“พหูสูตร” มีคุณสมบัติอย่างไร ใครคือ "พหูสตที่แท้จริง"
พหูสูต น. ผู้มีความรู้เพราะได้สดับตรับฟังหรือศึกษาเล่าเรียนมามาก. (ป. พหุสฺสุต).ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
พหูสูตมีองค์ ๕ (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน) ๑. พหุสสุตา (ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มาก)
๒. ธตา (จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำ)
๓. วจสา ปริจิตา (คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจน)
๔. มนสานุเปกขิตา (เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด)
๕. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา (ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล) องฺ.ปญฺจก.๒๒/๘๗/๑๒๙.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. สีลสูตร
[๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจ เป็นทีเคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปรกติ
เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ
- เป็นผู้ได้สดับมาก
- ทรงจำไว้
- คล่องปาก
- ขึ้นใจ
- แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ
ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑
เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดวาจาอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ ๑
เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ
ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ฯ
จบสูตรที่ ๗ที่มา ประไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน