ย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1
ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20895.0
ตอนที่ 2
รูปขันธ์ คือ อะไร ?
ธรรมชาติ อันมีลักษณะรู้ฉิบหาย แตกทำลายไปด้วยความเย็นร้อนพัดกระจาย ชื่อว่า รูป
รูปขันธ์ จัดเป็น ขันธ์แรกไปสู่การภาวนา และเป็นคำตอบของเรื่อง นิมิตรภายใน และ ภายนอกด้วย
รูปขันธ์ แบ่งออก เป็นสองส่วน
1. ภูตรูป มี 4 ได้แก่
1. ปฐวีธาตุ 2. อาโปธาตุ 3.เตโชธาตุ 4.วาโยธาตุ
ว่าด้วยการเจริญ จตุธาตุววัตถาน
ววัตถาน หมายถึง การกำหนดแยก
จตุธาตุววัตถาน หมายถึงการกำหนดแยกธาตุทั้ง สี่ จากกัน
กัมมัฏฐาน นี้สำหรับแก้กับบุคคลที่มีปัญญากล้า มาก่อน คือเชี่ยวชาญ ปริยัติก่อนปฏิบัติ ดังนั้นเมื่อจะเจริญ กัมมัฏฐาน ฝ่ายอภิญญา หรือ อุภโตภาค ครูอาจารย์จึงให้ตั้งการแยกธาตุ เพื่อลดความแก่กล้าทางปัญญาลง ไปสู่ความสงบอันเป็นสมาธิ มีอัปปนาเป็นที่สุด สมัยครั้งพุทธกาลผู้ถึงพร้อมด้วยบารมีหลายรูป ก็สามารถสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยการแยกธาตุ และ เจริญกายคตาสติ มากมาย การแยกธาตุ นี้อาศัยพระพุทธภาษิต ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคน
ฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่
ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ
ธาตุลม เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอัน
เป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดังนั้นการกำหนดแยก ธาตุทั้ง สี่ อาศัย กาย ของตนเองเป็นหลัก จนสามารถแยกกายออกเป็นธาตุ ต่าง ๆ ความพิศดารนี้ มีอยู่ในกองกรรมฐาน พระพุทธานุสสติ ซึ่งได้รวมการกำหนดธาตุไว้ใน พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม พระสุขสมาธิ 3 ห้องในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ และ ในมูลกรรมฐาน กัจจายนะ ก็มีการกำหนด ธาตุทั้งสี่ ซึ่งเป็น ภูตรูป ก่อน เพื่อลดความกล้าทางปัญญาให้มีปัญญาตรงไม่ฟุ้งซ่านด้วยปัญญา หรือ ซัดส่ายไปทางปัญญา มากเกินไปที่เรียกว่า ปัคคาหะ ( เพียรจัด )
เมื่อบุคคลผู้เจริญการกำหนดแยกธาตุ เบื้องต้นได้ ย่อมปฏิบัติการกำหนดแยกธาตุให้สูงขึ้น ตามพระพุทธพจน์ ว่า
[๑๓๕] ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตนเป็นของหยาบ
มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ
มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าปฐวีธาตุเป็นภายใน. ก็ปฐวีธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน. ปฐวีธาตุนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในปฐวีธาตุ.
[๑๓๖] ดูกรราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? อาโปธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป
มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน. ก็อาโปธาตุ
เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุเหมือนกัน. อาโปธาตุนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
[๑๓๗] ดูกรราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? เตโชธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกาย
ให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายในอาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้า
ไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน. เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็น
เตโชธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ จิตย่อม
คลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
[๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน? วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้
ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน. ก็
วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน. วาโยธาตุ
นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่
ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
[๑๓๙] ดูกรราหุล ก็อากาสธาตุเป็นไฉน? อากาสธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอก
ก็มี. อากาสธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตนเป็นอากาศ มีลักษณะว่าง
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน
ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
ไม่ทึบเป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน อันกรรมและกิเลส
เข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาสธาตุ เป็นภายใน. ก็อากาสธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี
อันใด อากาสธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุเหมือนกัน. อากาสธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. เพราะบุคคล
เห็นอากาสธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ จิต
ย่อมคลายกำหนัดในอากาสธาตุ. บทพิจารณาธรรม การกำหนดแยก ในระดับกลางนี้ อาศัยบทพิจารณา ดังนี้
1. อัชฌัตตัง ปัจจัตตัง ที่เป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน รู้ชัดได้ด้วยตน
นิยะกัง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตน เช่น ปฐวีธาตุ
กักขฬัง เป็นของเข้นแข็ง เช่น ปฐวีธาตุ เป็นต้น
ขริคตัง เป็นของหยาบ เช่น ปฐวีธาตุ เป็นต้น
2.อุปปาทินนัง เป็นของที่สัตว์ยึดมั่นถือมั่นไว้
เสยยะถึทัง ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
3.อาโปคโต เป็นที่ซานไป เช่น อาโปธาตุ เป็นต้น
4.เตโชคโต ด้วยอำนาจแห่งการทำให้ร้อน เช่น เตโชธาตุ เป็นต้น
5.วาโยคโต ด้วยอำนาจทำให้ฟุ้งไป พัดไป เช่น วาโยธาตุ เป็นต้น
ธาตุ 4 ประการนี้ เป็นท่านให้กำหนดแยกเป็น โกฏฐาส ได้ 42 ประการ โดยนัยพิศดาร ปรากฏในห้องกรรมฐานที่ 1 คือ พระธรรมปีติ ในมูลกรรมฐาน กัจจายนะ ได้อธิบายวิธีการเจริญโกฏฐาส ควบคู่ระหว่างการกำหนด พุทโธ ไปด้วย เพราะจะเป็นชำระจิตที่มีปัญญากล้า ซึ่งเป็นอุปสรรคกับ การเจริญฝ่ายสมถะดังนััน การเจริญโกฏฐาสนี้ จึงเป็นการประสานวิปัสสนาโดยอ่อนให้แก่ผู้มีปัญญากล้า ได้คลายจิตที่กล้าลงมุ่งตรงเฉพาะธาตุอันสนับสนุทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา โดยครูอาจารย์ จะให้ชำระด้วยการเดินจงกรม สลับการนั่ง เป็นระยะ มิใช่ให้นั่งโดยส่วนเดียว ขณะเดียวกัน เมื่อจิตเจริญขึ้นปีติ แม้โดยส่วนพระลักษณะ วินิจฉัยให้ศิษย์กำหนด โกฏฐาส ใด โกฏฐาส หนึ่ง บริกรรม ซึ่งความสำเร็จขณะนั้น เป็นได้ทั้ง อุภโตภาค และ ปํญญาวิมุตติ ขึ้นอยู่กับบารมีสั่งสมของผู้ภาวนา ด้วย การเจริญ พุทธานุสสติ ย่อมทำให้ผ่องใส การกำหนดธาตุ ย่อมทำให้ปัญญาที่กล้า เป็นเส้นตรงเรื่องเดียวไม่ฟุ้งแตกแยกไปหลายส่วน การกำหนดโกฏฐาส เป็นการกำหนด รูป โดยตรงคือกายคตาสติ ให้ผลสำเร็จถึง อรหัตตผล

วิธีภาวนาภาวนาในโกฏฐาน แบ่ง ออกเป็นผู้มีปัญญากล้า ( ธรรมกถึก ผู้ศึกษาปริยัติ พระโสดาปัตติมรรค )
กับ เป็นผู้มีปัญญากลาง ( พระโยคาวจรผู้มุ่งพระนิพพาน ) และผู้มีปัญญาอ่อน ( ปุถุชนทั่วไป )
ผู้มีปัญญากล้า บริกรรม โกฏฐาส ดังนี้
คำภาวนา เกสา เป็น ปฐวีธาตุ ( ผมเป็นธาตุดิน ) โลมา เป็น ปฐวีธาตุ ( ขนเป็นธาตุดิน )เป็นต้น
บริกรรมเฉพาะส่วนก่อน แล้วจึงบริกรรมเป็นชุด มีอนุโลม ปฏิโลม ตามความเข้มข้น
ผู้มีปัญญากลาง บริกรรม โกฏฐาส ดังนี้
คำภาวนา มนสิการ เฉพาะลักษณะ เท่านั้น
สิ่งที่เป็นของกระด้าง คือ ธาตุดิน
สิ่งที่ไหลซึมซาบ คือ ธาตุน้ำ
สิ่งที่มีอาการร้อน คือ ธาตุไฟ
สิ่งที่ไหวตัวได้ คือ ธาตุลม
เมื่อบริกรรมอย่างนี้ ปัญญาก็จะข่มลง สงบ ได้ จึงสมควรบริกรรม สูงขึ้นต่อไป
คำว่า มนสิการ เฉพาะคุณแห่งธาตุ ในการเดินจงกรม
มั่นคง เป็น ธาตุดิน
ยกขึ้น เป็น ธาตุไฟ
เคลื่อนไป เป็น ธาตุลม
หยั่งลง เป็น ธา่ตุน้ำ
เมื่อบริกรรมจิตย่อมตั้งมั่น ใน สมถะมากกว่า วิปัสสนา จะสามารถเข้าสู่ อัปปนาวิถีได้
( สำหรับการเดินจงกรม เป็น มุลกรรมฐาน กัจจายนะ ที่ถ่ายทอด มี 8 ระดับ )
ผู้มีปัญญาอ่อน และ สมถะอ่อน บริกรรม โกฏฐาส ดังนี้
มนสิการ โดยการวางอารมณ์ กายก่อน
อย้ กาโย อันว่า กายนี้
เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ ไม่ควรนับว่าเป็น เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
จิตตัง ฐาตุง ธาตุโย มีแต่จิต ตั้งอยู่ เป็นธาตุล้วน ๆ ด้วยใจ
เรียบเรียงใหม่
กายนี้ไม่ใช่เรา กายนี้ไม่ใช่ของเรา กายนี้ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา มีแต่จิต ล้วน ๆ
ตั้งสลับเปลี่ยนไปตามโกฏฐาส ผลผู้ภาวนา ก็จะได้ ละวิจิกิจฉา เป็น พระโสดาปัตติมรรค เพื่อไปภาวนาอย่างกล้า หรือ อย่างกลาง
วิธี การกำหนดธาตุ มี 4 อย่าง
1. สสัมภารสังเขป การกำหนดแยก โดยอาการ อย่างสังเขป ( พอประมาณ )
คือการแยกเพียงหมวดใหญ่ คือ ธาตุ เท่านั้น
2. สสัมภารวิภัตติ การกำหนดแยก โดยอาการ แยกแยะ อย่างพิศดาร เป็นวสี ( ชำนาญ )
คือการแยกด้วยโกฏฐาน ทั้งหมด ประจำธาตุ
3. สลักขณสังเขป การกำหนดแยก โดยลักษณะ อย่างสังเขป
คือการแยกเพียงหมวดใหญ่ คือ ธาตุ เท่านั้น
4. สลักขณวิภัติ การกำหนดแยก โดยลักษณะ อย่างพิศดาร เป็นวสี
คือการแยกด้วยโกฏฐาน ทั้งหมด ประจำธาตุ
การกำหนดแยก อาศัย อุคคหโกศล 7 ประการ
1. วจีโดยวาจา 2.มนัง โดยใจ 3.วัณณโต โดยสี 4. สัณฐานโต โดยสัณฐาน
5. ทิศโต โดยทิศ 6.โอกาสโต โดยโอกาส 7.ปริจเฉทโต โดยกำหนด
การกำหนด มนสิการโกศล 10 ประการ
1.อนุปุพพโต โดยลำดับ
2.นาติสีฆโต โดยไม่รีบร้อนนัก
3.นาติสณิกโตปิ โดยไม่ช้านัก
4.วิกเขปปฏพาหนโต โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน
5.ปัญญัตติสมติกกมนโต โดยการก้าวล่วงบัญญัติ
6.อนุปุพพมุญจนโต โดยละไปตามลำดับ
7.อัปปนาโต โดยอัปปนา
8.อธิจิตตสูตร โดยการศึกษาสมถะสูตร สุตตันตะอันเบื้องต้น
9.สีติภาวสูตร โดยการศึกษา ภาวนาสูตร สุตตันตะอันเป็นท่ามกลาง
10.โพชฌังคโกสัลลสูตร โดยการศึกษาโพชฌงค์โกศลสูตร สุตตันตะอันประณีตที่สุด