ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ภาวนา ควรเรียนรู้ ความป่วยให้ไปสู่ สุขวิหารธรรม  (อ่าน 2834 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สิ่งที่เราหนีไม่ได้ หลังจากเกิดแล้วก็คือ ความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย ดังนั้นคนที่โชคดี ก็คือ แก่ช้า และ ไม่มีโรค ส่วนความตายนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ต้องตาย เพราะความตายคู่กับ ความเกิด

ในบรรดา ความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย อะไร ทรมานที่สุด ใช่แล้ว ความเจ็บ เป็นเรื่องทรมานที่สุด เพราะความเจ็บเกิดขึ้นหลายหนในขณะที่มีชีวิต ส่วนความแก่นั้น เราทุกคนส่วนใหญ่แล้วรับได้ กับความแก่

ความเจ็บ มีหลายประการ แต่เจ็บหนัก ๆ ถึงขึ้นต่อสายนั่น ต่อสายนี่ หรืออวัยวะเสื่อม สมองเสื่อม เหล่านี้นั่นแหละเป็นปัญหา ยิ่งถ้าต้องเป็น อัมพฤต อัมพาต ไปด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ทรมานมากยิ่งขึ้น

ตัวฉันเองนั้นเป็นผู้ที่ได้เห็นคนเจ็บเจียนตาย และคนตาย มากมายหลักพัน ที่ตายกันตรงหน้า เพราะหลายท่านมารับฉันเพื่อไปโปรดพี่น้องญาติมิตรพ่อแม่ เพื่อสหายคนรัก หวังว่าจะได้เห็นฉันและผ้ากาสาวพัตรนำจิตของคนที่กำลังจะตายนั้นไปสู่ภพภูมิที่ดี ดังนั้นฉันจึงได้ไปเยี่ยมคนใกล้ตาย และเห็นคนตายต่อหน้า ค่อนข้างบ่อย

อย่างที่บอก ความแก่ ความตาย ไม่ใช่ทุกข์มาก แต่ความเจ็บนี่แหละทุกข์มาก ที่สุด คนเรามีชีวิตอยู่ไม่กิน ก็จะเจ็บเป็นโรคกระเพาะ โรคตับโรคไต โรคอื่นก็เพราะการใช้ชีวิต ด้วยการหากิน ซึ่งทำให้ความเจ็บดูหน้ากลัว

ดังนั้นจึงไม่ใครหลีกเลี่ยงจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ไปได้เลยในโลกนี้ ดังนั้นเมื่อความเจ็บเข้ามาเยี่ยมเยือนท่านทั้งหลาย สิ่งที่ต้องฝึกฝนเอาไว้ ก็คือการเตรียมใจ เตรียมพร้อมเมื่อเราต้องเจ็บ เพราะถ้าไม่เคยฝึกรับมือ เตรียมพร้อมกับความเจ็บกันบ้างเลย มันก็จะมีทุกข์ มาก ทุกข์คร่ำครวญเรื่องเวร เรื่องกรรม ไปโน่น อันที่จริงคร่ำครวญอย่างไร ก็ไม่ได้ทำให้ ความเจ็บหายไปได้ แต่ต้องใช้สติปัญญาเรียนรู้ มองเห็นตามความเป็นจริงให้ได้ว่า ความเจ็บเป็นของธรรมดา มันเป็นธรรมดา มันเป็นเช่นนั้นนั่นเอง นี่ถ้ามองได้อย่างนั้นจิตจะมีสุขได้ และอะไร ที่จะทำให้มองได้อย่างนี้ ก็ต้องฝึกฝนภาวนา จิต ไปด้วย ภาวนา พุทโธ บ้าง ดูลมหายใจเข้า ดูลมหายใจออกบ้าง ใช้เวลาที่ยังมีชีวิตอยู๋นี่แหละ ศึกษาความเป็นจริงอันนี้ในถ่องแท้ ก็จะข้ามพ้นความทุกข์ ที่มีเบื้องหน้าได้

สำหรับพระโยคาวจรผู้มีความชำนาญในการเข้าออก ฌาน ก็ฝึกฝน เข้าออกฌาน เพื่อระงับเวทนาที่เกิด เมื่อเวทนาดับไปก็ศึกษาสุขอันเกิดแต่ในฌานนั้นให้ถ่องแท้ ให้เห็นความเป็นจริง ของสุข อันไม่อิงอามิสนั้น เป็นสุขที่เกิดจากการดับนิวรณ์ แม้กายจะยอบแยบเท่าใดแต่จิต ตั้งมั่นในสมาธิ ก็จะมีความสุขได้ นั่นคือความเป็นจริงของจิตที่ไม่ผูกกับกิเลส

สำหรับพระอริยะ ตั้งแต่พระโสดาปัตติมรรคนั้น ต้องเข้าผลสมาบัติ เจริญโพชฌงค์ เจ็ดประการ ให้จิตสงบที่อุเบกขาธรรมพิจารณาวิมุตติ ที่เกิดขึ้นขณะนั้น ให้เห็นชัดในความเป็นจริงของ อปสมานุสสติ ( จิตระลึกถึงพระนิพพาน ) เป็น เอกัคตารมณ์ เห็นตามความเป็นจริงเยี่ยงนี้ ในสุญญตาสมาบัติ ย่อมเห็นชัด ซึ่งการไม่ยึดถือต่อโลก มองเห็นโลกตามความเป็นจริง ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา สิ่งใด สิ่งหนั่ง เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันมา สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีการปรุงแต่งกันมา สิ่งนั้นล้วนเกิดจาก ความไม่รู้ในอริยสัจจะทั้งสิ้น สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นจากการไม่รู้จัก อริยสัจจะสี่ประการ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรหน่าย เป็นสภาวะธรรมที่ควรหน่าย สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เป็นสิ่งที่ควรหน่าย เป็นสภาวะธรรมที่ควรหน่าย สิ่งนั้นควรถูกต้องแล้วด้วยวิมุตติ แห่งพรหมจรรย์ สิ่งใด สิ่งหนึ่งควรถูกต้องแล้วด้วยวิมุตติ แห่งพรหมจรรย์ สิ่งนั้นย่อมปรากฏชัด ด้วยธรรมวิมุตติ ว่า ว่างอย่างยิ่งใหญ่ นั่นเอง

ขอให้ท่านทั้งหลายที่กำลังทุกข์ เพราะความเจ็บ ป่วย ที่ทรมานอยู่กันนั้น ได้เกิดสติ และบรรเทา ความทุกข์ทั้งปวงนั้น ด้วยกำลังแห่งปัญญาบารมีของท่าน ถ้าถึงที่สุดแห่งปัญญาแล้ว ขอให้ธรรมอันละเอียดจงเกิดขึ้นเป็นผลบรรเทาทุกข์ ด้วยสุขแห่งธรรม นี้ด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร





บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12 thk56 :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ