ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พลิกโฉมแหล่งเรียนรู้พุทธศาสนาโลก ‘พุทธมณฑลเซ็นเตอร์พอยท์’  (อ่าน 930 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พลิกโฉมแหล่งเรียนรู้พุทธศาสนาโลก ‘พุทธมณฑลเซ็นเตอร์พอยท์’

มส.พลิกโฉมพุทธมณฑลครั้งประวัติศาสตร์ จำลองสังเวชนียสถาน 4 หวังเป็นแหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนาของโลก 'พุทธมณฑลเซ็นเตอร์พอยท์' ให้ทุกคนได้ศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา

ช่วงก่อนเข้าพรรษาได้มีโอกาสไปเยือน กรุงเนปิดอว์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พร้อมกับคณะของ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์(สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ในการศึกษาการสร้างสังเวชนียสถาน 4 ตำบลของเมียนมา เพื่อเป็นแนวทางจัดสร้างยังพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ในประเทศไทย


 :25: :25: :25: :25:

กรุงเนปิดอว์ เมืองจะโอบล้อมด้วยภูเขา สลับที่ราบสูง ซึ่งสถานที่แรกที่คณะเดินทางไปศึกษา คือ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่เมียนมาได้จำลองมาเหมือนทุกกระเบียดนิ้ว แต่ต่างกันที่บริเวณภายในของพุทธคยาอินเดียจะมีห้องที่เล็กกว่าของที่เมียนมา และที่เมียนมายังมีห้องนิทรรศการแสดงภาพถ่ายพุทธคยาสถานที่จริงจากประเทศอินเดียด้วย

ส่วนการจัดวางสังเวชนียสถาน 4 ตำบลของเมียนมา นั้น ลดหลั่นตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา มีระยะห่างที่เหมาะสมในการเดินทางจากอีกจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง คล้ายกับที่อินเดีย ซึ่งไม่ไกลกันมากนัก จากพุทธคยาได้เดินทางต่อไปยัง สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งเมียนมาได้จำลองรูปทรงทั้งหมดมา แต่สีจะมีความใหม่ และภายในเป็นห้องโถง ซึ่งต่างจากที่อินเดียที่ไม่สามารถเข้าไปภายในได้

 st12 st12 st12 st12

จากนั้นทางคณะได้ลัดเลาะไปตามไหล่เขาขึ้นไปยังบริเวณ กุสินารา สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งสามารถจำลองได้สมบูรณ์แบบ ที่สำคัญพระพุทธรูปประทับนอนนั้น ทางเมียนมาได้แกะสลักจากหินหยกขาวบริสุทธิ์มีพุทธลักษณะที่เหมือนกับกุสินาราประเทศอินเดียที่สุด และสังเวชนียสถานแห่งสุดท้ายที่ไปศึกษา คือ ลุมพินีวัน เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยเมียนมาจำลองมาทั้งหมด ทั้งวิหารมายาเทวี สระสรงสนาน รวมถึงเสาพระเจ้าอโศก แต่ที่นี่จะมีลักษณะพิเศษกว่า คือ มีม้ากัณฐกะ อยู่บนยอดเสาด้วย

หลังจากที่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ได้ศึกษารูปแบบการจัดสร้างสังเวชนียสถานของเมียนมาแล้ว ยังได้เข้าหารือกับทีมผู้จัดสร้าง ทำให้ทราบข้อมูลที่น่าสนใจว่า รัฐบาลเมียนมา มีความศรัทธาและให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ถึง 8,500 ล้านบาท และดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ภายในเวลาประมาณ 2 ปี ที่สำคัญชาวเมียนมาต่างรู้สึกภูมิใจ และได้เดินทางมาสักการะสังเวชนียสถานทั้ง 4 กันเป็นจำนวนมากด้วย



“อาตมาจะนำแนวทางที่ได้จากการมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มาเป็นต้นแบบการจัดสร้างสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่พุทธมณฑล ประเทศไทย โดยในเบื้องต้นวางแผนไว้ว่า จะจัดสร้างเท่าของจริงที่อยู่ในอินเดียและเนปาล พร้อมสร้างโซนองค์ความรู้ตั้งแต่ พุทธประวัติ หลักคำสอน พุทธพจน์ วิธีการปฏิบัติ ที่เข้าใจง่าย ผสมผสานกับสื่อสมัยใหม่ ภายในสังเวชนียสถานทั้ง 4 ตำบล เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาแบบครบวงจร เหมาะสมกับการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ส่วนระยะเวลาในการจัดสร้างนั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณของรัฐบาลไทยที่จะจัดสรรมาให้อาจจะ 2 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี”


 ans1 ans1 ans1 ans1

ด้าน พระธีระพันธุ์ ธีรโพธิ หรือ พระอาจารย์กวง ลอไพบูลย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาพุทธมณฑล เล่าถึงแผนพัฒนาพุทธมณฑลว่า สมเด็จพระพุทธชินวงศ์มีดำริว่า จะทำอย่างไรให้พุทธมณฑลเป็นแหล่งเรียนรู้ พุทธศาสนาครบวงจร ทั้งพุทธประวัติ รวมถึงหลักธรรมคำสอน วิปัสสนากรรมฐาน แหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญจะต้องให้พุทธศาสนิกชนอยากมาที่นี่ และต้องให้พุทธมณฑลเลี้ยงตัวเองได้ด้วย

ดังนั้น แผนพัฒนาพุทธมณฑล จะมีความร่วมสมัย โดยจะแบ่งโซนการพัฒนาทั้งหมด 18 โซน ในพื้นที่ 2,500 ไร่ 4 ล้านตารางเมตร เช่น
    โซน 1 พุทธมณฑลเซ็นเตอร์พอยท์ จุดต้อนรับให้ความรู้ จำหน่ายของที่ระลึกแก่ผู้มาเยือน
    โซน 2 อาคารสัมมาทัศนคติ
    โซน 3 พุทธรัตนอุทยาน พุทธธรรมในสังเวชนียสถาน
    โซน 4 ธรรมรัตนอุทยาน ธรรมะจากพระสูตร
    โซน 5 สังฆรัตนอุทยาน
    โซน 6 อาคารศูนย์รวมศรัทธาไทย
    โซน 7 พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
    โซน 8 ศูนย์พระพุทธศาสนานานาชาติ
    โซน 9 ศูนย์ปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐาน
    โซน 10 ตลาดน้ำ
    โซน 11 ราชทิพยอุทยาน เป็นต้น

 st11 st11 st11 st11

“การพัฒนาครั้งนี้จะพลิกโฉมพุทธมณฑลครั้งประวัติศาสตร์ โดยจะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนาของโลก หรือเรียกว่า พุทธมณฑลเซ็นเตอร์พอยท์ ที่จะไม่มีเพียงผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ต่อไปจะมีคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น อยากที่จะมาศึกษาเรียนรู้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นศูนย์กลางการฝึกวิปัสสนากรรมฐานให้แก่พุทธศาสนิกชนทุกวัยในการเน้นหลักธรรมสู่การปฏิบัติ” พระอาจารย์กวงกล่าว

ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างของแผนพัฒนาพุทธมณฑลศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ให้เป็นแหล่งเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจและแหล่งเรียนรู้ชาวพุทธทั่วโลกอีกครั้ง.


มนตรี ประทุม


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/342201
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2015, 12:18:51 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ