ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วธ. วอนคนไทยใช้ภาษาถูกต้อง หวั่น โซเชียลทำคนขาดปฏิสัมพันธ์  (อ่าน 887 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




วธ. วอนคนไทยใช้ภาษาถูกต้อง หวั่น โซเชียลทำคนขาดปฏิสัมพันธ์

วธ.วอน คนไทยใช้ภาษาให้ถูกต้อง-กาลเทศะ สานมรดกชาติให้คงไว้ ด้านปูชนียบุคคลด้านภาษาหวั่นสื่อโซเชียล ยิ่งทำให้คนใกล้ตัวห่างไกลกัน จนขาดการปฏิสัมพันธ์ทางการสื่อสารทางกายโดยสิ้นเชิง ...

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 59 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2559 พร้อมมอบรางวัลให้กับบุคคลด้านภาษาไทย พร้อมเปิดเผยว่า ภาษาไทย นับเป็นภาษาที่มีความงดงาม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภาษาก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามพลวัตร ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เห็นได้จากในปัจจุบันที่มีภาษาโซเชียลที่ได้บัญญัติขึ้นใหม่ เป็นศัพท์ใหม่ คำใหม่ หรือ การจำกัดความที่นำมาใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งคิดว่าสิ่งเหล่านี้มาแล้วก็ไป ที่สำคัญกระทรวงวัฒนธรรมขอรณรงค์ให้คนไทยทุกคน ร่วมกันพิจารณาและดูแล การนำมาใช้ให้ถูกกาลเทศะถูกกับบุคคล สถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันขอให้มีการรักษาการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องด้วย เพื่อร่วมสืบสานมรดกอันล้ำค่าของชาติให้คงไว้ต่อไป


 :96: :96: :96: :96: :96:

ด้าน ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ผู้ได้รับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยกล่าวว่า ปัจจุบันภาษามีการเปลี่ยนไป ตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาที่เกิดจากการพิมพ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่มักจะมีการพิมพ์เป็นคำย่อ คำสั้น และเป็นคำที่สื่อความหมายเข้าใจกันได้อย่างรวดเร็ว แต่ที่น่ากังวลคือ แม้จะมีประโยชน์ต่อการสื่อสารของคนรุ่นใหม่ แต่จะส่งผลเสียต่อการจดจำ และใช้คำที่ถูกต้อง และใช้ภาษาสื่อความหมายที่ผิดพลาดได้ง่าย อีกทั้ง การใช้สื่อโซเชียลจะยิ่งทำให้คนใกล้ตัวห่างไกลกัน จนขาดการปฏิสัมพันธ์ทางการสื่อสารทางกายโดยสิ้นเชิง ทั้งยังส่งผลทำให้ขาดความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งเห็นได้ชัดจากคนในครอบครัว ที่นับวันจะยิ่งห่างกันไปเพราะเมื่อเข้าบ้านแล้วก็หยิบโทรศัพท์มาพิมพ์คุยกันกับคนข้างนอก ไม่มองหน้าแม้คนในบ้าน

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย กล่าวอีกว่า หากเราสามารถแบ่ง ช่วงเวลาของการสื่อสาร จากที่มีการใช้เวลาอยู่กับโทรศัพท์ทั้งวัน เป็นการหันมาพูดคุยกับผู้อื่นให้มากขึ้น ก็จะทำให้การสื่อสารทางภาษาผิดเพี้ยนน้อยลง และยังช่วยให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ การปลูกฝังใช้ภาษาที่ถูกต้อง คงต้องเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาที่จะรับหน้าที่หลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องและไม่เห็นว่าเรื่องการใช้คำผิด ภาษาผิดเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะจะทำให้ความเข้าใจเหล่านี้บานปลายเป็นเรื่องใหญ่ได้.


ขอบคุณข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/676383
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ