โพชฌงค์ ลำดับที่ ๑ คือ สติ
สติ จัดเป็นธรรม กลาง ๆ เพราะ เมื่อมี สติ ก็จะมี อเบกขา เวลาที่จิตรับรู้อะไร ไม่ว่า จะเป็นเรื่อง บวก หรือ เรื่อง ลบ ธรรมที่สติ จะผลให้ในที่สุด ก็คือ อุเบกขา เป็นการวางเฉย ระดับที่ 1 เพื่อไม่ให้จิตเร่าร้อน กับเรื่องที่ลบ และ เรื่องที่บวก เป็นสภาวะ ปกติของพระโยคาวจร ที่ควรจะได้ก่อน เป็นอันดับแรก สิ่งที่พระโยคาวจร จะต้องคือความยินดี และ ความยินร้าย อันมีอารมณ์เป็นตัวนำ ดังนั้น สติ เป็น ธรรมพัฒนา วิวัฒนาไปสู่ อุเบกขา พื้นฐาน
โพชฌงค์ ลำดับที่ ๒ ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัยเลือกเฟ้นธรรม
ธัมมะวิจยะ จัดเป็นธรรม ที่ให้ผล คือ ความรู้สึกต่อกุศล ฝ่ายบวก ในจิตของมนุษย์ แม้มีสติอยู่ แต่ ธรรมก็ปรากฏสองฝ่าย คือ ฝ่ายดำ ที่เรียกว่า อกุศล ฝ่ายขาว ที่เรียกว่า กุศล ตัว ธัมมะวิจยะให้ผล คือ สัมมปชัญญะ นั่นเป็นเพราะว่า สัมปชัญญะ คือการรู้สึกตัว ทั่วพร้อม ต่อสภาวะธรรม ที่เป็นฝ่ายบวก ดังนั้น ธัมมะวิจยะ ไม่ใช่เราเป็นผู้เลือก แต่ สัมปชัญญะ เป็นผู้เลือก ธรรม อันเหมาะสมเรียกว่า ธรรมฝ่ายกุศล เพราะการไปสู่ธรรมขั้นสูงอาศัย ธรรมที่เป็นฝ่ายขาว ฝ่ายดำ ทำไม่ได้ ดังนั้น ธัมมะวิจยะ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ สัมปชัญญะ สมูรณ์ ถ้าเป็นการฝึกโพชฌงค์ 7 โดยตรง
ธัมมะวิจยะ ที่ ถูกเลือกขึ้นมาก็คือ วิตก วิจาร สองประการ
ในที่นี้หมายถึง ฐานแห่งจิต และ คำบริกรรม ผลของธัมมะวิจยะ ก็คือ ปราโมทย์ และ ฉันทะ อันประกอบระคนอยู่ด้วย สมาธิ ดังนั้น จึงเรียกว่า ความยินดีในสมาธิ ความรักพอใจในสมาธิ ถ้ามีตัวนี้อยู่ แสดงว่า ธัมมะวิจยะ มาถูกทางแล้ว นั่นเอง
โพชฌงค์ ลำดับที่ ๓ วิริยะ ความเพียร ก็ได้แก่
อารัมภธาตุ ธาตุคือความริเริ่ม
นิคมธาตุ ธาตุคือความเริ่ม ธาตุคือความดำเนินไป
ปรักมธาตุ ธาตุคือความดำเนินให้ก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด
ธาตุ ทั้ง ตัวรวมเรียกว่า ที่ตั้งแห่งสมาธิ ประกอบด้วย 3 อย่างคือ
ปัคคาหะนิมิตร บริกรรมนิมิตร อุเบกขานิมิตร
โพชฌงค์ ลำดับที่ ๔ ปีติ ตรัสแสดงว่าได้แก่ธรรมะที่เป็นที่ตั้งของปีติ
โพชฌงค์ ลำดับที่ ๕ ปัสสัทธิ ตรัสแสดงว่าได้แก่กายปัสสัทธิสงบกาย ปัสสัทธิสงบใจ
โพชฌงค์ ลำดับที่ ๖ สมาธิ ตรัสแสดงว่าได้แก่สมาธินิมิต นิมิตคือเครื่องกำหนดหมายแห่งสมาธิ และ อัพยฆะ อันได้แก่ความที่จิตไม่แตกแยกแบ่งแยก แต่มียอดเป็นอันเดียวไม่หลายยอด คือไม่แตกยอดมาก ก็คือจิตที่รวมเป็นหนึ่ง
โพชฌงค์ ลำดับที่ ๗ อุเบกขา ตรัสแสดงว่าธรรมะที่เป็นที่ตั้งของอุเบกขา