ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้เชี่ยวชาญ จัดอันดับให้ ความเกียจคร้าน เป็นโรคชนิดหนึ่ง  (อ่าน 2485 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ผู้เชี่ยวชาญพากันให้ความเห็นว่า ความเกียจคร้านโดยตัวเอง ก็น่าจะจัดชั้นให้เป็นโรคอย่างหนึ่งได้

สอง แพทย์ผู้มีชื่อเสียงของอังกฤษ หมอริชาร์ด เวลเลอร์ และหมอเอมมานวลล์ สตามาตาคิส กล่าวว่า โดยพิจารณาจากอัตราภาวะการตายและภาวะการเจ็บป่วย เราเห็นว่าบางทีการไม่ออกกำลัง โดยตัวของมันเองควรจะถือได้ว่าเท่ากับเป็นโรค"

หมอเวลเลอร์ ผู้เป็นนายทะเบียนผู้เชี่ยวชาญในการกีฬา และการออกกำลังของบริการดูแลสุขภาพอิมพีเรียลคอลเลจชี้ว่า องค์การอนามัยโลกยังถือว่าความอ้วนเป็นโรคอย่างหนึ่งไปแล้ว ทั้งๆที่ความจริงความอ้วนเกินอย่างน้อยอาจมีสาเหตุที่ลึกซึ้งกว่านั้น ไม่ใช่แต่ขาดการออกกำลังอย่างเพียงพออย่างเดียว "เราได้ทุ่มเทเงินทองในการรักษาโรคภัยอันเนื่องมาจากการไม่ออกกำลัง ตั้งแต่โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหัวใจ โดยไม่ได้แตะต้องสาเหตุ"

เขาสรุปว่า "จากหลักฐานได้แสดงว่าการขาดความสมบูรณ์แข็งแรง เป็นรากเหง้าของโรคต่างๆยิ่งเสียกว่าความอ้วน".

ที่มา

http://www.thairath.co.th/


 :25:

ความเกียจคร้าน เกิดจากการขาดเป้าหมายในความพยายาม
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ความเกียจคร้าน เป็นโรคของนักภาวนา โดยตรงด้วย

ผู้ภาวนาส่วนใหญ่ ที่ไม่สำเร็จในการปฏิบัติธรรม ก็เพราะเกียจคร้าน

โดยเฉพาะ พระภิกษุ ในบรรพชิตปัจจเวก นั้นข้อแรกเลยกล่าวว่า

   วันคืน ล่วงไป ล่วงไป บัดนี้เรากำลัง ทำอะไรอยู่

   แม้ในข้อสุดท้าย ก็กล่าวว่า

   คุณวิเศษ อันใดได้มีแก่เธอ หรือยัง เธอสามารถกล่าวคุณวิเศษนั้น แก่เพื่อนพรหมจรรย์ได้หรือไม่


   สำหรับการฝึกกรรมฐาน ที่ทำให้ขี้เกียจนั้น เพราะไม่มีอธิษฐาน กรรมฐาน จึงขี้เกียจ

   เพราะไม่กำหนด ปัคคาหะนิมิต จึงขี้เกียจ

   เป็นต้น

    เจริญธรรม

    ;)
   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ