ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "กระแสน้ำแห่งกิเลส" ที่ท่วมทับใจสัตว์โลก..ให้จมอยู่ในความต่ำทราม  (อ่าน 2668 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

ความรู้ที่แท้จริง
ธรรมะยูเทิร์น โดย อิทธิโชโต

     สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
     อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ

     ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
     ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก
....พุทธพจน์

คนเราเมื่อความรู้ไม่มี ก็ไม่รู้จักวิธีจะประพฤติปฏิบัติตน ในเมื่อไม่รู้วิธีประพฤติปฏิบัติตน จะรู้จักทางเดินได้อย่างไร  แล้วความรู้ที่แท้จริงเป็นอย่างไร

เรามาดู ความหมายของคำว่า โอฆะ กันก่อนในพุทธพจน์นี้
หลักสูตร ‘ธรรมศึกษา’ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนนักธรรมสำหรับฆราวาส อธิบายไว้ว่า

โอฆะ หมายถึง กระแสน้ำแห่งกิเลสที่ท่วมทับใจสัตว์โลกให้จมอยู่ในความต่ำทราม เป็นกระแสกิเลสที่ท่วมทับใจสัตว์โลกให้หลงติดอยู่ในภพ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกระแสนั้นอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ทำให้จมอยู่ในความเป็นปุถุชน ไม่อาจเลื่อนขั้นขึ้นเป็นกัลยาณชน และโดยสูงสุดไม่อาจเป็นพระอริยบุคคลได้ มี ๔ ประเภท คือ


       :25: :25: :25: :25:

      ๑. กาโมฆะ โอฆะ คือ กาม หมายถึง กระแสน้ำแห่งกิเลสที่ท่วมทับใจสัตว์ให้จมอยู่ในห้วงแห่งกามคุณ เป็นเหตุให้อยากได้ในสิ่งที่ตนรักใคร่ ต้องการมีไว้ครอบครอง ทำให้ต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งนั้นมาสนองตอบความอยากของตนอย่างไม่มีสิ้นสุด

      ๒.ภโวฆะ โอฆะ คือ ภพ หมายถึง กระแสน้ำแห่งกิเลสที่ท่วมทับใจสัตว์ให้จมอยู่ในห้วงแห่งภพ คือ ความยินดีในอัตภาพของตน ในความเป็นนั่นเป็นนี่อย่างที่ใจตนเองนึกคิดอยากให้เป็น เป็นเหตุให้อยากเป็นอยู่ อยากเกิดในภพที่ตนปรารถนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

     ๓.ทิฏโฐฆะ โอฆะ คือ ทิฐิ หมายถึง กระแสน้ำแห่งกิเลสที่ท่วมทับใจสัตว์ให้จมอยู่ในห้วงแห่งความเห็นผิดจากคลองธรรม เป็นผู้มีความเห็นเป็นมิจฉาทิฐิ ๑๐ อย่าง เช่น เห็นว่าการให้ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล เป็นต้น เป็นเหตุให้ปฏิเสธเรื่องบาปบุญคุณโทษ สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง และ

     ๔. อวิชโชฆะ โอฆะ คือ อวิชชา หมายถึง กระแสน้ำแห่งกิเลสที่ท่วมทับใจสัตว์ให้จมอยู่ในห้วงแห่งความหลง ความโง่เขลาเป็นเหตุให้ไม่รู้เหตุหรือผลตามความเป็นจริง แต่เกิดความรู้ในสิ่งทั้งหลายตามที่ตนคิดว่ามันเป็นอย่างนั้น หรือตนกำหนดให้มันเป็นไปอย่างนั้น กล่าวโดยสูงสุดคือความไม่รู้ในลักษณะ ๘ ประการ ได้แก่ ไม่รู้ในทุกข์, ไม่รู้ในเหตุเกิดทุกข์, ไม่รู้ความดับทุกข์, ไม่รู้วิธีการที่จะดับทุกข์, ไม่รู้อดีต, ไม่รู้อนาคต, ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต, ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท


      ans1 ans1 ans1 ans1

     ดังนั้นความรู้ที่แท้จริงก็คือ รู้ในเรื่องของทุกข์, รู้ในเหตุของการเกิดทุกข์ รู้ว่าความดับทุกข์นั้นเป็นไปได้ และรู้วิธีการที่จะดับทุกข์ นั่นก็คือ อริยสัจสี่ นั่นเอง 
   
     ในความหมายของคำว่า ‘โอฆะ’ เพียงสองพยางค์ ก็กินความมหาศาล ทำให้เราพบว่า จะต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะเข้าถึงทางดับทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว  ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก ดังนี้


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20151005/214511.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :s_hi:

         เยี่ยมๆ  ครับพี่.....อ่านหัวข้อกระทู้....แล้ว อรรถรส    มันมีรสชาติ

          .........ได้รับรส    ด้าน  ธรรมมารมณ์ เลย
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา