ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หากการพูดขัดศรัทธาผู้อื่น เราควรพูด แสดงความคิดเห็นออกไป หรือไม่.?  (อ่าน 1283 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





หากการพูดขัดศรัทธาผู้อื่น เราควรพูด แสดงความคิดเห็นออกไป หรือไม่.?

ถาม : หากการพูดของเราเป็นการขัดศรัทธาผู้อื่นเราควรพูดแสดงความคิดเห็นออกไปหรือไม่

ตอบ : ถ้าเราตระหนักรู้อย่างชัดเจนว่า ศรัทธาที่คนใกล้ชิดของเรามีนั้นเป็นศรัทธาที่ค่อนไปทางงมงาย เราก็ควรห้ามปรามไว้บ้าง มิเช่นนั้นแล้วคงนำความเดือดร้อนมาสู่ครอบครัวเป็นแน่ ความศรัทธานั้นมีสองอย่าง
    (1) ศรัทธาญาณสัมปยุต ศรัทธาที่ประกอบด้วยเหตุผล
    (2) ศรัทธาญาณวิปยุต ศรัทธาที่ปราศจากเหตุผล

ศรัทธาที่ประกอบด้วยเหตุผล คือ ศรัทธาที่เกิดจากปัญญาหลังจากได้พิจารณาอย่างลึกซึ้งถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามแล้วได้ค้นพบว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีแก่นสารจริงๆ วิญญูชนยอมรับได้ ขอให้สังเกตคำว่า “วิญญูชนยอมรับได้” ให้ดีวลีนี้จะคอยทำหน้าที่กำกับการใช้เหตุผลของเราอีกทีหนึ่งว่าถึงแม้เราจะมีเหตุผลเสมอในการเลือกที่จะศรัทธาสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่เมื่อนำเอาเหตุผลของเราไปเทียบเคียงกับเหตุผลของผู้รู้แล้วมันเข้ากันได้ไหม ถ้าเข้ากันได้ แสดงว่าการใช้เหตุผลของเราเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเรามีเหตุผล ทว่าปราชญ์ทั้งหลายท่านไม่เห็นด้วย ก็แสดงว่าเหตุผลของเรานั้นใช้ไม่ได้

ศรัทธาที่ปราศจากเหตุผล คือ ศรัทธาที่เกิดจากการเชื่อถือเลื่อมใสในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างผิวเผินเพียงเพราะพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกของสิ่งต่างๆ แล้วมองเห็นว่า “เข้าท่า”แล้วก็ศรัทธาอย่างหัวปักหัวปําลงไป เช่น หลายปีก่อนที่คนไทยพากันศรัทธาในจตุคามรามเทพอย่างหัวปักหัวปําเพราะเสียงเล่าลือว่าช่วยให้มั่งคั่งร่ำรวย หรือคนไทยนิยมบูชาพระที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะเป็นพระอรหันต์ เพียงเพราะเห็นวัตรปฏิบัติของท่านดูขรึมขลัง ห่มผ้าสีกรัก พูดน้อย ฉันน้อย อยู่ป่า แค่พิจารณาจากภายนอก ยังไม่ได้ศึกษาธรรมะเลยก็ศรัทธาเสียแล้ว ศรัทธาที่ไม่ผ่านกระบวนการทางปัญญาอย่างนี้เองเป็นศรัทธาที่ง่ายต่อการกลายเป็นความงมงาย

 :96: :96: :96:

ในศรัทธาสองประการดังกล่าวมานี้ ศรัทธาที่ประกอบด้วยเหตุผลจึงเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง ส่วนศรัทธาที่ยากจะอธิบายด้วยเหตุผล ทั้งวิญญูชนก็ไม่รับรอง เป็นศรัทธาอันตราย มีโอกาสง่ายมากที่จะถลำพลาดไปกลายเป็นความงมงาย เมื่องมงายก็ง่ายต่อการถูกหลอก คุณควรใช้หลักศรัทธาที่กล่าวมานี้พิจารณาพฤติกรรมของคนใกล้ชิดให้ดีแล้วก็จะรู้เองว่า กำลังอยู่บนเส้นทางบุญที่แท้หรือแค่ตกเป็นเหยื่อของพ่อค้าบุญกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

ชาวพุทธไทยเรานั้น โดยพื้นฐานเป็นคนใจบุญ มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เวลาเห็นใครชวนทำบุญจึงมักใจง่าย ไม่ค่อยใช้ปัญญา การทำบุญโดยใช้ศรัทธานำเพียงอย่างเดียว แม้สิ่งที่ทำจะเป็นกรรมดี แต่ก็ยังมีอันตรายเคลือบแฝงอยู่ เพราะบางทีผู้ที่มาชวนให้ทำบุญนั้นไม่ใช่เนื้อนาบุญจริงๆ เป็นเพียง “กลุ่มผลประโยชน์” กลุ่มหนึ่งที่แฝงตัวเข้ามาอาศัยพระพุทธศาสนาหากินไปวันๆแต่คนไทยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยเอะใจในเรื่องเช่นนี้ จึงมักตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพเหล่านี้ได้ง่าย ทำไมคนไทยไม่ค่อยเอะใจ ก็เพราะเขานำเสนอตัวเองผ่าน “พระพุทธศาสนา” ซึ่งเรานับถือศรัทธาอยู่แล้วนั่นเอง การที่เรามองไม่เห็นภยันตรายที่แฝงมาในนามของพุทธศาสนาแล้วหลงศรัทธากันง่ายๆ เช่นนี้แหละ ผู้เขียนขอเรียกว่า เป็นการตกอยู่ในท่ามกลาง “ความมืดสีขาว” กว่าจะรู้ตัวก็ถูกต้มเสียเปื่อย



ธรรมะจากพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี : พระอาจารย์ผู้ไขปัญหา
ขอบคุณที่มา : http://www.secret-thai.com/category/dhamma-daily/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2016, 09:44:18 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ