อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ วัดคุ้งวารี อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
"ราชวงศ์พระร่วง" สืบกันมาถึงปัจจุบันราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์แรกและราชวงศ์เดียวที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานจารึกปู่สบถหลานระหว่างกษัตริย์สุโขทัยและน่าน แล้วมีการลำดับพระนามพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์สุโขทัยตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์มักพบว่าผู้คนภายในเขตสุโขทัย หรือบ้านเมืองแว่นแคว้นอื่นมักเรียกพระมหากษัตริย์ของสุโขทัยในนามว่า "พระร่วง" ซึ่งเป็นนามที่รู้จักไปอย่างกว้างขวางของคนกลุ่มไทยในสมัยโบราณ เชื้อสายของราชวงศ์พระร่วงนี้สืบทอดมายาวนานในการปกครองสมัยสุโขทัย
ราชวงศ์พระร่วง มีการสานสายสัมพันธ์กับราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรละโว้ และราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ มาถึงสมัยอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิรวมถึงราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ยังปรากฏอยู่ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร สัญลักษณ์หรืออนุสรณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์พระร่วงที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือ รูปพระร่วงพระลือ ในซุ้มพระร่วงพระลือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตามความเชื่อของคนรุ่นเก่าแก่ในจังหวัดสุโขทัย ระบุว่า ที่นี่คือนิวาสถานดั้งเดิม หรือต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่
ประวัติ : ราชวงศ์พระร่วง เป็นเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ชนชั้นปกครองไทยที่มีอำนาจอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า "สมัยสุโขทัย" ฐานอำนาจของราชวงศ์พระร่วงก็คือ ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองรัฐบาลและที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์
ความชัดเจนในแง่ความเป็นมาของราชวงศ์นี้ไม่สามารถที่จะชี้ชัดระบุให้แน่นอนได้ เพราะมีหลักฐานหรือสิ่งที่กล่าวอ้างน้อยมาก พระร่วงในความทรงจำของคนตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางลงมาเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าตำนานแล้ว เพราะเต็มไปด้วยเรื่องราวอภินิหารและความน่ามหัศจรรย์ ผนวกไปกับเรื่องราวของบ้านเมืองสถานที่ต่าง ๆ ในแถบกลุ่มอาณาจักรสุโขทัยเดิม (ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร ปากยม และพระบาง)

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่สถาปนาขึ้นเมื่อคราวพ่อขุนบางกลางหาวทรงราชาภิเษกเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ คำว่าพระร่วงเป็นคำที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำแห่งรัฐสุโขทัย โดยคำว่าร่วง แปลว่า รุ่ง (โรจน์) ในสำเนียงไทยกลางจึงตรงกับคำว่า รุ่ง ซึ่งไปพ้องกับสำเนียงล้านช้างที่อ่านว่า ฮุ่ง ซึ่งอาจจะสืบเนื่องกับตำนานท้าวฮุ่ง-ท้าวเจือง อันเป็นวีรบุรุษในตำนานสองฝั่งโขง
อย่างไรก็ตาม คำว่า "พระร่วง" เป็นคำที่คิดขึ้นใหม่เมื่อครั้งสถาปนาวงศ์ หรือราชวงศ์ เดิมทีเรียกว่า "บางกลางหาว" ต่อมา "พ่อขุน" แต่ยังติดปาก จึงใช้ พ่อขุน + บางกลางหาว รวมเป็น "พ่อขุนบางกลางหาว" มาแต่ต้น
ความหมายของคำว่า "ร่วง" นี้ ต่อมาเป็นพระนามพระพุทธรูปองค์หนึ่งว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร เป็นการย้ำความหมายให้ ร่วงโรจน์ มีความหมายไปในทางเดียวกับ รุ่งโรจน์ อีกด้วย

ด้วยเหตุความเข้าใจคลาดเคลื่อนนี้ โดยมากจึงคิดกันว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุมแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม พ่อขุนผาเมืองแห่งราชวงศ์ผาเมือง ตลอดจนพระมหาเถรศรีศรัทธาแห่งราชวงศ์ผาเมือง ทรงเป็นราชวงศ์พระร่วง อันที่จริงแล้ว ทั้งสามพระองค์นี้เป็นราชวงศ์ศรีนาวนำถุม (หรือราชวงศ์นำถุม) และราชวงศ์ผาเมือง โดยเอกสารทางวิชาการส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์พระร่วง คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์)
“พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ แต่ประชาชนทั่วไปเรียกขานว่า “หลวงพ่อพระร่วง” หรือ “พระร่วงโรจนฤทธิ์” วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ถนนขวาพระ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
รายนามและพระนามผู้ที่อยู่ในราชวงศ์พระร่วง-สุโขทัยบุคคลตามจารึกในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์พระร่วง
1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนามเดิม บางกลางหาว
2. นางเสือง
3. พ่อขุนบานเมือง
4. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
5. พญาเลอไท
6. พญางั่วนำถุม (ผสมวงศ์นำถุมทางราชินิกุล)
7. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
8. พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
9. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท)
10. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
11. พระมหาเทวี (พระพี่นางในพญาลิไท)
12. พระศรีเทพาหูราช พระโอรสในพระมหาเทวี และขุนหลวงพะงั่ว (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
13. พระยาราม (พระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองศรีสัชนาลัย)
14. พระยายุทธิษฐิระ (พระโอรสในพระยาราม เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 3อีกต่อหนึ่ง)
15. สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
16. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
17. พระนางสาขา
18. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
19. ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของกษัตริย์อยุธยาต้องมาจากราชวงศ์พระร่วง
20. สมเด็จพระสุริโยทัย
21. ขุนพิเรนทรเทพ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
22. พระสุพรรณกัลยา (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
23. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
24. สมเด็จพระเอกาทศรถ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
25. สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
26. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
27. สมเด็จพระเชษฐาธิราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
28. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
29. หม่อมเจ้าหญิงในราชวงศ์พระร่วง สมัยพระนารายณ์มหาราช
30. หม่อมเจ้าเจิดอุภัย
31. เจ้าแม่วัดดุสิต พระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรส
32. จ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) (พี่ชาย-พระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
33. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) (น้องชาย-พระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
34. เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) บุตรชาย เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน) ชื่อตำแหน่งมีความหมายเป็นพระญาติ
35. พระยาราชนิกูล (ทองคำ) บุตรชาย เจ้าพระยาวรวงษาธิราช ชื่อตำแหน่งมีความหมายเป็นพระญาติ
36. สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) บุตรชาย พระยาราชนิกูล
37. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ในนามราชวงศ์จักรี) และเชื้อพระวงศ์จักรีทุกพระองค์
38. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (สืบเชื้อสายจากเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
39. ผู้ที่มีนามสกุลว่า "ชูโต" โดยการสืบเชื้อสาย (สืบเชื้อสายจากเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
40. ผู้ที่มีนามสกุลว่า "ณ บางช้าง" โดยการสืบเชื้อสาย (สืบเชื้อสายจากเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ) อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี้ขอบคุณภาพจาก :
https://upload.wikimedia.org/ ,
http://f.ptcdn.info/ ,
http://www.dhammajak.net/จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี :
https://th.wikipedia.org/wiki/ราชวงศ์พระร่วง