ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘ผาแต้ม’ ถล่ม.! กรมทรัพยากรธรณีเร่งสำรวจ  (อ่าน 1114 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
‘ผาแต้ม’ ถล่ม.! กรมทรัพยากรธรณีเร่งสำรวจ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2016, 08:29:28 am »
0

‘ผาแต้ม’ ถล่ม.! กรมทรัพยากรธรณีเร่งสำรวจ

กรมทรัพยากรธรณี เตรียมส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผาแต้มและหาทางป้องกันการถล่มซ้ำ เหตุหินบริเวณภาพเขียนสี มีลักษณะคล้ายกับหินที่ถล่มลงมา
 
วันที่ 1 ก.พ.59 ความคืบหน้ากรณีผาแต้มถล่มนั้น ล่าสุดนายทศพร นุชอนงค์ รองอธิบดี รักษาการอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จุดที่หน้าผาบริเวณผาแต้มถล่มนั้น อยู่ห่างจากบริเวณภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ 6 กม. ซึ่งเป็นลักษณะชะง่อนหินยื่นออกมาและสาเหตุที่ถล่มลงมานั้นเนื่องจากมีชั้นหินที่ไม่แข็งแรงพังลงมาแต่ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
 
โดยทางกรมทรัพยากรธรณีจะเร่งเข้าไปสำรวจความเสียหายเพื่อหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสำรวจและตรวจสอบอย่างละเอียด แต่คงจะต้องมีการกันไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในบริเวณนั้นเพื่อป้องกันความเสียหาย
 
“จุดที่ถล่ม และจุดบริเวณผาแต้มลักษณะหินมีลักษระคล้ายกัน โอกาสที่ผาแต้มอาจจะเกิดถล่มลงมาก็เป็นไปได้ ตอนนี้กำลังส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ โดยจะต้องตรวจสอบทางวิชาการเพื่อหาทางป้องกันเอาไว้ล่วงหน้า เพราะหินที่บริเวณนั้นเป็นหินที่ไม่แข็งแรงเมื่อเจอน้ำฝน เจอสภาพอากาศและทำให้หินอ่อนตัวลงได้และในที่สุดก็พังลงมาตามกาลเวลา” นายทศพร กล่าว


 :91: :91: :91: :91: :91:

หน.อุทยานผาแต้มหวั่นหน้าผาหินถล่มอาจส่งผลกับภาพเขียนสี
 
นายนครินทร์ สุทัตโต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม กล่าวว่า เดือนต.ค.2558 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มสังเกตเห็นความผุกล่อนของชั้นหินดินดานที่แทรกตัวสลับกับชั้นของหินทรายบริเวณภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม โดยเห็นได้ชัดเจนจนส่งผลกระทบถึงชั้นหินทรายที่เกิดการแตกตัวและหลุดล่วงลงเป็นบางส่วน นอกจากนี้ยังเห็นรอยร้าวเกิดใหม่หลายแห่ง จนกังวลว่าจะส่งผลกระทบกับภาพเขียนสีที่กรมศิลปากรได้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ตั้งแต่ปี 2524 โดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่ลงไปชมภาพเขียนอาจได้รับอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ จึงได้ทำหนังสือประสานขอผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยามาร่วมตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงตลอดจนให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา
 
กระทั่งเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.58 เวลาประมาณ 12.00 น.ได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้านท่าล้ง หมู่ 6 ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ว่าเกิดเหตุหน้าผาหินถล่ม ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศเหนือ ประมาณ 1.5 ก.ม. จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบพบบริเวณที่หินถล่มลงมามีขนาดกว้างประมาณ 50 เมตร สูง 40 เมตร และลึก 6 เมตร โดยวันที่ 26 ม.ค.59 นายพิทักษ์ เทียมวงศ์ ผอ.ส่วนธรณีวิทยา สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 (ขอนแก่น) และคณะร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ 11 (อุบลราชธานี) และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติผาแต้มได้เดินทางไปดูจุดที่หน้าผาหินถล่ม และได้ร่วมกันตรวจสอบชั้นหินที่ผุกล่อน รอยแตกร้าวและการหลุดล่วงของหินบริเวณรอบๆ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขในเบื้องต้น และจำเป็นจะต้องให้คณะเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญจากส่วนกลางเข้ามาตรวจสอบอีกครั้ง โดยขณะนี้ได้จัดทำป้ายเตือนระวังหินหล่นนำไปติดในบริเวณจุดเสี่ยงแล้ว


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ผวจ.ลำดับเหตุการณ์ภาพเขียนสีผาแต้มก่อนถล่ม
 
นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.อุบลราชธานี แถลงข่าว เมื่อเวลา 10.00 น. ต่อกรณีที่มีกระแสข่าวว่าผาแต้มถล่มว่า ขอยืนยันว่าภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่บริเวณผาแต้มนั้น ไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีหน้าผาถล่มแต่อย่างไร โดยจุดที่มีการถล่มนั้นอยู่ห่างจากบริเวณที่มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ห่างออกไปประมาณ 6 กิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตามจังหวัดอุบลราชธานี และอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ก็มิได้นิ่งนอนใจ จึงได้เชิญนักธรณีวิทยาและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร มาตรวจสอบและหาแนวทางการป้องกันภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มเอาไว้เนื่องจากคุณลักษณะทางธรณีวิทยาของชั้นหินบริเวณผาแต้มทั้งหมดนั้นมีคุณลักษณะแบบเดียวกันคือ ประกอบด้วยหินดินดานและหินทรายเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราจะได้นำเอาเหตุการณ์นี้มาวางมาตรการเพื่อป้องกันภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้มของพวกเราเอาไว้
 
“ผมขอเรียนสรุปอีกครั้งว่าบริเวณหน้าผาที่ถล่มนั้นมีขนาดความเสียหายดังนี้คือ หน้าผาถล่มมีความยาว 50 เมตร กว้าง 40 เมตรและลึกประมาณ 6 ถึง 10 เมตร จุดที่ถล่มนี้อยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านท่าล้ง ส่วนบริเวณภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มนั้น อยู่บริเวณหมู่บ้านหนองผือน้อยใกล้กับอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จึงไม่มีผลกระทบกับภาพเขียนสีโบราณแต่อย่างใด” นายสมศักดิ์ กล่าว
 
 :32: :32: :32: :32:

พร้อมกันนั้นได้ลำดับเหตุการณ์ และ สรุปกรณีหน้าผาถล่มว่า  เมื่อประมาณเดือนต.ค. 2558 จนท.อช.ผาแต้มสังเกตเห็นความผุกร่อนของชั้นหินดินดานที่แทรกตัวสลับกับชั้นของหินทรายบริเวณภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ที่เห็นได้ชัดเจนจนส่งผลกระทบถึงชั้นหินทรายที่เกิดการแตกตัวและหลุดล่วงลงเป็นบางส่วนและเห็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นใหม่หลายแห่ง ซึ่งอาจส่งผลกระบบกับตัวภาพเขียนสีที่กรมศิลปากรได้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ตั้งแต่ปี 2524 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่ลงไปชมภาพเขียนอาจได้รับอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ จึงได้ทำหนังสือหารือผ่าน สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) เพื่อประสานขอผู้ที่มีองค์ความรู้ด้านธรณีวิทยามาร่วมตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงตลอดจนให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
 
จากนั้น วันที่ 24 ธ.ค. 2558 เวลาประมาณ 12.00 น.ได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้านท่าล้ง หมู่ที่ 6 ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ว่าเกิดเหตุหน้าผาหินถล่ม ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศเหนือ ประมาณ 1.5 ก.ม. จึงนำกำลังเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบพบบริเวณที่หินถล่มลงมามีขนาด กว้างประมาณ 50 เมตร สูง 40 เมตร และลึก 6 เมตร จึงได้ถ่ายภาพและทำรายงานส่งให้สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9(อุบลราชธานี)ทราบ
 
 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

และพอวันที่ 26 ม.ค. 2559 นายพิทักษ์ เทียมวงศ์ ผอ.ส่วนธรณีวิทยา สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต2 (ขอนแก่น)และคณะร่วมกับ จนท.กรมศิลปากรที่ 11 (อุบลราชธานี) และ จนท. อุทยานแห่งชาติผาแต้มร่วมกันตรวจสอบชั้นหินที่ผุกร่อน รอยแตกร้าวและการหลุดล่วงของหินบริเวณรอบๆภาพเขียนสี เพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขในเบื้องต้น และได้เดินทางไปดูจุดที่หน้าผาหินถล่มด้วย โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะรีบนำปัญหา กลับไปรายงานให้ต้นสังกัดทราบและจำเป็นจะต้องให้คณะเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญจากส่วนกลางเข้ามาตรวจสอบอีกครั้ง
 
โดยล่าสุดในเบื้องต้น อุทยานแห่งชาติผาแต้มได้จัดทำป้ายเตือน “ ระวังหินหล่น” ไปติดในบริเวณจุดเสี่ยงแล้ว
 
“ในนามของพี่น้องประชาชนชาวอุบลราชธานีขอขอบคุณในความห่วงใยของทุกท่านครับ หวังว่าทุกท่านจะแวะมาเที่ยวชมภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้มนะครับ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ทั้ง 4 กลุ่มภาพ ยังอยู่ในสภาพปกติครับ”นายสมศักดิ์ กล่าว

 
ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20160201/221610.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ