ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทิเบต...′หลังคาโลก′  (อ่าน 6348 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29314
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ทิเบต...′หลังคาโลก′
« เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 08:31:53 pm »
0


ทิเบต...′หลังคาโลก′
โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เมื่อครอบครัวเอ่ยชักชวนไปเที่ยว "ทิเบต" ผู้เขียนรู้สึกลังเล เพราะรู้สึกว่ามันไกล ไปยาก และไม่ค่อยมีใครไปกันสักเท่าไหร่ เพราะข้อมูลที่ได้รับมาคือ ทิเบตเป็นแผ่นดินที่สูงมาก ความกดดันต่ำ ออกซิเจนจะเบาบางกว่าปกติ จะทำให้คนเหมือนขาดออกซิเจน มีผลต่อร่างกาย เช่น หายใจไม่ทัน เหนื่อยง่าย น่าจะไม่เหมาะกับวัยกลัดอย่างผู้เขียน (ฮา)

เพราะความสูงเสียดฟ้าของทิเบต จึงได้รับการขนานนามว่า "หลังคาโลก" โดยมียอดเขาที่สูงที่สุดในโลกคือ ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Everest Mountain) มีองค์ทะไลลามะ หรือดาไลลามะ เป็นพระสงฆ์ เป็นประมุขปกครองที่สืบทอดกันมา ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพรักศรัทธาของคนทิเบตและทั่วโลก ...อย่างไรก็ตาม แม้ข้อมูลจะเป็นกำแพงกั้นให้ไม่อยากไปทิเบต แต่ในที่สุดด้วยเสียงรบเร้า จึงตัดสินใจเดินทางไปทิเบตในที่สุด...และต้องบอกว่าไม่ผิดหวังในการตัดสินใจ


 :96: :96: :96: :96:

ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ "กรุงลาซา" ดินแดนไกลสุดหล้าฟ้าเขียว สภาพอากาศโดยทั่วไปในทิเบต มีอุณหภูมิต่ำและเปลี่ยนแปลงง่ายในแต่ละวันแตกต่างกันมาก ขึ้นๆ ลงๆ ขณะที่ผู้เขียนมาคือ ต้นเมษายน มีอากาศค่อนข้างเย็นประมาณ 5-10 องศาเซลเซียส กลางคืน -5 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนเบาบางมาก นอกจากมีอากาศหนาวเหน็บจนปวดหัว หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย

เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ผู้เขียนอยากสื่อให้ท่านทั้งหลายที่ตั้งใจจะมาเที่ยว ท่านต้องความพร้อมเรื่อง "สุขภาพ" ความฟิตของร่างกาย ต้องเตรียมมาบ้าง อย่าประมาท ตัวผู้เขียนเองก็เตรียมมาพอสมควร ทั้งจ๊อกกิ้ง ขี่จักรยาน ก็ยังประสบด้วยตนเองตามที่เล่าให้ฟังเบื้องต้น การเตรียมความพร้อมของเลือดแดงให้สุขภาพเรา ทางทัวร์เขาจัดยาเสริมฮีโมโกลบินให้ไปเพิ่มฮีมในเม็ดเลือดแดงของเรา เช้า 1 ขวด เย็น 1 ขวด จะได้ไม่เหนื่อยง่าย

ช่วงเดือนเมษายนที่ผู้เขียนมา ที่นี่เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศอบอุ่นขึ้น พบหิมะที่ปกคลุมอยู่บนยอดเขาละลายไหลหลากลงมา อากาศกำลังดี อย่างสบายใจ ท้องฟ้าสีฟ้าใส เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ แต่ยังไม่มีฝนตก

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

มีประชากร 3 แสนคนเศษ นับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้ทิเบตยังเป็นที่มาของแม่น้ำสำคัญหลายสายเข้าสู่ประเทศจีน อินเดีย ปากีสถาน พม่า ไทย เช่น แม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน

นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1391 ทิเบตมีทะไลลามะหรือดาไลลามะเป็นประมุขผู้ปกครอง ทรงอำนาจทั้งฝ่ายอาณาจักรและศาสนาจักร แต่ก็มีฐานะเป็นเพียงประเทศราชของจีน จนกระทั่งเมื่อจีนเข้ามายึดครองในปี ค.ศ.1951 ทิเบตมีฐานะเป็นเขตปกครองตนเอง ซีจ๋างภายใต้อุ้งมือ "พญามังกรจีน..." และองค์ "ดาไลลามะ" องค์ที่ 14 ปัจจุบันอายุ 78 ปี จำต้องเสด็จออกนอกดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ กลายเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณที่ชาวโลกเอาใจช่วยให้กลับไปปกครองแผ่นดินแห่งพุทธศาสนา "มหายานนิกายลามะ" หรือ "นิกายหมวกเหลือง" ...อีกครั้งหนึ่ง

    แม้ทิเบตวันนี้จะไม่มีองค์ดาไลลามะประทับอยู่...แต่มนต์ขลังแห่งโปตาลาและคนชาวทิเบตทั้งประเทศ ก็ยังอบอวลให้ด้วยพลังแห่งศรัทธา... เป็นศูนย์กลางแห่งความลี้ลับหลายอย่างหลายประการบนดินแดนแห่ง "หลังคาโลก" ...ทิเบตแห่งนี้


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

กว่าที่ผู้เขียนและคณะรวม 6 ชีวิต จะถึงทิเบต เดินทางจากกรุงเทพฯ แล้วจะต้องพักที่คุนหมิง 1 คืน คืนแรกที่พักที่คุนหมิงก็เริ่มมีอาการหนาวเหน็บแล้ว ยังมีความมึนศีรษะ ปวดหัว เป็นการเตือนเริ่มแรกของการขึ้นบนพื้นที่สูง บรรยากาศความกดดันต่ำ เบาบางด้วยออกซิเจน รุ่งเช้าวันที่ 4 เมษายน 2558 เดินทางสู่ "นครลาซา" เมืองหลวงของมณฑลทิเบต ใช้เวลาเดินทางบนเครื่องบินเกือบ 3 ชั่วโมง ถึงสนามบิน LHASA GONGA AIRPORT ของทิเบต ซึ่งมีแห่งเดียว สร้างมาเกือบ 20 ปีแล้ว และเข้าที่พักโรงแรม Jardin Cecret Hotel ระหว่างเดินทางสู่ทะเลสาบยิมดร๊อกโซ (Yamdrok-Tso) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ศักดิ์สิทธิ์ ใหญ่ที่สุดของทิเบต บนที่ราบสูงของโลก และเป็นที่เคารพสักการะอย่างมาก มีพื้นที่ 700 ตารางกิโลเมตร อยู่ในวงล้อมของเทือกเขา "หิมาลัย" ด้านเหนือ ได้สมญานามว่า "คลังแห่งมัจฉาของทิเบต"

จุดชมวิวของทะเลสาบอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,990 เมตร คืนแรกที่พักโรงแรมดังกล่าว สมาชิกเราทั้ง 6 คน มีอาการของคนแพ้ที่สูง คนแพ้ความหนาว เรียกรวมว่า Altitude Sickness หรือ Acute Mountain Sickness "อาการแพ้ความกดอากาศสูง" เป็นอาการที่ร่างกายคนเกิดตอบสนอง เวลาขึ้นที่สูงมากกว่า 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป แต่บางคนทนทาน อาจจะไม่มีอาการก็ได้ บางคนมีอาการสูงที่ 3,000, 4,000, 5,000 เมตรขึ้นไปก็มี


 :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

เช้าวันที่ 5 เมษายน ประมาณ 09.30 น. คณะ 6 ชีวิต ออกเดินทางสู่... "พระราชวังโปตาลา" ตั้งอยู่บนเนินเขาใจกลางเมือง "นครลาซา" เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน มีเนื้อที่กว่า 1 แสน 3 หมื่นตารางเมตร สูง 110 เมตร ตีนเขาอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,650 เมตร เดินปีนป่ายขึ้นไปแบบทุลักทุเล เดินไป หอบไป ต้องหยุดพักเป็นระยะๆ

วังทั้งหลังสร้างขึ้นตามเนินเขา มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร ภูมิฐานสูงตระหง่าน จนได้รับการยกย่องว่า...เป็น "ไข่มุกราตรีแห่งหลังคาโลก" วังโปตาลาบรรจงสร้างเป็นสถาปัตยกรรมประสาทแบบป้อมปราการที่มีชื่อเสียงของทิเบต เป็นเพชรน้ำหนึ่งแห่งศิลปะสถาปัตยกรรม ทิเบตจริงๆ เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมโบราณที่ลือชื่อที่สุดของจีน ค.ศ.1994 UNESCO สหประชาชาติได้จัดให้พระราชวังโปตาลาเข้าสู่บัญชี "มรดกโลก" ประเภทมรดกวัฒนธรรม

คำว่า "โปตาลา" มาจากภาษาอินเดียโบราณ มีความหมายว่า "ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของพระโพธิสัตว์" ต่อมาราชวงศ์กู่ได้ล่มสลาย พระราชวังก็ถูกทิ้งร้างทรุดโทรมไป


 :29: :29: :29: :29:

จวบจนเมื่อศตวรรษที่ 17 พุทธศาสนากลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งในทิเบต ตรงกับสมัยองค์ทะไลลามะที่ 5 ได้เป็นผู้รวบรวมศาสนาจักรเข้าไว้ด้วยกัน และใช้เมือง "ลาซา" เป็นศูนย์กลางทิเบตอีกครั้งหนึ่ง และได้มีการบูรณะพัฒนาพระราชวังโปตาลาให้มีขนาดใหญ่โตอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน

อีกสถานที่หนึ่งที่ชาวทิเบตศรัทธามากที่สุดและครั้งหนึ่งในชีวิต พวกเราจะต้องมาให้ได้ และคณะเราที่มา 6 ชีวิตก็ขาดไม่ได้นั้นคือ "วัดโจคัง" และ "ถนนแปดเหลี่ยม"

ณ ถนนแปดเหลี่ยม (Barkhor Street) ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งที่กลมกลืนไปกับพื้นที่ของวัดโจคัง (Jokhang Temple) ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้ง ชมร้านคาเฟ่ แกลเลอรี่ ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านขายโปสเตอร์ และของที่ระลึกแบบครบวงจร สำหรับชาวต่างชาติ ราคาของที่นี่ค่อนข้างแพง สมาชิกท่านหนึ่ง (อาจารย์ ดร.สมคิด จูหว้า) สนใจกำไลหิน เขาบอก 700 หยวน ต่อราคา 300 หยวน เขายินดีขายราคา 350 หยวน เรียกว่าต่อราคากันครึ่งๆ เลยทีเดียว

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

ที่วัดโจคัง คณะโดยการนำของไกด์พาชมห้องในบ้านต่างๆ มีบรรยากาศสลัวๆ ด้วยกลิ่นอายของน้ำมันเนยจามรี ที่ดมกลิ่นแล้วค่อนข้างจะมึนๆ แต่ละห้องเป็นที่เก็บรูปปั้นขององค์พระลามะองค์สำคัญๆ ห้องโถงหลักของวัดแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปปางอดีต ปางปัจจุบัน องค์ศากยะมุนี และองค์อนาคต พระศรีอริยเมตไตรย เดินๆ ชมไปบางคราวรู้สึกต้องรีบเดินออกไปข้างนอกห้อง เพื่อสูดหาออกซิเจนที่ไม่ค่อยจะมีมากเท่าใดนักในอากาศให้เต็มปอด เพื่อมีแรงเดินต่อไป

อาศรมโจคังตั้งอยู่ในใจกลางลาซา เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นสถานีปลายทางของผู้แสวงบุญของชาวทิเบตที่ดีที่สุด ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับเป็นมรดกโลกจาก UNESCO ปี 2000 และเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังโปตาลา ปัจจุบันนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในลาซา ตามความหมายของ "โจคัง" แปลว่า "บ้านของพระพุทธเจ้า" บริเวณหน้าวัดจะมีคนชาวทิเบตมากราบไหว้นอนเหยียดยาวคว่ำหน้า พนมมือเหนือศีรษะ และจรดที่หน้าผากและหัวใจ กราบเหยียดยาว 3 ครั้ง ภาษาไทยเรียกว่า "อัษฎางคประดิษฐ์" คณะทั้ง 6 คน ได้กราบไหว้ทั้งหมดเลย อธิษฐานว่าชาติหน้ามีจริง ขอให้ได้มาเที่ยวอีกสักครั้ง...


 :25: :25: :25: :25:

สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนในฐานะเป็นหมอจะละเลยเสียมิได้ ได้พูดคุยกับไกด์เรื่อง "ความเชื่อเรื่องหมอๆ ของทิเบต" ได้ความว่า ผู้ที่สามารถเชื่อมต่อกับพระเจ้าและโลกของวิญญาณได้นั้นคงมีความเชื่อว่า "หมอทิเบต" เท่านั้นที่สามารถนำวิญญาณที่ล่องลอยกลับสู่ร่าง มีอภินิหารในการรักษาโรค เยียวยาความเจ็บป่วยของจิตวิญญาณมนุษย์ได้ "หมอทิเบต" ในฐานะผู้บูชาศาสนา แต่หมอทิเบตก็ทำหน้าที่หลากหลายในสังคม เป็นทั้งหมอดู หมอรักษาโรค หมอพิธีกรรม ผู้แนะนำด้วยจิตวิญญาณ เปรียบเสมือนหมอผี ตามที่เรารู้จักกันดี เครื่องแต่งกาย เครื่องประกอบพิธีกรรม เวทมนต์คาถา แท่นบูชา การทำนายโชคชะตา ถือเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจและค้นหาเช่นกัน

 :03: :03: :03: :03:

อีกเรื่องที่ผู้เขียนอยากถ่ายทอดความเชื่อ ด้วยศาสนา วัฒนธรรมที่ว่า ชีวิตคนเรานั้นเมื่อตายไปแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้จริงๆ เป็นเพียงแต่ซากเน่าผุพัง จะได้เป็นประโยชน์สักหน่อย ก็เป็นเพียงแค่อาหารของสัตว์ป่า นกกา เท่านั้นเอง คนทิเบตนั้นมีพิธีกรรม จากคำบอกเล่าของไกด์เล่าว่า มีอยู่ 3 จำพวก คือ

1.พิธีศพทางฟากฟ้า (Sky Burial) : ปัจจุบันกลายเป็นพิธีกรรมเฉพาะของทิเบตเท่านั้น ใช้กับคนระดับกลางๆ ประชาชนธรรมดา เมื่อตายแล้วเขาคือสัปเหร่อที่เรียกว่า "ดอมแด" เป็นพระสงฆ์จะสับศพเป็นท่อน แล้วให้ "นกแร้ง" มากินศพ (นกแร้งได้รับการฝึก กลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของทิเบต) เพื่อส่งขึ้นสวรรค์ทำที่วัดบนยอดเขาสูง

2.พิธีเผาศพ : การเผาศพเป็นพิธีที่ค่อนข้างเกินเอื้อมสำหรับประชาชนคนธรรมดาของชาวทิเบต และไม่ค่อยนิยมมากนัก ใช้สำหรับคนมีเงิน บุคคลสำคัญของประเทศ หรือพระรูปสำคัญๆ เท่านั้นจะใช้วิธีนี้ เพราะไม้เป็นของหายากและมีค่ามากสำหรับชาวทิเบต

3.พิธีศพทางน้ำ : เป็นพิธีของชาวบ้านที่ยากจน ตายผิดปกติ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือเคลื่อนย้ายศพไปทำพิธีที่วัดบนยอดเขา โดยชาวบ้านจะนำศพผู้ชายมาหั่นศพกันเองเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อโยนลงแม่น้ำอุทิศให้เป็นอาหาร "ปลา"


 ans1 ans1 ans1 ans1

ผู้เขียนในฐานะพอมีประสบการณ์เพียงเล็กน้อย ขอเชิญชวนท่านที่เป็นนักท่องเที่ยวไปมาทั่วโลกแล้วยังไม่เคยไปทิเบต หรือไม่รู้จะไปเที่ยวที่ไหน ก็ขอเชิญชวนไปเที่ยวเสียให้ได้ จะได้ปลงกับชีวิตและรู้ว่า

ชีวิตคนเราก่อนตายที่มีอาการหายใจขาดออกซิเจน ภาวะสุดท้ายที่เรียกว่า "AIR HUNGER" กระหายอากาศหายใจเป็นอย่างไร จะได้ลิ้มรสว่ามีอาการอย่างไร จะได้เข้าใจและเป็นการเตรียมตัวตายก่อนตายได้อย่างดีที่สุด และเข้าใจ "คน" หรือ "ความเป็นมนุษย์" ความเป็นสัตว์โลกด้วยกันได้เป็นอย่างดี ว่าทุกชีวิตมีความสำคัญเท่าๆ กัน จะได้ให้เกียรติให้อภัยกัน ลดการขัดแย้ง อยู่กันอย่างสันติสุขในโลกใบนี้ คือ "ประเทศไทย" เรานี้ ซึ่ง "น่าอยู่" ที่สุดในโลกหาไม่ได้อีกแล้วไงเล่าครับ


ที่มา : มติชนรายวัน 6 พ.ค.2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1430912603
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ