ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดไผ่ล้อมจัดพิธีขอขมากรรม  (อ่าน 2142 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วัดไผ่ล้อมจัดพิธีขอขมากรรม
« เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 09:24:41 am »
0


วัดไผ่ล้อมจัดพิธีขอขมากรรม

พิธีถอนกรรม ถอนคำสาบาน ถอนคำสาปแช่ง ในยุคปัจจุบันสาธุชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจใคร่รู้ในแนวคิด และประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมดังกล่าวว่ามีความเป็นมาอย่างไร และสามารถขอขมากรรม ถอนคำสาบาน ถอนคำสาปแช่งได้จริงหรือไม่ และมีการปฏิบัติกันมาในพุทธประเพณีหรือไม่อย่างไร ความจริงแล้วการขอขมากรรมต่อกัน และให้อภัยซึ่งกันและกันต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต่อ สรรพสัตว์ทั้งหลาย หรือแม้แต่ต่อเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายนั้นมีมาเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่สมัยพุทธกาล

การขอขมากรรมต่อกันมีหลักฐานปรากฏชัดเจนในสังคมพระภิกษุสงฆ์ในสมัยพุทธกาลที่ต้องอยู่ในอารามเดียวกันเป็นจำนวนหลายรูปเป็นสังคมสงฆ์ ในบรรดาพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นต่างมาจากกลุ่มคนในสังคมทุกชนชั้นวรรณะ และมีพื้นเพทางการศึกษา หรือกิริยามารยาทในการพูดจา หรือ การปฏิบัติตัวที่แตกต่างกัน ตามพื้นฐานของการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันในสมัยครองเรือน


 :96: :96: :96: :96: :96:

กรณีที่มีภิกษุรูปใดกระทำการละเมิดต่อหมู่สงฆ์ก็จะถูกขับออกจากหมู่คณะจนกว่าภิกษุรูปนั้นจะสำนึกผิดและยอมกลับตัวประพฤติตนให้อยู่ในหลักปฏิบัติของสงฆ์ และขอขมากรรมต่อการกระทำของตนที่ได้ทำผิดพลาดไปแล้ว จึงจะถูกรับกลับเข้าหมู่สงฆ์เช่นเดิม

นั่นก็แสดงให้เห็นถึงการขอขมากรรม หรือขออโหสิกรรม และให้อโหสิกรรมต่อกันและกัน ย่อมนำมาซึ่งความสุขใจในการดำเนินชีวิต และจะมีพลังในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เนื่องจากไม่มีอะไรเป็นที่ขุ่นข้องหมองใจแล้วนั่นเอง

 :25: :25: :25: :25:

สำหรับคฤหัสถ์ หรือฆราวาส ญาติโยมนั้น มีอยู่ทุกยุคทุกสมัยเช่นกันในการขอขมากรรม หรือขออโหสิกรรมใน กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ตนได้กระทำล่วงเกินต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย เมื่อกระทำลงไปแล้วย่อมเป็นการผูกเวร และมีการจองเวรต่อกันและกันนำมาซึ่งความทุกข์ใจ และคำสาปแช่งต่างๆ

อย่างไรก็ตามในวันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๘.๐๙๘ น. ณ บริเวณด้านหน้าฌาปนสถานปลอดมลพิษ วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หรือหลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จัดพิธีขอขมากรรม ทำบุญอุทิศผลบุญให้แก่ผู้แท้งลูก โดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ดี และเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการขอขมาต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร งดโทษ ไม่โกรธเคือง ไม่จองเวรต่อกัน ขอขมาต่อการกระทำของตน ที่ได้ทำผิดพลาดไปแล้ว และให้อโหสิกรรม


 ans1 ans1 ans1 ans1

กำหนดการ เวลา ๑๘.๐๙ น. บัณฑิตศิษย์มีครู อาจารย์เชน พงษ์พรหม ณภัทรไพบูลย์ อาจารย์กบ สักกเทพ วานิช อ่านโองการบูชาเทพยดา พร้อมบูชาถวายเครื่องสังเวยต่อเทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ผู้เข้าร่วมพิธีต้องมาด้วยตนเอง และควรมาก่อนเวลา ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สอบถามรายละเอียดโทร.๐๘-๕๔๑๕-๖๔๖๔, ๐๖-๑๗๘๒-๖๒๖๔ และ ๐๖-๑๗๘๒-๖๔๖๒


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150724/210347.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



๖. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๗๖]     
         
                  ข้อความเบื้องต้น              
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปฐวีสโม" เป็นต้น.

               พระสารีบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งฟ้อง              
               ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรออกพรรษาแล้ว ใคร่จะหลีกไปสู่ที่จาริก จึงทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ออกไปกับด้วยบริวารของตน. ภิกษุทั้งหลายมากแม้อื่นตามส่งพระเถระแล้ว. ก็พระเถระปราศรัยกะภิกษุทั้งหลายผู้ปรากฏอยู่ ด้วยสามารถชื่อและโคตร ตามชื่อและโคตรแล้วจึงบอกให้กลับ.

               ภิกษุผู้ไม่ปรากฏด้วยสามารถชื่อและโคตรรูปใดรูปหนึ่ง คิดว่า "โอหนอ พระเถระน่าจะยกย่องปราศรัยกะเราบ้าง ด้วยสามารถชื่อและโคตร แล้วพึงให้กลับ." พระเถระไม่ทันกำหนดถึงท่าน ในระหว่างแห่งภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก. แม้ภิกษุนั้นผูกอาฆาตในพระเถระว่า "พระเถระไม่ยกย่องเรา เหมือนภิกษุทั้งหลายอื่น." มุมสังฆาฏิแม้ของพระเถระถูกสรีระของภิกษุนั้นแล้ว. แม้ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นก็ผูกอาฆาตแล้วเหมือนกัน.

               ภิกษุนั้นรู้ว่า "บัดนี้ พระเถระจักล่วงอุปจารวิหาร" จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรประหารข้าพระองค์เหมือนทำลายหมวกหู ไม่ยังข้าพระองค์ให้อดโทษแล้ว หลีกไปสู่ที่จาริก" ด้วยสำคัญว่า "เป็นอัครสาวกของพระองค์." พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว.

               พระเถระเปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง              
               ในขณะนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระและพระอานนทเถระคิดแล้วว่า
               "พระศาสดาไม่ทรงทราบความที่แห่งภิกษุนี้ อันพี่ชายของพวกเรา ไม่ประหารแล้วก็หาไม่, แต่พระองค์จักทรงประสงค์ให้ท่านบันลือสีหนาท, เราจักให้บริษัทประชุมกัน."
               พระเถระทั้งสองนั้นมีลูกดาลอยู่ในมือ เปิดประตูบริเวณแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาท ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า" ให้ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประชุมกันแล้ว.


               ฝ่ายพระเถระมาถวายบังคมพระศาสดานั่งแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเนื้อความนั้นกะพระเถระนั้นแล้ว.
               พระเถระไม่กราบทูลทันทีว่า "ภิกษุนี้อันข้าพระองค์ไม่ประหารแล้ว" เมื่อจะกล่าวคุณกถาของตนจึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า สติเป็นไปในกาย อันภิกษุใดไม่พึงเข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย, ภิกษุนั้นกระทบกระทั่งสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในศาสนานี้ ไม่ขอโทษแล้วพึงหลีกไปสู่ที่จาริกแน่"

               ดังนี้แล้ว ประกาศความที่แห่งตนมีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน เสมอด้วย น้ำ ไฟ ลม ผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล โคอุสภะมีเขาขาด ความอึดอัดด้วยกายของตนเหมือนซากงูเป็นต้น และการบริหารกายของตน ดุจภาชนะมันข้น
               โดยนัยเป็นต้นว่า
               "พระเจ้าข้า บุคคลย่อมทิ้งของอันสะอาดบ้าง ย่อมทิ้งของอันไม่สะอาดบ้าง ลงในแผ่นดินแม้ฉันใด"
               ก็แลเมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนด้วยอุปมา ๙ อย่างนี้อยู่, แผ่นดินใหญ่ไหวจนที่สุดน้ำ ในวาระทั้ง ๙ แล้ว.
ก็ในเวลานำอุปมาด้วยผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล และภาชนะมันข้นมา
ภิกษุผู้ปุถุชนไม่อาจเพื่ออดกลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชเกิดแก่ภิกษุผู้ขีณาสพทั้งหลายแล้ว.


               เมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนอยู่นั่นแล, ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในสรีระทั้งสิ้นของภิกษุผู้กล่าวตู่แล้ว.
ทันใดนั้นแล ภิกษุนั้นหมอบลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประกาศโทษในเพราะความกล่าวตู่ ด้วยคำอันไม่จริงแสดงโทษล่วงเกินแล้ว.
     




                จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน        
               พระศาสดาตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า
"สารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษนี้เสีย, ตลอดเวลาที่ศีรษะของเขา จักไม่แตกโดย ๗ เสี่ยง."
พระเถระนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ยอมอดโทษต่อผู้มีอายุนั้น,
และขอผู้มีอายุนั้นจงอดโทษต่อข้าพระองค์, ถ้าว่าโทษของข้าพระองค์มีอยู่."


               ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความที่พระเถระมีคุณไม่ต่ำทราม, พระเถระไม่กระทำความโกรธ หรือความประทุษร้าย แม้มีประมาณน้อย ในเบื้องบนของภิกษุผู้กล่าวตู่ด้วยมุสาวาทชื่อเห็นปานนี้ ตัวเองเทียวนั่งกระโหย่ งประคองอัญชลี ให้ภิกษุนั้นอดโทษ."

               พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า"
               ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษร้าย เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้, ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตรเช่นกับด้วยแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับห้วงน้ำใส"


               เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                                         ๖.    ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ                  
                                         อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต    
                                         รหโทว อเปตกทฺทโม    
                                         สํสารา ร ภาวนฺติ ตาทิโน.    
                            ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสาเขื่อน คงที่ มีวัตรดี
                            มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือก
                            ตม ย่อมไม่ (ยินดี) ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุ
                            นั้นผู้คงที่.





                  แก้อรรถ               
               เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้ :-
               ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอาดมีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลงในแผ่นดิน. อนึ่ง เด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อมสักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ในเพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดินหรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด;

               ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ๘, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม,
               ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชนทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า "ชนเหล่านี้ย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย ๔, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ "

               โดยที่แท้ ภิกษุผู้ขีณาสพนั้นย่อมเป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดิน และเป็นผู้เปรียบด้วยเสาเขื่อนนั่นเอง. ก็ห้วงน้ำที่มีเปือกตมไปปราศแล้ว เป็นห้วงน้ำใสฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีเปือกตมไปปราศแล้ว ด้วยเปือกตมทั้งหลายมีเปือกตม คือราคะเป็นต้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสไปปราศแล้ว ย่อมเป็นผู้ผ่องใสเทียว ฉันนั้น.
               บทว่า ตาทิโน ความว่า ก็ชื่อว่าสงสารทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการท่องเที่ยวไปในสุคติและทุคติทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น.

               ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

               เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.         

                       
ที่มา อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=733
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=515&Z=543
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=17&p=6
ขอบคุณภาพจาก
http://i.ytimg.com/
http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การด่าพระอริยเจ้า "ห้ามสวรรค์และห้ามมรรค"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 10:18:26 am »
0



การด่าพระอริยเจ้าห้ามสวรรค์และห้ามมรรค
                           
    สองบทว่า อริยานํ อุปวาทกา ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเห็นผิด เป็นผู้ใคร่ซึ่งความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ กล่าวใส่ร้าย.
     มีคำอธิบายว่า ด่าทอ ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า โดยที่สุด แม้คฤหัสถ์ผู้เป็นพระโสดาบัน ด้วยอันติมวัตถุ หรือด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ.

    ในการกล่าวใส่ร้าย ๒ อย่างนั้น บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า สมณธรรมของท่านเหล่านั้น ไม่มี, ท่านเหล่านั้น ไม่ใช่สมณะ ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้ายด้วยอนติมวัตถุ.
    บุคคลผู้กล่าวอยู่ว่า ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ของท่านเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่ากล่าวใส่ร้าย ด้วยการกำจัดเสียซึ่งคุณ. ก็ผู้นั้นพึงกล่าวใส่ร้ายทั้งที่รู้ตัวอยู่ หรือไม่รู้ก็ตาม ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าแท้ แม้โดยประการทั้งสอง.
    กรรม (คือการกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า) เป็นกรรมหนัก เป็นทั้งสัคคาวรณ์ (ห้ามสวรรค์) ทั้งมัคคาวรณ์ (ห้ามมรรค)





เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง   
         
    ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ :-

     ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่งและภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง.
     ท่านทั้ง ๒ นั้นได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวยหนึ่ง ในเรือนหลังแรกนั่นเอง.
     แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น.ท่านคิดว่า ข้าวยาคูนี้เป็นของสบายแก่เรา เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย ท่านจึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้ ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้ เพื่อต้องการทำธรณีประตู.
     ภิกษุหนุ่มนอกนี้ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระแก่รูปนี้หิวจัดหนอ กระทำให้เราได้รับความอับอาย.

     พระเถระเที่ยวไปในบ้านแล้วกลับไปยังวิหาร ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า
     อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้ของคุณมีอยู่หรือ.?
     ภิกษุหนุ่มเรียนว่า มีอยู่ ขอรับ! กระผมเป็นพระโสดาบัน.
     พระเถระพูดเตือนว่า อาวุโส.! ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทำความพยายาม เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ.? เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว.
     ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว
     เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.





วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษให้ในการด่าใส่ร้าย
             
     เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า ผู้นั้นไปแล้ว ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้, ก็พึงให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะพระคุณเจ้าแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษนั้นให้กระผมด้วยเถิด.

     ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี พึงขอให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ! กระผมได้กล่าวคำนี้และคำนี้กะท่านแล้ว ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
     ถ้าท่านไม่ยอมอดโทษให้หรือท่านหลีกไปยังทิศ(อื่น)เสีย พึงไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น
     ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้ พึงยืนขอขมาโทษทีเดียว

     ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษให้
     พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ.! กระผมได้กล่าวคำนี้ และคำนี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้นจงอดโทษให้แก่กระผมด้วยเถิด

     ถ้าพระอริยเจ้ารูปนั้นปรินิพพานแล้วไซร้, ควรไปยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพพาน แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว พึงให้อดโทษให้
     เมื่อตนได้กระทำแล้วอย่างนี้ กรรมคือการใส่ร้ายนั้น ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค) ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว.





การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม
             
     บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกา แปลว่า มีความเห็นวิปริต.
     บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานา ความว่า ก็คนเหล่าใด ให้ชนแม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล. คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ.

     ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดงถึงข้อที่กรรมทั้ง ๒ นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์.

     จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษมากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
     ดูก่อนสารีบุตร.! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด,
     ดูก่อนสารีบุตร.! เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก(เพราะอริยุปวาท) เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.

     ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่า มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี.
     เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษมากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

     สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย (ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
     บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับแห่งการสละนั้น.
     อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์.
     บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.


อ้างอิง :-
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=12
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=01&A=1&Z=315




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พยสนสูตร

    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ
    ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
    ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ


    ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑
    เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑
    สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑
    เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑
    เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑
    ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
    ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑
    ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑
    เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑
    เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ
    ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ


     จบสูตรที่ ๘


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๙๐๔ - ๓๙๑๕. หน้าที่ ๑๖๘ - ๑๖๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=3904&Z=3915&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=88
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: วัดไผ่ล้อมจัดพิธีขอขมากรรม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2015, 06:10:25 pm »
0

         ในเรื่องโทษ เรื่องกรรม ใครทำแล้วก็ต้องรับ....ใช่ว่าจะหายไป เรื่องนั้นไม่ต้องไปปลอบใจตัวเองเพราะกรรมยังอยู่

          ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา