ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เต้าเต๋อ-วิถีแห่งคุณธรรม  (อ่าน 747 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เต้าเต๋อ-วิถีแห่งคุณธรรม
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2015, 08:15:59 am »
0



เต้าเต๋อ-วิถีแห่งคุณธรรม
โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร

ลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ทรงบันทึกการสนทนาธรรมกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏในหนังสือ "บวรธรรมบพิตร" อันเป็นหนังสือที่ระลึกในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558 นั้น

ตอนหนึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงบันทึกไว้ว่า "ตามที่ได้ฟัง ได้ยินแต่เสียงชื่นชมในพระบารมี" เป็นการชื่นชมพระบารมี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่าให้ฟังถึง "การปฏิบัติพระองค์" โดยรับสั่งว่า "การปฏิบัติพระองค์ให้เหมาะเป็นการยาก ต้องทำ 2 อย่างพร้อมๆ กัน อย่างหนึ่งต้องให้มีภาคภูมิ อีกอย่างหนึ่งต้องให้สุภาพมิให้เป็นหยิ่ง หรือที่เรียกกันว่าเบ่ง และในสมัยประชาธิปไตยก็ต้องให้เหมาะสม เข้ากันได้กับประชาชน"

หรือที่ทรงเล่าอีกว่า "เมื่อคราวเสด็จฯภาคอีสาน วันหนึ่งเหนื่อยมาก หน้าบึ้ง กลับที่พักแล้วนึกขึ้นได้ว่าราษฎรได้มีโอกาสเห็นเราเพียงครั้งเดียว ให้เขาเห็นหน้าบึ้งไม่ดี ต่อจากนั้น ถึงจะเหนื่อยมากก็ต้องพยายามไม่ทำหน้าบึ้ง ต้องทำชื่นบาน" นี่กระมังที่ทำให้สมเด็จพระสังฆราช เมื่อฟัง "การปฏิบัติพระองค์" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล่าให้ฟังแล้ว จึงทรงบันทึกว่า "ได้ยินแต่เสียงชื่นชมในพระบารมี" ชื่นชมกับการวางพระองค์ ที่ทรงคำนึงถึงความรู้สึกปวงประชาราษฎร์อย่างยิ่ง


 ans1 ans1 ans1 ans1

ใน "มติชนสุดสัปดาห์" ฉบับล่าสุด ในคอลัมน์ "เงาตะวันออก" ของอาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงแนวทางการปกครองสมัยโบราณของจีน นำเสนอโดยสำนักเต้าจวงจื่อ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข้างบน แต่เป็นแนวทางปกครองแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยยึดแนวทาง "กำมะหยี่" โดยสำนักเต้าจวงจื่อให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า อู๋เหวย (อกรรม) อันมีความหมายว่า ไม่ทำ ไร้การกระทำ หรือตามนัยของสำนักนี้คือ ทำโดยมิได้ทำ ถ้าจะปกครองให้ดีก็ควรเป็นการปกครองโดยมิต้องปกครอง

สำนักนี้ระบุว่า "คุณธรรมแห่งอภิราชันถือฟ้าดินเป็นบรรพชน ถือวิถีแห่งคุณธรรม (เต้าเต๋อ) เป็นนาย ถืออกรรม (อู๋เหวย) เป็นหลักอันมิอาจเปลี่ยนแปลง ด้วยอกรรมจักทำให้โลกมารับใช้จนได้พักผ่อน แต่ด้วยการกระทำ (โหย่วเหวย) มีแต่จักต้องปฏิบัติงานเพื่อโลกจนมิได้พัก เหตุนี้ ผองชนแต่โบราณกาลจึงยกย่องอกรรม

เหตุดังนั้น หากองค์รัฏฐาธิปัตย์ดำรงอกรรม อาณาประชาราษฎร์ก็ย่อมดำรงอกรรมเฉกเช่นกัน ดังนี้แล้ว อาณาประชาราษฎร์กับองค์รัฏฐาธิปัตย์ก็จักร่วมคุณธรรมเดียวกัน เมื่ออาณาประชาราษฎร์กับองค์รัฏฐาธิปัตย์ร่วมคุณธรรมเดียวกัน ก็ดุจดังไร้ผู้เป็นขุนนางและราษฎร แต่หากอาณาประชาราษฎร์กับองค์รัฏฐาธิปัตย์ร่วมดำรงการกระทำ (โหย่วเหวย) ทั้งอาณาประชาราษฎร์และองค์รัฏฐาธิปัตย์ก็จักอยู่ในมรรควิธีเดียวกัน หากอาณาประชาราษฎร์กับองค์รัฏฐาธิปัตย์ร่วมอยู่ในมรรควิธีเดียวกัน ก็จักไม่มีผู้ใดเป็นอภิราชัน


 :96: :96: :96: :96:

อาจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล อธิบายความหมายให้เข้าใจโดยง่ายของอู๋เหวย ก็คือ หากผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองเข้าถึงฟ้าดิน (ธรรมชาติ) ก็จะเข้าถึงคุณธรรม เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะไม่มีฝ่ายใดที่จะประพฤติไม่ดี และเมื่อไม่มีแล้วก็ไม่จำเป็นที่ต้องตรากฎหมาย กฎเกณฑ์ หรือกฎระเบียบมาปกครอง คือการปกครองโดยมิต้องปกครอง

คำคำนี้เราต่างคุ้นเคยกันดี ซึ่งแม้จะเป็นอุดมคติที่ถึงยาก แต่หากผู้ปกครองไม่หมกมุ่นกับการใช้อำนาจจนเกินไป ควรจะเอาใจใส่แนวทางนี้ อันจะทำให้ "ผองชน" เป็นสุข มากกว่าใช้ "อำนาจ" ปกครองเพียงอย่างเดียว



คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12/มติชนรายวัน 20 ธ.ค.2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1450599757
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ