ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลือหนัก กฤษฎีกาตีความ เสนอนามสังฆราช เริ่มที่มส. หรือ นายกฯก็ได้  (อ่าน 863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ลือหนัก กฤษฎีกาตีความ เสนอนามสังฆราช เริ่มที่มส. หรือ นายกฯก็ได้


ผอ.พศ.ยันไม่มีแก้มาตรา 7 สถาปนาสังฆราช ในพ.ร.บ.คณะสงฆ์ ขณะที่กระแสข่าวลือสะพัด กฤษฎีกาตีความมาตรา 7 แล้ว ให้มหาเถรฯหรือนายกรัฐมนตรีเสนอนามสมเด็จพระสังฆราช ด้านเจ้าคุณประสาร ชี้ตีความมาอย่างไรก็ต้องเสนอนามสมเด็จวัดปากน้ำอยู่ดี เพราะอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์

วันนี้(8 ก.ค.)นายพนม  ศรศิลป์  ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)  กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งผลการตีความมาตรา 7 ว่าด้วยการเสนอสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 ให้แก่รัฐบาล ว่า พศ.ยังไม่ทราบว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความออกมาเช่นไร เพราะมีการแจ้งผลตีความไปยังรัฐบาล ไม่ได้แจ้งมายังพศ.

แต่ยืนยันว่าการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดตามสมณศักดิ์เพื่อเสนอสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 โดยมหาเถรสมาคม(มส.)ได้มีมติเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ)ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานั้นมีการพิจารณาอย่างรอบคอบและมีการลงมติเป็นเอกฉันท์โดยยึดตามโบราณราชประเพณีและพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ

   
 :25: :25: :25: :25: :25:

ผอ.พศ. กล่าวต่อไปว่า การเสนอสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ มาตรา 7 ของพ.ร.บ.คณะสงฆ์พ.ศ.2505 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2535  แต่การตีความของแต่ละฝ่ายอาจจะแตกต่างกันไป โดยในส่วนของ พศ.และมส. ยึดตามโบราณราชประเพณีและกฎหมายคณะสงฆ์ อย่างไรก็ตาม หากนายกรัฐมนตรีพิจารณาผลตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วมีคำสั่งเช่นไร  ทางพศ.ก็พร้อมปฏิบัติตามและจะหารือกับคณะสงฆ์เพื่อดำเนินการต่อไป ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวรัฐบาลจะเสนอแก้ไขมาตรา 7 ให้สอดคล้องกับผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วยนั้น

ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่มีสัญญาณทั้งทางตรงและทางอ้อมจากรัฐบาลมายัง พศ. และไม่มีประเด็นที่จะต้องแก้ไข จึงคาดว่าไม่น่าจะมีเรื่องนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายคณะสงฆ์ถือเป็นเรื่องใหญ่ หากจะมีการแก้ไขรัฐบาลจะต้องขอความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น พศ. มส. แต่รัฐบาลยังไม่มีการแจ้งในเรื่องนี้ ซึ่งตนก็รู้สึกเป็นห่วงถึงกระแสข่าวดังกล่าว เพราะอาจทำให้คณะสงฆ์วิตกกังวลในเรื่องนี้ 

 :96: :96: :96: :96:

ด้านพระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทราบว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่แถลงเรื่องการตีความมาตรา 7 แต่จะส่งผลให้ทางรัฐบาล แต่ก็มีกระแสข่าวออกมาว่า ผลการตีความนั้น กระบวนการเสนอนามสามารถเริ่มจากมหาเถรสมาคม(มส.) หรือนายกรัฐมนตรีก็ได้

ซึ่งคณะสงฆ์คงต้องรอคำยืนยันจากรัฐบาลอีกครั้ง หากผลตีความออกมาเช่นนั้นจริง ในมาตรา 7 ยังมีระบุไว้อีกว่า การเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ต้องเสนอรูปที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์  ดังนั้นไม่ว่ากระบวนการจะเริ่มที่ฝ่ายไหน สมเด็จพระราชาคณะที่อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ก็ยังคงเป็น สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ จึงขอให้รัฐบาลเดินหน้าสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ไม่ควรประวิงเวลาอีกต่อไป


ขอบคุณข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/507739
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ