ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่องรายวิชาพระพุทธศาสนา-วิปัสสนา ‘มจร’ มุ่งสืบสานพระราชปณิธาน ร.5  (อ่าน 1555 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

ส่องรายวิชาพระพุทธศาสนา-วิปัสสนา‘ มจร’ มุ่งสืบสานพระราชปณิธาน ร.5
สำราญ สมพงษ์ รายงาน

"มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไปมีกระบวนการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคฝึกปฏิบัติ"

นี้คือปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ปัจจุบันนี้มีการจัดการเรียนการสอบตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมศึกษาจนถึงระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมีการจัดลักษณะหลักสูตรระยะสั้นอีกมากหมายทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อผู้เรียนและนำไปใช้ ดังนั้นเมื่อจะมีการเปิดโครงการหลักสูตรต่างๆ ก็จะมีการอ้างอิงปรัชญาของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นอันดับแรก

 :25: :25: :25: :25:

ล่าสุดคณะพุทธศาสตร์ที่มีพระสุธีธรรมานุวัตรหรือเจ้าคุณเทียบเป็นคณบดี โดยภาควิชาพระพุทธศาสนาร่วมกับสถาบันวิปัสสนาธุระ มจร ได้เปิดหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี 24 หน่วยกิต  2 หลักสูตรคือ "ประกาศนียบัตรพระพุทธศาสนา" (ป.พศ.) และหลักสูตร "ประกาศนียบัตรวิปัสสนาภาวนา (ป.วน.)

หลักสูตรป.พศ.มีปรัชญาและความเป็นมาของหลักสูตรว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย  ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไปมหาวิทยาลัยมีปรัชญา ที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการณ์กับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม  มีปณิธาน จัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ มุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลาง การศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ โดยจัดการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ให้นำไปสู่การพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืน มีอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย ในการประยุกต์พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม และมีอัตลักษณ์บัณฑิต ให้มีศรัทธาอุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา


 st12 st12 st12 st12

ดังนั้น เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงรวมทั้งการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำหลักการทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันภาควิชาพระพุทธศาสนาคณะพุทธศาสตร์จึงได้จัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรพระพุทธศาสนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา โดยมุ่งพัฒนาคุณลักษณะของพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ที่พึงประสงค์คือมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญามีความสามารถแก้ไขปัญหา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมมีโลกทัศน์กว้างไกลมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนให้มีคุณธรรมจริยธรรมอีกทั้งมีความรู้ความเข้าใจในวิชาการพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 st11 st11 st11 st11

มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรให้มีความรู้ความเข้าใจ วิชาการทางพระพุทธศาสนาสามารถนำหลักการทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม  สามารถพัฒนาชีวิต จิตใจและสติปัญญา ให้เป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชนและสังคม มีจิตศรัทธาอุทิศตนต่อสถาบันพระพุทธศาสนาและประเทศชาติ และสามารถศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรีทางพระพุทธศาสนา ศาสนา ปรัชญา และบาลีสันสกฤตได้

     มีวิชาบังคับ โดยผู้เรียนจะต้องศึกษา จำนวน 18 หน่วยกิต คือ
     ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกเบื้องต้น หลักธรรมในพระพุทธศาสนา เทศกาลและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ศาสนาทั่วไป พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์ ชาดกศึกษา ธรรมภาคภาษาอังกฤษและกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
    ส่วนวิชาเลือก 6 หน่วยกิต 
    เช่น บาลีเบื้องต้น พุทธปรัชญาเบื้องต้น ศาสนาและความเชื่อในสังคมไทย วรรณคดีบาลี ภาษาไทย พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน พระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชน และพระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์


 :96: :96: :96: :96: :96:

ขณะที่หลักสูตร ป.วน. มีปรัชญาของหลักสูตรคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไปมีกระบวนการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคฝึกปฏิบัติ ในลักษณะการบูรณาการอย่างเป็นองค์รวมโดยมีไตรสิกขาเป็นแกน โดยสะท้อนวิธีการเรียนการสอนที่เป็นทั้งปริยัติ ปฏิบัติและปฎิเวธ ที่สร้างให้ผู้เรียนมุ่งมั่นพัฒนาตนให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ ความเข้าใจ เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา เป็นไปตามหลักคำสอนอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

    ดังที่ตรัสไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า
    เอกายโน อยํภิกฺขเวมคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวนํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํอตฺถงฺคมาย ญายสฺสอธิคมาย นิพฺพานสฺสสจฺฉิกรณตฺถายยทิทํจตฺตาโร สติปฏฺฐานา 
    แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียวเพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ  เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน 4

 
 ans1 ans1 ans1 ans1

ดังนั้น เพื่อให้การสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในด้านการศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาการชั้นสูง รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา  มีทักษะด้านการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และสามารถเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคม ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิปัสสนาภาวนา ขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์ พื่อพัฒนาบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ส่งเสริมบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้มีทักษะด้านการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ส่งเสริมบุคลากรทางพระพุทธศาสนาให้สามารถเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคม


 ask1 ask1 ask1 ask1

มีวิชาบังคับ18 หน่วยกิต คือ พระไตรปิฎกศึกษา วิปัสสนาวงศ์ วิสุทธิมรรคศึกษา  กรรมฐานในพระพุทธศาสนา สำนักวิปัสสนาในสังคมไทย เทคนิคการสอนวิปัสสนาภาวนา ภาษาอังกฤษสำหรับพระวิปัสสนาจารย์ ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และการเตรียมฝึกสอนวิปัสสนาภาวนา ส่วนวิชาเลือก 6 หน่วยกิต คือ ปรมัตถธรรม ธรรมะภาคภาษาอังกฤษ เทคนิคการวัดผลปฏิบัติวิปัสสนา ชีวิตและผลงานของพระวิปัสสนาจารย์ โสฬสญาณ การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เทคโนโลยีทางวิปัสสนาภาวนา และการสัมมนาวิปัสสนาภาวนา

ขณะนี้ทั้ง 2 หลักสูตร กำลังเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาเสริมความรู้ด้านพระพุทธศาสนาและวิปัสสนา ได้ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม   ที่สำนักงานคณะพุทธศาสตร์ อาคารมหาจุฬาฯ ชั้น 3 ห้อง 300 วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ติดต่อสอบถาม โทร. 02 222 6026 , 0818553089, 0816344943 เปิดเรียนวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม  ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150619/208301.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ