หลวงปู่กินรี จันทิโย พระกัมมัฏฐานนครพนม
คอลัมน์ "มงคลข่าวสด"
หลวงปู่กินรี จันทิโย วัดกันตศีลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พระสงฆ์ศิษย์ที่เคยปฏิบัติธรรม บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นอกจากนี้ ยังเป็นพระอาจารย์ของ หลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
มีนามเดิมว่า กลม จันสีเมือง เกิดเมื่อ วันพุธที่ 8 เม.ย.2439 ตรงกับสมัยร.ศ.115 ที่บ้านหนองฮี ต.หนองฮี อ.ปลาปาก จ.นคร พนม ครอบครัวประกอบอาชีพชาวนา
ในวัย 10 ขวบ บรรพชาที่วัดหนองฮี ต.หนองฮี อ.ปลาปาก จ.นครพนม ศึกษาหนังสือธรรม หนังสือผูก ภาษาขอม ภาษาไทยน้อย (อักษรธรรม) และภาษาไทยปัจจุบัน
ครั้นพออายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม แต่ด้วยการร้องขอจากบิดา-มารดา จึงลาสิกขาตามความประสงค์ของบุพการี และประกอบอาชีพเป็นนายฮ้อยค้าวัว-ควายพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่กินรี จนฺทิโย ณ วัดกันตศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
เนื่องจากอาชีพดังกล่าวต้อง พรากพ่อแม่ลูกโค-กระบือ ผลกรรมจึงตามย้อนสนองให้ต้องสูญเสียภรรยาหลังคลอดบุตร สร้างความโศกเศร้าเป็นยิ่งนัก ท่านจึงละวางทางโลก มุ่งหาทางธรรม เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดศรีบุญเรือง ต.กุดตาไก้ อ.ปลาปาก จ.นครพนม เมื่อวันที่ 3 เม.ย.2465 ขณะมีอายุ 25 ปี โดยมีพระอาจารย์วงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พิมพ์และพระอาจารย์พรหมา เป็นพระคู่สวด ได้ชื่อใหม่จากพระอุปัชฌาย์จากชื่อเดิม "กลม" เป็น "กินรี" มีฉายาว่า "จันทิโย"
หลังอุปสมบทอยู่จำพรรษที่วัดหนองฮี ต.หนองฮี อ.ปลาปาก เพื่อสอนความรู้ภาษาไทยทั้งการอ่านและเขียนให้แก่เด็กๆ ในหมู่บ้าน และยังขุดลอกสระน้ำขนาดใหญ่ด้วยตัวเอง เพื่อให้วัดและชาวบ้านได้มีน้ำอุปโภคบริโภค ต่อมาไปศึกษาเล่าเรียน กัมมัฏฐานจากพระอาจารย์ทองรัตน์ กันตสีโล ที่สำนักบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ได้ระยะหนึ่งจึงเดินทางกลับสู่วัดบ้านเกิด และได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ชื่อว่าสำนักสงฆ์เมธาวิเวก“วัดป่าเมธาวิเวก” ในปัจจุบัน
เสนาสนะภายใน “วัดป่าเมธาวิเวก” ในปัจจุบัน
ครั้งหนึ่งพระอาจารย์ทองรัตน์พาไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เพื่อรับโอวาทและหลักธรรม พร้อมกับการเจริญสมาธิ ภาวนาจิตให้สงบ ซึ่งท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับหลวงปู่มั่นเพียง 2 ปี
ออกธุดงค์มุ่งไปตามป่าเขา เลาะเลียบฝั่งโขงไปฝั่งลาว กราบนมัสการพระพุทธบาทโพนสัน กระทั่งไปจำพรรษาอยู่กับเผ่าแม้วที่ จ.อุตรดิตถ์ ฉันแต่ข้าวโพด ลำดับนั้นธุดงค์ข้ามไปย่างกุ้ง ประเทศพม่า และได้รับนิมนต์ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกุลาจ่อง และจำพรรษานาน 12 ปี จนพูดภาษาพม่าได้ ก่อนมุ่งหน้าไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4
จากนั้นจึงกลับมาพักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวกระยะหนึ่ง ก่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม ระหว่างนี้ท่านยังแวะเวียนไปหาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และพระอาจารย์ทองรัตน์อยู่เป็นนิจ(บนขวา) หลวงปู่กินรี จนฺทิโย วัดกันตศิลาวาส (ซ้ายล่าง) พระโพธิญาณเถร(หลวงพ่อชา สุภัทโท) (หลังซ้าย) หลวงพ่ออวน ปคุโณ
หลวงปู่กินรียังมีลูกศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียง คือ หลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง ที่ได้อยู่จำพรรษาศึกษาปฏิบัติธรรมและคอยอุปัฏฐากรับใช้ระหว่างปี พ.ศ.2490-2491 ก่อนจะนำพระพุทธศาสนาไปประกาศเผยแผ่ยังทวีปต่างๆ ทั่วโลก
หลวงปู่กินรีเป็นพระที่ยึดมั่นและเคร่งครัดในพระธรรมวินัย คอยอบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในพระวินัย แม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ จะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้การตากผ้าสบงจีวรแล้วมิได้เฝ้าดูรักษาก็จะตำหนิพระลูกศิษย์ เป็นสมณะต้องมักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อย ไม่สะสมทรัพย์สิ่งของเจดีย์และรูปหล่อหลวงปู่กินรี จนฺทิโย ภายในพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่กินรี จนฺทิโย
ณ วัดกันตศิลาวาส ต.ฝั่งแดง อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
หลวงปู่กินรีมีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากปอดชื้น แต่ท่านไม่ยอมให้หมอรักษาหรือยอมให้ศิษย์นำตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ด้วยความชราภาพทำให้สภาพร่างกายไม่แข็งแรงดังแต่ก่อน และนับวันมีแต่อาการอาพาธจะทรุดลง กระทั่งวันที่ 26 พ.ย.2523 จึงละสังขารจากไปอย่างสงบ สิริอายุ 84 พรรษา 58
แต่คุณงามความดีและหลักธรรมคำ สั่งสอนของท่าน ยังฝังอยู่ในจิตใจของผู้ที่เคารพศรัทธามิเสื่อมคลายขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1429439316ขอบคุณภาพจาก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=42518