อานาปานสติ มีการฝึก อยู่สองส่วน คือ แบบเข้าไปตามดู ( ปชานาติ ) และ แบบเข้าไปศึกษาพิจารณด้วยญาณ ( สิกขติ )
สำหรับ อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๑ และ ๒ เป็น ปชานาติ
ส่ำหรับ อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๓- ๓๒ เป็น สิกขติ
อานาปานสติ ทั้ง ๓๒ นั้น มีสติปัฏฐาน ๔ ด้วย เพราะมีสติด้วย ดังนั้นกล่าวได้ อานาปานสติ เป็น สติปัฏฐาน และ กายคตาสติ ในตัวเอง
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๑ - ๘ เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๙ - ๑๖ เป็น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๑๗ - ๒๔ เป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๒๕ - ๓๒ เป็น ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
อานาปานสติ จัดเป็น สมถกรรมฐาน รูปธาตุ อรูปธาตุ สมาบัติ และ วิปัสสนา
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๑ - ๘ เป็น สมถกรรมฐาน รูปธาตุ
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๙ - ๑๖ เป็น สมถกรรมฐาน อรูปธาตุ
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๑๗ - ๒๔ เป็น สมถกรรมฐาน สมาบัติ
อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ ๒๕ - ๓๒ เป็น วิปัสสนาตรง
อานาปานสติ มี ระดับการภาวนา ๔ ระดับ
๑ คณนา การนับ เป็น อุปจาระฌาน
๒ อนุพันธนา การติดตาม เป็นอุปจาระ และ อัปปนาฌาน
๓ ผุสนา การดูการกระทบ เป็นอัปปนาฌาน
๔ ฐปนา การตั้งฐานจิต เป็นอัปปนาฌาน และ วิปัสสนา
อานาปาสติ มี ๓ อุปกรณ์
๑ ลมหายใจเข้า
๒ ลมหายใจออก
๓ นิมิตร
การฝึกอานาปานสติ มี นิมิตร ๓ แบบ คือ
๑ อุคคหนิมิตร นิมิตรที่เกิดเป็นลักษณะ แปรปรวนด้วย รัศมี ไม่สามารถบังคับนิมิตรได้
๒ ปฏิภาคนิมิต นิมิตที่เกิดจากอุคคหนิมิตร แต่สามารถบังคับรูปร่างลักษณะ รัศมี นิมิตรได้ดังใจ
๓ อนิมิตรสมาธิ ขั้นสูงตั้งแต่ดำเนินสมาธิ ไม่มีนิมิตร แต่เข้าสมาธิระดับสูงได้
อันนี้เป็นการเตรียมตัวเรียน อานาปานสติ กันก่อนนะ
