ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "พุทธเกษตร" ณ บางบัวทอง (จบ) : สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี  (อ่าน 5270 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระโพธิสัตว์กวนอิมที่นี่ เป็นที่นิยมกราบไหว้ขอพร ขอคนที่มาวัดเล่งเน่ยยี่ 2

ภาพนี้ถ่ายติดดวงเทพชัดเจนมา อยู่เหนือน้ำหน้าพระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นครั้งแรกที่ถ่ายติดบริเวณที่มีน้ำ

ภาพนี้เป็นต้นฉบับ ตัดภาพมาให้ดูกันชัดๆ มีดวงเทพทั้งหมด ๔ ดวง


มังกรมีเขา เต่ามีหนวด สัตว์ตัวนี้เป็นสัตว์มงคลตามคติของจีน เรียกว่า เต่ามังกร หรือเต่าหัวมังกร



     ภาพชุดนี้เป็นชั้นที่ ๑ ของวัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิมปางประทานพร ซึ่งทำมาจากไม้จันทน์หอม มีความศักดิ์สิทธิ์และมีอายุกว่า ๑๐๐ปี อัญเชิญมาจากวัดมังกรกมราวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ 1 ชั้นนี้จัดให้มีการถวายเทียนลอยน้ำแด่พระโพธิสัตว์กวนอิม

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)
เลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "พุทธเกษตร" ณ บางบัวทอง (จบ) : สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 01:02:27 pm »
0


วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (ตัวเต็ม: 普頌皇恩寺, ตัวย่อ: 普頌皇恩寺, พินอิน: Pǔ sòng huáng ēn sì ผู่ซ่งหวางเอินสื้อ, ฮกเกี้ยน: โพ้ซงอ๋องอุนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: โพ้วซึงอ๊วงอึ๋นยี่ ) หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นวัดจีนในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บนพื้นที่ 12 ไร่เศษ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาส งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539

นี่คือโมเดลของวัดเล่งเน่ยยี่2 ดูเหมือนจะแบ่งการสร้างออกเป็น ๓ เฟส เฟสแรกคือตึกกลางสร้างเสร็จแล้ว
ส่วนอาคารและเจดีย์ซ้ายและขวา ปัจจุบันเป็นที่จอดรถ อยู่ในระหว่างหาเงินบริจาค ยังไม่ได้เริ่มสร้างแต่ประการใด

ประวัติ

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ต่อมา คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้มอบหมายให้ พระเดชพระคุณพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ และ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ โดยเปิดให้พุทธบริษัทไทย-จีนได้ร่วมบุญ ในการจัดสร้าง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสดังกล่าว

โดยมี นายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างวัดฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ มีพระบรมราชานุญาต ซึ่งในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ โดยเมื่อเวลา 15.00 น. วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์วัด





ปัจจุบัน วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการกว่า 12 ปี (2539-2551) ในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารต่างๆ ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรม ตามแนวปรัชญา และคติธรรมทางพระพุทธศาสนา จีนนิกายฝ่ายมหายาน อันประกอบด้วย วิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์, วิหารหมื่นพุทธเจ้า, วิหารบูรพาจารย์, ห้องปฏิบัติธรรม, ที่พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาพจากวิกิพีเดีย


ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์_คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "พุทธเกษตร" ณ บางบัวทอง (จบ) : สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2015, 01:47:35 pm »
0

คติธรรมของท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว




ข้อมูลทั่วไป : วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
ชื่อสามัญ    :   วัดเล่งเน่ยยี่ 2
ที่ตั้ง          : 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
ประเภท      :   วัดจีน
นิกาย          : คณะสงฆ์จีนนิกาย (มหายาน)
พระประธาน  :  พระพุทธเจ้าสามพระองค์
พระพุทธรูป  : พระกวนอิมโพธิสัตว์
สำคัญ       : วัดจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เวลาทำการ  : ทุกวัน 06.00-18.00 น.
จุดสนใจ     : พระอุโบสถ
กิจกรรม     : วันตรุษจีน เทศกาลกินเจ
ข้อห้าม      :   ห้ามสวมรองเท้าเข้าอาคาร
การถ่ายภาพ : ไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง



เคาน์เตอร์ขายวัตุถมงคล


นำภาพบรรยากาศชั้นหนึ่งมาให้ชมครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "พุทธเกษตร" ณ บางบัวทอง (จบ) : สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 11:21:18 am »
0

จากซ้ายไปขวา พระอมิตาภพุทธเจ้า พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า (ชั้น 1 วัดเล่งเน่ยยี่ 2)


พระอมิตาภพุทธะ

พระอมิตาภพุทธะ เป็นพระธยานิพุทธะที่ประทับในแดนสุขาวดี ซึ่งเป็นพุทธเกษตรแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์มีรูปกายเป็นสีแดง นับถือกันมากในนิกายสุขาวดี ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับในนิกายเถรวาท เพราะไม่มีกล่าวถึงในพระไตรปิฏกภาษาบาลี

ประวัติ

มหาสุขาวตีวยูหสูตรระบุว่าก่อนจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระอมิตาภะเคยเกิดเป็นกษัตริย์ชื่อ "พระเจ้าธรรมกร" ต่อมาผนวช และได้แสดงปณิธาน 48 ประการเฉพาะพระพักตร์พระโลเกศวรราชพุทธะ ว่าขอให้มีพระองค์ได้มีพุทธเกษตรแห่งหนึ่งเป็นโลกธาตุดินแดนบริสุทธิ์ไว้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์มีชื่อว่าสุขาวดี อมิตาพุทธสูตรยังระบุว่าพระอมิตาภะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อสิบกัปที่แล้ว หลังจากปรินิพพานจึงประทับ ณ สุขาวตีพุทธเกษตรนั้น ซึ่งเป็นที่ใช้ในประกาศพระธรรม ไม่มีอบายภูมิ มีแต่โพธิสัตวภูมิ เพื่อเป็นการสงเคราะห์สรรพสัตว์ให้เข้าสู่นิพพานต่อไป เชื่อกันว่าเมื่อพระอมิตาภพุทธะเสด็จปรินิพพานแล้ว พระอวโลกิเตศวรจะทรงบรรลุเข้าเป็นพระพุทธเจ้าในแดนสุขาวดีแทน




ความเชื่อ

พระองค์มีหลายพระนาม เช่น อมิตายุ แปลว่า พระผู้มีอายุกาลไม่มีประมาณ และอมิตาภะ แปลว่า พระผู้มีแสงส่องสว่างไม่มีประมาณ เป็นพระธยานิพุทธะ 1 ใน 5 องค์ ประทับอยู่ทางตะวันตกของพุทธมณฑล พระกายสีแดงก่ำ เป็นต้นตระกูลของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะ หมายถึงปัญญาที่ทำให้มนุษย์รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลือกปฏิบัติในทางที่ถูก สัญญลักษณ์คือดอกบัว พระพุทธเจ้าในตระกูลนี้ทั่วไปใช้บัวแดง

พระโพธิสัตว์ปางดุใช้บัวขาว ภาพวาดของพระองค์มักวาดให้พระหัตถ์ยาว หมายถึงความสามารถที่จะเอื้อมพาสรรพสัตว์เข้าสู่แดนสุขาวดี มีพระชิวหายาวตระหวัดได้รอบโลกหมายถึงความสามารถในการแสดงธรรมได้ทั่วโลก ทรงนกยูงเป็นพาหนะนับถือส่วนใหญ่ในพุทธศาสนานิกายมหายาน ควบคู่กับพระอวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมในภาษาไทย


พระอมิตายุพุทธะ รูปลักษณ์ภาพวาดทังกา ศิลปะธิเบต (ภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)


ท่านเป็นพระพุทธเจ้าในสุขาวดีพุทธภูมิห่างจากโลกมนุษย์ ทางทิศตะวันตกสิบล้านล้านกิโลเมตร ใช้เวลาสร้าง 5 กัป จึงสำเร็จเป็นอาณาจักรหนึ่ง ชื่อ แดนสุขาวดี (เก็กลกซือไก)

จุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่อยู่ของสัตว์โลกที่สำเร็จธรรม ขอเพียงมีปณิธานแน่วแน่จริงใจและสวดคำว่า อามีทอฝอ (แต้จิ๋ว: อานีทอฮุก) อยู่เสมอ ยามใกล้จะสิ้นใจจะปรารถนาที่จะลาโลกไป พระอมิตาภพุทธะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ จะเสด็จมารับไปยังแดนสุขาวดี ดังเช่นหลวงจีนในนิกายมหายานนิยมท่องกัน เพราะเป็นความเชื่อส่วนนิกาย ไม่ได้บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก และไม่พบในนิกายเถรวาท




อ้างอิง :-
๑. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 35-7
๒. มหาปณิธาน ๔๘ ประการ ของพระอมิตาภะพุทธเจ้า
๓. อมิตาพุทธสูตร, หน้า 6 ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต.กทม.ศูนย์ไทยทิเบต.2538
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/พระอมิตาภพุทธะ



 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ได้เวลาเฉลยประโยคที่ว่า "สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี" เนื่องจากสุขาวดีพุทธเกษตรของวัดเล่งเน่ยยี่ 2 เห็นชัดว่าเป็นของ พระอมิตาภพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์นี้เป็นที่นิยมของชาวจีนอย่างมาก จะเห็นว่า หนังจีนกำลังภายในส่วนใหญ่หลวงจีนมักจะเอ่ยคำว่า "อมิตตพุทธ" อยู่เสมอ คำนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า มาจากคำเต็มๆว่า "พระอมิตาภพุทธเจ้า" นั่นเอง

จากข้อมูลจากจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่กล่าวว่า "ขอเพียงมีปณิธานแน่วแน่จริงใจและสวดคำว่า อามีทอฝอ อยู่เสมอ ยามใกล้จะสิ้นใจจะปรารถนาที่จะลาโลกไป พระอมิตาภพุทธะ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ จะเสด็จมารับไปยังแดนสุขาวดี"

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในที่นี้ หมายถึง พระโพธิสัตว์กวนอิมนั่นเอง รูปปั้นรูปวาดของพระโพธิสัตว์กวนอิมทั้งหมดเป็นผู้หญิง ผู้รู้กล่าวว่า คติของพระโพธิสัตว์ที่มาจากอินเดีย พระโพธิสัตว์ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้น แต่พอความเชื่อนี้ไปถึงจีนกลับถูกเปลี่ยนเป็นผู้หญิง

ผมได้มีโอกาสอ่านพระสูตรหนึ่งของมหายาน พระสูตรนี้คือ มหาสุขาวตีวยูหสูตร (หรืออมิตายุสสูตร หรือมหาอมิตายุสยูตร) ขอยกมาแสดงดังนี้

     มหาสุขาวตีวยูหสูตร : วรรค ๖ ประกาศมหาปณิธาน หน้าที่ ๒๑
     เมื่อเพลาที่ข้าพระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ในโลกธาตุย่อมปราศจากอิสตรี(๑๕) หากแม้นมีสตรีใด ได้สดับนามของข้าพระองค์ มีศรัทธาบริสุทธิ์แล้วบังเกิดโพธิจิต เบื่อหน่ายกายแห่งสตรีปรารถนาอุบัติที่โลกธาตุของข้าพระองค์ เมื่อคราชีพดับสิ้นย่อมปรากฏเป็นบุรุษ แล้วมายังดินแดนของข้าพระองค์
     อันบรรดาสรรพสัตว์ในทิศทั้งสิบ ที่มาถืออุบัติในโลกธาตุของข้าพระองค์ ล้วนแต่กำเนิดโดยปทุมมาศในสัปตรัตนโบกขรณี(๑๖) ทั้งสิ้น
     หากมิเป็นดั่งนี้ จักมิขอตรัสรู้พระอนุตรสัมโพธิญาณ (ปณิธานข้อ ๒๒.ในโลกธาตุไร้อิสตรี ๒๓.หน่ายร่างสตรีได้กลายบุรุษ ๒๔.อุบัติแต่ดอกปทุมมาลย์)


(๑๕) คำว่า ในสุขาวตีปราศจากอิสตรี หมายความว่า ไร้ซึ่งการแบ่งว่าหญิงหรือชาย ไร้ทวิภาวะ มีความสมตาคือเท่าเทียมกัน
(๑๖) หมายถึง สระบัวที่ประดับด้วยอัญมณี ๗ ประการ คือ ทอง เงิน ไพฑูรย์ ผลึก บุษราคัม มรกต ทับทิม
________________________________________________
ที่มา มหาสุขาวตีวยูหสูตร  โดย พระวิศวภัทร เซ่ยี เกี๊ยก วัดเทพพุทธาราม


 ask1 ans1 ask1 ans1

   ตามคัมภีร์มหาสุขาวตี หรืออมิตายุสสูตร (ฉบับพระสังฆวรมัน) ได้บรรยายพระมหาปณิธานของพระอมิตาภะพุทธเจ้า ที่เคยทรงประกาศไว้เฉพาะเบื้องพระพักตร์แห่งพระโลเกศวรราชาพุทธเจ้าตอนเสวยพระชาติเป็นธรรมากรภิกษุไว้ ๔๘ ประการ ในข้อ ๒๑ มีข้อความปรากฏดังนี้
  ๒๑. เพื่อการเป็นพระพุทธะแล้ว หากเทวดาและมนุษย์ในโลกธาตุ มิได้สำเร็จบริบูรณ์ในทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะทั้ง ๓๒ ประการแล้วไซร้ เราจักมิขอสำเร็จพระสัมโพธิญาณ

      :96: :96: :96: :96:

      จากหลักฐานตามพระสูตรและคัมภีร์ของมหายานที่ยกมาแสดง จะเห็นว่า สุขาวดีของพระอมิตาภพุทธเจ้า ไม่น่าจะมีสตรีเพศ เรื่องนี้ไม่ฟันธงไม่ยืนยันนะครับ ผมแค่ยกขึ้นมาคุยเป็นประเด็นเท่านั้น ส่วนตัวผมเมื่อเอ่ยถึงมหายานแล้ว ผมแทบจะไม่รู้อะไรเลย
      และนั่นคือ ทั้งหมดของคำว่า "สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี"


      :25: :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 11:24:12 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "พุทธเกษตร" ณ บางบัวทอง (จบ) : สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 11:37:04 am »
0






ภาพชุดนี้เป็นชุดสุดท้าย เก็บบรรยากาศช้นหนึ่งมาให้ชม


ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

วัดเล่งเน่ยยี่ 2 นอกจากความงามทางสถาปัตยกรรมแล้ว อากาศที่นี่ดีมาก ภายในวัดสอาดมาก ดูสภาพทั้วๆไปแล้ว การบริหารจัดการเยี่ยมครับ ประทับใจตรงนี้ ทริปวัดเล่งเน่ยยี่ 2 มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม

 thk56 :25: thk56 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "พุทธเกษตร" ณ บางบัวทอง (จบ) : สุขาวดีไร้ซึ่งสตรี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 01:43:13 pm »
0
ร่วมบุญหล่อสมเด็จองค์ปฐม "พุทธสิกขีบรมจักรพรรดิ์"
ณ วัดท่าวัว จ.สระบุรี














วันนี้วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 "วัดท่าวัว" มีงานพิธีหล่อสมเด็จองค์ปฐม "พุทธสิกขีบรมจักรพรรดิ์" หน้าตัก 59 นิ้ว (ฤกษ์บวงสรวงเวลา 13.00 น. ฤกษ์เททองเวลา 14.00 น. ครับ!) ซึ่งงานในวันนี้ผมนั้นลืมไปแล้วด้วยซ้ำครับ แต่ด้วยความอนุเคราะห์ของคุณนงเยาว์สหายศิษย์ร่วมครูอาจารย์ได้โทรมาย้ำเตือนให้ไปผมระลึกได้จึงได้ไปและเก็บภาพบางส่วนในงานมาให้ได้ชมกัน (สังเกตรูปองค์พระพุทธปฏิมากรที่ผมอธิษฐานปิดทองไว้ที่อุณณาโลมเด่นอยู่กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) อีกหนึ่งที่อธิษฐานปิดทองคือ พระราชสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด) บริเวณดั้งจมูกบน และ สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี บริเวณมหาสูรย์ (หว่างคิ้ว) ซึ่งยอมรับว่าปิดทองยากมาก แต่ด้วยตั้งใจขมาและกล่าวคำบูชาในใจก็สำเร็จ ครับ!

(สมเด็จองค์ปฐมไม่ใคร่จะมีการสร้างได้บ่อยบุญนั้นมาก หากใครได้มีโอกาสสร้างมรรคผลจะสำเร็จไวเพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ อนุโมทนา ครับ!) อนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ไป ครับ!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2015, 02:05:07 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา