ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ป.ธ.9 ชี้ชัด ฆราวาสเตือนพระได้  (อ่าน 1110 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ป.ธ.9 ชี้ชัด ฆราวาสเตือนพระได้
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2016, 08:49:45 pm »
0



ป.ธ.9 ชี้ชัด ฆราวาสเตือนพระได้

นายกสมาคมเปรียญธรรม 9 ประโยคย้ำพุทธบริษัท4 ต้องเกื้อกูลกัน หากฆราวาสเห็นภิกษุประพฤติไม่เหมาะสมสามารถตักเตือนได้ แต่ไม่สามารถตัดสินถูกผิด เพราะต้องให้คนที่มีศีลเสมอกันเป็นผู้ตัดสิน

วันนี้(16 ก.พ.)นายรักสยาม นามานุภาพ นายกสมาคมเปรียญธรรม 9 ประโยค กล่าวถึงกรณีมีข้อถกเถียงในสังคมว่าฆราวาสยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของสงฆ์ได้หรือไม่ว่า พระพุทธศาสนาประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ต่างต้องเกื้อกูลกัน เอื้อต่อกันหากฆราวาส เห็นว่า พระสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม ก็สามารถเตือนได้ แต่ต้องทำตามหลักของพระธรรมวินัย ที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติ ถ่วงดุลอำนาจไม่ให้คนที่ไม่ได้บวชไปก้าวก่ายกับคนบวชบางกรณี เช่น การทำสังฆกรรมต่าง ๆ ทั้งการบวช การรับกฐิน เป็นต้น

ส่วนคนบวชไม่ให้ไปก้าวก่ายกับคนไม่บวช เรียก กุลทูสกะ คือ การเป็นพระไปประจบคฤหัสถ์เพื่อหวังลาภสักการะ ถือว่าผิดพระธรรมวินัยอาบัติสังฆาทิเสส


 :96: :96: :96: :96: :96:

นายรักสยาม กล่าวต่อไปว่า พระพุทธองค์ได้บัญญัติหลักอนิยต คือ บทบัญญัติให้ฆราวาสยุ่งเรื่องวินัยทางสงฆ์ได้ 2 ข้อ คือ
     1 ถ้าพระกับผู้หญิงนั่งในที่ลับตาสองต่อสอง มีผู้ใหญ่ที่เคารพมาโจทย์มาฟ้องต่อเจ้าอาวาส หรือ เจ้าคณะปกครอง ให้เรียกพระองค์นั้นมาสอบ รับอย่างไรให้ปรับอาบัติอย่างนั้น
     กรณีที่ 2 ในที่ลับหู คือ มีคนเห็นมาบอกต่อกับคณะสงฆ์ พูดเกี้ยวผู้หญิง เรื่องชู้สาว ก็ต้องสังฆาทิเสส ทั้งนี้การที่ฆราวาสจะโจทย์พระได้เฉพาะกรณีปฐมปาราชิกเพียงเรื่องเดียว คือ เรื่องชู้สาวเท่านั้น

 :25: :25: :25: :25: :25:

ทั้งนี้กระบวนการโจทย์ก็ต้องทำตามกระบวนการปกครองคณะสงฆ์ เช่น ร้องต่อเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เป็นต้น ซึ่งสมัยพุทธกาล ก็จะไปร้องต่อพระพุทธเจ้า “เรื่องของพระ ที่เกี่ยวกับเรื่องพระธรรมวินัย เรื่องการปกครอง ฆราวาสที่เป็นพุทธบริษัท 4 เข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ แต่ตัดสินไม่ได้ เนื่องจากมีหลักที่พระพุทธองค์ได้บัญญัติไว้อีกข้อ คือ หลักศีลสามัญญตา หมายถึง หลักความเสมอภาคของคนมีศีลเสมอกัน เรียกว่า การตัดสินว่าผิดศีลหรือไม่ผิดศีล ต้องให้คนที่มีศีลเท่ากันตัดสิน เช่น พระสงฆ์ที่มีศีล 227 ตัดสินกันเอง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พุทธบริษัท 4 ต้องเกื้อกูลกัน แต่จะไม่ก้าวก่ายกัน เนื่องจากมีพระธรรมวินัย และบทบัญญัติต่างๆที่พระพุทธองค์ได้วางไว้กำหนดอยู่อย่างชัดเจน” นายกสมาคมเปรียญธรรม 9 ประโยค กล่าว

ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/380032
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ