาร์ทโฟน เพราะไม่ได้เล่นเป็นเวลานาน


 :41: :41: :41: :41:

นายอรรถสิทธิ์ กิตติชัยภิญโญ อายุ 21 ปี นักศึกษา กล่าวว่า จะเล่นโทรศัพท์มือถือตลอดเวลาที่ว่างเพราะเป็นคนติดเกม และติดเล่นเฟซบุ๊กบ้าง เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง ปัญหาที่พบเวลานี้คือสายตาเริ่มสั้นลงมากมองไม่ค่อยชัด อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ใส่แว่นตา เพราะเห็นว่ายังไม่จำเป็น และแก้ปัญหาที่มองไม่ชัดด้วยการมองใกล้ๆ เอา

น.ส.วรติกร รักเจริญ อายุ 21 ปี นักศึกษา กล่าวว่า เล่นโทรศัพท์ทุกครั้งที่มีเวลาว่าง ส่วนใหญ่ดูเรื่องราวความเคลื่อนไหวในสังคม คุยไลน์กับเพื่อน ก่อนหน้านี้ไปวัดสายตา พบว่าสายตาสั้น 200 แต่ตอนนี้เริ่มมองจอนานๆ ไม่ได้เพราะตาเริ่มเบลอ เข้าใจว่าสายตาจะสั้นเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ได้ไปวัดสายตา


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424303880
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ