ชาวลาวที่เข้ามาอยู่ในไทยสมัยกรุงธนบุรีปัจจุบันอยู่ที่ไหน.? : Check in ถิ่นสยาม (ชมคลิป)
เช็คอินถิ่นสยามวันนี้ ไปกันที่หมู่บ้านลาว บางไส้ไก่ ชุมชนชาวลาวเก่าแก่ย่านฝั่งธนบุรี ที่มีอายุยาวนานกว่า 200 ปี
เหตุที่ชุมชนแห่งนี้ถูกเรียกว่า "บ้านลาว" เนื่องจากบรรพบุรุษของคนในชุมชนเป็นเฉลยศึกชาวลาว ที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทางการไทยในสมัยนั้นจึงได้จัดพื้นที่บริเวณคลองบางไส้ไก่แห่งนี้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้พวกเขา จึงเกิดเป็นชุมชนบ้านลาว บางไส้ไก่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันสิ่งหนึ่งที่ชาวลาวนำติดตัวมายังเมืองสยามนี้ด้วย ก็คือความรู้ในการทำขลุ่ยและแคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของพวกเขาจนกลายมาเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สืบทอดกันในชุมชน และชื่อของ "ขลุ่ยบ้านลาว" ก็เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าเป็นแหล่งผลิตขลุ่ยคุณภาพแห่งหนึ่งเลยทีเดียวบ้านกลิ่นบุปผา บ้านคนทำขลุ่ยเชื้อสายลาวเวียงจันทร์ ที่สืบทอดอาชีพทำขลุ่ยมายาวนาน ถึง 4 รุ่น ซึ่งแต่ก่อนก็จะใช้วิธีเทตะกั่วร้อนลงบนผิวขลุ่ยให้เกิดลวดลาย ซึ่งจะได้ลายที่สวยงามมาก แต่น่าเสียดายที่นั้นปัจจุบันหาช่างทำไม่ได้แล้ว เนื่องจากการทำลายขลุ่ยด้วยการเทตะกั่วนั้นจะต้องใช้ความอดทนและความชำนาญเป็นอย่างมาก อีกทั้งตะกั่วยังส่งผลต่อสุขภาพของผู้ทำและชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย
นอกจากนี้ ที่ชุมชนยังมีกำแพงภาพซึ่งเป็นภาพงานชิ้นโบว์แดงที่ชาวชุมชนบ้านลาวบางไส้ไก่ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาตั้งใจทำขึ้นกำแพงแห่งนี้แสดงภาพวาดสาธิตวิธีการทำลายขลุ่ยจากตะกั่วเหลวและลวดลายของขลุ่ยที่เกิดจากการเทตะกั่ว ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน เพื่อบันทึกสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์และความภาคภูมิใจของชาวชุมชนคนทำขลุ่ยให้ลูกหลานในชุมชนและผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป
เมื่อชาวพุทธอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่จะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นศูนย์กลางของคนในชุมชนก็คือวัด และที่ต่อไปที่จะไปเช็คอินนั่นก็คือวัดบางไส้ไก่วัดคู่บุญของชาวชุมชนแห่งนี้วัดบางไส้ไก่ วัดเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนในชุมชนบ้านลาวมายาวนาน โดยวัดแห่งนี้ชาวชุมชนจะเรียกติดปากกันว่าวัดลาว เพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับชุมชนบ้านลาว โดยชาวลาวที่อพยพเข้ามาได้ร่วมใจกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญบุญกุศลและเป็นที่พึ่งทางจิตใจ เมื่อสร้างเสร็จก็ขนานนามว่า "วัดลาว" ต่อมาทางราชการได้ตั้งชื่อว่า "วัดบางไส้ไก่"
แต่วัดหลังปัจจุบันนี้ ไม่ใช้วัดหลังเก่าที่สร้างขึ้นแต่เดิม เนื่องจากวัดเก่าเสื่อมโทรมลงตากาลเวลา ทำให้มีการปฏิบูรณะและการรื้อสร้างใหม่ จนทำให้ภาพจิตรกรรมเก่า ๆ ในวัดเลือนหายหายไปชมคลิปได้ที่
https://youtu.be/tYA5WLFDbUYขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446808445