ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จ้องตากันแล้วท้อง เป็นไปได้หรือไม่.? มีเรื่องแปลก..มาดูกัน  (อ่าน 2750 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติปฐมปาราชิกเมื่อ ๒๐ พระพรรษา

     ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหลายได้ประคองพระหฤทัยให้ทรงยินดีแล้วตลอด ๒๐ ปี มิได้ทำอัชฌาจาร (ความประพฤติล่วงละเมิด) เห็นปานนี้ (ให้เกิดขึ้นเลย).
     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอัชฌาจารนั้นนั่นเอง จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ประคองจิตของเราให้ยินดีแล้วหนอ.

     คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่ทรงเล็งเห็นอัชฌาจาร (ความประพฤติล่วงละเมิดเช่นนั้นของภิกษุทั้งหลาย) จึงมิได้ทรงบัญญัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส แต่ได้ทรงบัญญัติกองอาบัติเล็กน้อย ที่เหลือไว้เพียง ๕ กองเท่านั้น ในเพราะเรื่องนั้นๆ
      เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า เพราะสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติไว้.


       :25: :25: :25: :25:

      บทว่า อนาทีนวทสฺโส ความว่า ท่านสุทินน์ เมื่อไม่เล็งเห็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงบัญญัติสิกขาบทชี้โทษไว้ในบัดนี้ จึงเป็นผู้มีความสำคัญ (ในการเสพเมถุนธรรมนั้น) ว่าไม่มีโทษ.
     จริงอยู่ ถ้าท่านพระสุทินน์นี้พึงรู้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ หรือว่า สิ่งที่ทำนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อมูลเฉท ดังนี้ไซร้, กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา แม้จะถึงความสิ้นชีวิตไป อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุก็จะไม่พึงทำ, แต่ท่านเมื่อไม่เล็งเห็นโทษในการเสพเมถุนธรรมนี้ จึงได้เป็นผู้มีความสำคัญว่า ไม่มีโทษ.
     เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้มีความเห็นว่าไม่มีโทษ.


      st12 st12 st12 st12
   
     บทว่า ปุราณทุติยิกาย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ.
     บทว่า อภิวิญฺญาเปสิ คือ ให้เป็นไปแล้ว.
     จริงอยู่ แม้การให้เป็นไป ท่านเรียกว่า วิญฺญาปนา เพราะยังกายวิญญัติให้เคลื่อนไหว. ก็ท่านพระสุทินน์นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ทำการยังกายวิญญัติให้เคลื่อนไหวถึง ๓ ครั้ง เพื่อความตกลงใจจะให้ตั้งครรภ์.

     หลายบทว่า สา เตน คพฺภํ คณฺหิ ความว่า แม้ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นั้น ก็ตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจารนั้นนั่นเอง หาได้ตั้งครรภ์โดยประการอื่นไม่.





เหตุที่ให้สตรีตั้งครรภ์มี ๗ อย่าง
 
           
     ถามว่า ก็การตั้งครรภ์ย่อมมีได้ แม้โดยประการอย่างอื่นหรือ.?
     แก้ว่า ย่อมมีได้.
     ถามว่า ย่อมมีได้อย่างไร.?
     แก้ว่า ย่อมมีได้ (เพราะเหตุ ๗ อย่างคือ)
         เพราะการเคล้าคลึงกาย ๑
         เพราะการจับผ้า (นุ่งห่ม) ๑
         เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ๑
         เพราะการลูบคลำสะดือ (ของสตรี) ๑
         เพราะการจ้องดู (รูป) ๑
         เพราะเสียง ๑
         เพราะกลิ่น ๑.

       ans1 ans1 ans1 ans1

      (1) จริงอยู่ สตรีทั้งหลาย บางพวกเป็นผู้มีความกำหนัดยินดีด้วยฉันทราคะ ในเวลาที่ตนมีระดู แม้เมื่อยินดีการที่บุรุษจับมือ จับช้องผม และการลูบคลำอวัยวะน้อยใหญ่ (ของตน) ย่อมตั้งครรภ์ได้.
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการเคล้าคลึงกาย ด้วยอาการอย่างนี้.


      (2) อนึ่ง นางภิกษุณีผู้เป็นภรรยาเก่าของพระอุทายีเถระ เอาปากอมน้ำอสุจินั้นไว้ส่วนหนึ่ง ใส่อีกส่วนหนึ่งเข้าในองคชาตรวมกับผ้านั่นเอง. นางก็ตั้งครรภ์ได้เพราะเหตุนั้น.(๑-)
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการจับผ้า(นุ่งห่ม) ด้วยอาการอย่างนี้.


      (3) แม่เนื้อ ผู้เป็นมารดาของมิคสิงคดาบส ได้มายังสถานที่ถ่ายปัสสาวะของดาบส ในเวลาที่ตนมีระดู แล้วได้ดื่มน้ำปัสสาวะ ซึ่งมีน้ำสมภพเจือปนอยู่. แม่เนื้อนั้นก็ตั้งครรภ์ แล้วออกลูกเป็นมิคสิงคดาบส เพราะเหตุที่ตนดื่มน้ำปัสสาวะนั้น.(๒-)
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการดื่มน้ำอสุจิ ด้วยอาการอย่างนี้.


      (4) อนึ่ง ท้าวสักกะทรงทราบข้อที่มารดาบิดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์ เสียจักษุ มีพระประสงค์จะประทานบุตร (แก่ท่านทั้งสองนั้น) จึงทรงรับสั่งกะทุกุลบัณฑิต (ผู้เป็นบิดาของพระสามดาบสโพธิสัตว์นั้น) ว่า เมถุนธรรมควรแก่ท่านทั้งสองหรือ.?
      ทุกุลกบัณฑิตทูลว่า อาตมภาพทั้งสองบวชเป็นฤษีแล้ว ไม่มีความต้องการ ด้วยเมถุนธรรมนั่น.
      ท้าวสักกะทรงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่นางปาริกาตาปสินีนี้มีระดู ท่านพึงเอานิ้วมือลูบคลำสะดือ (ของนาง) เถิด.
      ทุกุลกบัณฑิตนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. นางปาริกาตาปสินีนั้นก็ตั้งครรภ์ แล้วคลอดทารกชื่อสามดาบส เพราะเหตุที่ลูบคลำสะดือนั้น.(๓-)
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการลูบคลำสะดือ ด้วยอาการอย่างนี้.
      โดยนัยนี้นั่นแล ควรทราบเรื่องมัณฑัพยมาณพ(๔-) และเรื่องพระเจ้าจัณฑปัชโชต.


      (5) ถามว่า การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการจ้องดู (รูป) อย่างไร.?
      แก้ว่า สตรีบางพวกในโลกนี้ ในเวลาที่ตนมีระดู เมื่อไม่ได้การเคล้าคลึงกับชาย จึงเข้าไปในเรือน จ้องดูชายด้วยอำนาจความกำหนัดพอใจ (แล้วก็ตั้งครรภ์) เหมือนนางสนมชาววัง ฉะนั้น.
      นางย่อมตั้งครรภ์ เพราะการจ้องดูชายนั้น.
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการจ้องดูรูป ด้วยอาการอย่างนี้.


     (6) อนึ่ง บรรดานกตระกรุมทั้งหลาย (นกยาง) ชื่อว่านกตระกรุมตัวผู้ย่อมไม่มี. นางนกตระกรุมเหล่านั้น ในเวลาที่ตนมีระดู ครั้นได้ฟังเสียงเมฆ (คำราม) แล้ว ย่อมตั้งครรภ์
      ถึงแม่ไก่ทั้งหลายจะมากตัวก็ตาม ในกาลบางครั้ง ครั้นได้ฟังเสียงไก่ผู้ตัวเดียว (ขัน) ก็ย่อมตั้งครรภ์ได้.
      ถึงแม่โคทั้งหลาย ครั้นได้ฟังเสียงโคอุสภะ (โคตัวผู้) แล้ว ก็ย่อมตั้งครรภ์เหมือนอย่างนั้น.
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะเสียง ด้วยอาการอย่างนี้.


      (7) อนึ่ง แม่โคทั้งหลายนั่นเอง ในกาลบางครั้ง ย่อมตั้งครรภ์ได้เพราะกลิ่นของโคตัวผู้,
      การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะกลิ่น ด้วยอาการอย่างนี้.


       :96: :96: :96: :96: :96: :96:

      ส่วนในเรื่องนี้ ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นี้ ย่อมตั้งครรภ์เพราะอัชฌาจาร ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า
           มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๑
           มารดามีระดู ๑
           สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ปรากฏ ๑,
      เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ จึงมีได้.(๕-)

____________________________
(๑-) วิ. มหา. เล่ม ๒/ข้อ ๔๒   
(๒-) ชาตกัฏฐกถา. ๘/๑, ๗/๓๙๖.
(๓-) นัยชาตกัฏฐกถา. ๙/๑๒๓-๔.   
(๔-) ชาตกัฏฐกถา. ๗/๕-๖.
(๕-) ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๔๕๒. ปปัญจสูทนี. ๒/๔๑๗-๘.

อ้างอิง :-
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปาราชิกกัณฑ์ ปฐมปาราชิกสิกขาบท
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=10&p=2
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=01&A=316&Z=670
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ภิกษุณีผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แม้ไม่เสพเมถุน ก็ตั้งครรภ์ได้
(เรื่องพระอุทายี)

     [๔๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ปุราณาทุติยิกาของท่านพระอุทายี บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักท่านพระอุทายีเสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้นเสมอ และบางครั้งก็ฉันอาหารอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้น.

     เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปหาภิกษุณีนั้นถึงสำนัก ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าภิกษุณีนั้น แม้ภิกษุณีนั้นก็นั่งบนอาสนะ เปิดองค์กำเนิดเบื้องหน้าท่านพระอุทายี ท่านพระอุทายีมีความกำหนัด ได้เพ่งดูองค์กำเนิดของนาง อสุจิได้เคลื่อนจากองค์กำเนิดของท่านพระอุทายี

     ท่านพระอุทายีได้พูดกะนางว่า ดูกรน้องหญิง เธอจงไปหาน้ำมา ฉันจะซักผ้าอันตรวาสก
     นางบอกว่า ส่งมาเถิดเจ้าข้า ดิฉันเองจักซักถวาย.
    ครั้นแล้วนางได้ดูดอสุจินั้นของท่านส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งได้สอดเข้าไปในองค์กำเนิด นางได้ตั้งครรภ์เพราะเหตุนั้นแล้ว.


      :96: :96: :96: :96: :96:

     ภิกษุณีทั้งหลายได้พูดกันอย่างนี้ว่า ภิกษุณีรูปนี้มิใช่พรหมจารินี ภิกษุณีรูปนี้จึงมีครรภ์.
     นางพูดว่า แม่เจ้า ดิฉันมิใช่พรหมจารินีก็หาไม่ ครั้นแล้วนางได้แจ้งความนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย.

     ภิกษุณีทั้งหลาย พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วแจ้งความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.
     บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ให้ภิกษุณีซักจีวรเก่าเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค...ฯลฯ....

______________________________   
ปุราณาทุติยิกา คือ ภรรยาเก่า
พรหมจาริณี คือ หญิงผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ข้องแวะเรื่องเพศสัมพันธ์เด็ดขาด


อ้างอิง :-
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ (เรื่องพระอุทายี)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=2&item=42
ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=42
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2015, 09:10:14 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ