"พลังหินสี" เป็นแค่ความเชื่อ
นักวิทยาศาสตร์ชี้พลัง "หินสี" เป็นแค่ความเชื่อ พร้อมยกตัวอย่างผลศึกษาหินคริสตัลบำบัดโรคพบเป็นอุปาทาน
เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวไขข้องใจเกี่ยวกับ "หินสี" ที่กำลังได้รับความนิยมและมีการบรรยายสรรพคุณว่ามีพลังที่ช่วยให้สุขภาพ และการงาน ตลอดจนความรักดีขึ้น
ผศ.ดร.เจษฎาระบุว่า ได้เข้าไปอ่านสรรพคุณหินสีตามเพจต่างๆแล้วคิดว่าเป็นแค่แนวความเชื่อศรัทธาตามกระแส
"ถ้าหินพวกนี้จะมีพลังอะไรออกมาได้ อย่างมากก็แค่ว่าจะมีรังสีออกมา ถ้าหินนั้นเป็นแร่ธาตุกัมมันตรังสี (อันตรายอีก) การที่จะได้ผลหรือไม่ได้ผล ก็ขึ้นกับความเชื่อ กับอุปาทานของแต่ละคนเอง"

ผศ.ดร.เจษฎา ยังยกตัวอย่างการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ว่า ในปี 2001 ทีมนักวิจัยด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่อังกฤษ ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง "หินคริสตัลบำบัดโรค" ว่าได้ผลจริงหรือไม่ (http://www.livescience.com/40347-crystal-healing.html) โดยให้อาสาสมัคร 80 คนมานั่งสมาธิ 5 นาทีโดยครึ่งหนึ่งถือก้อนคริสตัลจริง อีกครึ่งหนึ่งถือก้อนปลอม (แต่หลอกว่าเป็นคริสตัลจริง) พบว่า
ถึงจะมีการรายงานผลจากอาสาสมัครหลายคนว่ารู้สึกตัวอุ่นขึ้น รู้จักสุขภาพกายสุขภาพใจดีขึ้น ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องขึ้นกับว่าถือหินก้อนคริสตัลจริง แถมคนที่ศรัทธาในหินอยู่แล้ว ก็ยังจะรายงานว่ารู้สึกได้พลังจากหินมากกว่าคนที่ไม่ศรัทธาถึง 2 เท่า แม้ว่าจะถือหินปลอม
"เรื่องนี้จึงสรุปทางวิทยาศาสตร์ได้ว่า เป็นอุปาทานยาเทียม หรือ อุปาทานพลาเซโบ้ placebo effect ครับ" ผศ.ดร.เจษฎาระบุภาพจาก
http://cu.lnwfile.com/_/cu/_raw/ah/qw/5a.jpgที่มา :
www.facebook.com/jessada.denduangboripant<http://www.facebook.com/jessada.denduangboripant>
www.posttoday.com/สังคม/ประเด็นเด็ด/349015/พลังหินสี-เป็นแค่ความเชื่อ