ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังเมษายน “ห่า” ระบาด! คนตายปีละ ๓-๔ หมื่น เป็นตำนาน “แร้งวัดสระเกศ”  (อ่าน 1217 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29345
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

สภาพแร้งในวัดสระเกศ


ระวังเมษายน “ห่า” ระบาด! คนตายปีละ ๓-๔ หมื่น เป็นตำนาน “แร้งวัดสระเกศ” และ “ไก่งวงวัดสระเกศ!!

สมัยก่อน เมื่อถึงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดรุนแรงทุกปี ภาษาทางการขณะนั้นเรียกว่า “ไข้ป่วงใหญ่” แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคห่า” ส่วนคนที่เป็นโรคนี้เรียกกันว่า “ห่ากิน” ประกอบกับคนในยุคนั้นยังกิน-ใช้น้ำในแม่น้ำคลอง และทิ้งสิ่งปฎิกูลทั้งหลายลงไปในน้ำเหมือนเป็นถังขยะ รวมทั้งศพคนที่เป็นอหิวาต์ ที่สำคัญคือขณะนั้นยังไม่รู้สาเหตุของการเกิดโรคและการรักษา อหิวาต์จึงระบาดอย่างรวดเร็ว และคร่าชีวิตผู้คนปีละมากๆ จนถึงวันนี้อหิวาต์ก็ยังเป็นโรคที่ยังพบได้ในฤดูร้อนทุกปี
       
       มีหลักฐานอ้างอิงว่า อหิวาต์เกิดขึ้นในเมืองไทยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแล้ว และเกิดขึ้นทุกปีตลอดมา รุนแรงมากน้อยต่างกันไปแต่ละปี แต่มีบันทึกไว้ว่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ.๒๓๖๓ และ พ.ศ.๒๓๙๒ ได้เกิดอหิวาต์ระบาดรุนแรงที่สุด มีคนตายถึงคราวละ ๓๐,๐๐๐-๔๐,๐๐๐ คน ซึ่งก็นับว่ามหาศาลเมื่อเทียบกับจำนวนพลเมืองที่มีอยู่ไม่กี่ล้านคนในขณะนั้น
       
       ในปี ๒๓๖๓ อหิวาต์เกิดขึ้นโดยระบาดมาจากอินเดีย ขณะนั้นเมื่อยังไม่มีวิธีรักษาและรู้จักการป้องกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงทรงใช้วิธีให้กำลังใจ โปรดให้ตั้งพิธีขับไล่โรคนี้ขึ้น เรียกว่า “พิธีอาพาธพินาศ” โดยจัดขึ้นที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการยิงปืนใหญ่รอบพระนครตลอดคืน อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุออกแห่ มีพระราชาคณะโปรยน้ำพระพุทธมนต์ตลอดทาง ทรงทำบุญเลี้ยงพระ โปรดให้ปล่อยปลาปล่อยสัตว์ และประกาศไม่ให้ประชาชนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต อยู่กันแต่ในบ้าน กระนั้นก็ยังมีคนตายเพราะอหิวาต์ประมาณ ๓ หมื่นคน ศพกองอยู่ตามวัดเป็นภูเขาเลากาเพราะฝังและเผาไม่ทัน บ้างก็แอบเอาศพทิ้งลงในแม่น้ำลำคลองในเวลากลางคืน จึงมีศพลอยเกลื่อนไปหมด ประชาชนต่างอพยพหนีออกไปจากเมืองด้วยความกลัว พระสงฆ์ทิ้งวัด งานราชการและธุรกิจทั้งหลายต้องหยุดชะงัก ผู้คนที่ไม่หนีไปก็เพราะมีภาระในการดูแลคนป่วยและจัดการศพของญาติมิตร
       
       คนที่เป็นอหิวาต์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกนักโทษ ทาส และสามัญชนทั่วไป ที่ไม่ค่อยจะมีความระมัดระวังในการกินอยู่ ส่วนคนที่มีฐานะดีก็จะมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้น้อยกว่า

       

       สำหรับในพระบรมมหาราชวังและบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์นั้น ได้มีการจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดมาก่อนแล้ว โดยใช้น้ำจากต้นน้ำเพชรบุรีที่เป็นน้ำบริสุทธิ์จากป่าเขา ไหลผ่านกรวดทราย ตักใส่โอ่งลำเลียงมาทางเรือ
       
       อหิวาต์เวียนมาทุกฤดูแล้งในเดือนเมษายน แต่พอถึงเดือนกรกฎาคมเมื่อมีฝนตกลงมาอย่างหนัก ชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายในแม่น้ำลำคลองให้ไหลลงสู่ทะเล อหิวาต์ก็จะหายไปเองในทันทีที่เข้าฤดูฝน
       
       ต่อมาในปี ๒๓๙๒ อหิวาต์ได้ระบาดหนักอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้เกิดขึ้นที่ปีนังก่อน แล้วแพร่ระบาดมาจนถึงกรุงเทพฯ เรียกกันว่า “ห่าลงปีระกา” ในระยะเวลาช่วง ๑ เดือนแรกที่เริ่มระบาด มีผู้เสียชีวิตถึง ๑๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ คน และตลอดฤดูตายถึง ๔๐,๐๐๐ คน เจ้าฟ้ามงกุฎฯ คือรัชกาลที่ ๔ ซึ่งขณะนั้นดำรงเพศพรรพชิตเป็นพระราชาคณะ ทรงบัญชาให้วัดสามวัด คือ วัดสระเกศ วัดบางลำภู (วัดสังเวชวิศยาราม) วัดตีนเลน (วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร หรือวัดเชิงเลน) เป็นสถานที่สำหรับเผาศพ มีศพที่นำมาเผาสูงสุดถึงวันละ ๖๙๖ ศพ แต่กระนั้นศพที่เผาไม่ทันก็ถูกกองสุมกันอยู่ตามวัด โดยเฉพาะวัดสระเกศมีศพส่งไปไว้มากที่สุด ทำให้ฝูงแร้งไปลงทึ้งกินซากศพ จนลานวัด บนต้นไม้ บนกำแพง และหลังคากุฏิเต็มไปด้วยแร้ง แม้เจ้าหน้าที่จะถือไม้คอยไล่ก็ไม่อาจกั้นฝูงแร้งที่จ้องเข้ารุมทึ้งซากศพอย่างหิวโหย และจิกกินซากศพจนเห็นกระดูกขาวโพลน พฤติกรรมของ “แร้งวัดสระเกศ” ที่น่าสยดสยอง จึงเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่ว
       
       “โรคห่า” ยังคงมาเยือนเมืองไทยทุกปี ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ และปี พ.ศ.๒๔๑๖ มีคนตายในช่วงวันที่ ๒๒ มิถุนายน จนถึงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม เป็นจำนวน ๖ พันกว่าคน ซึ่งน้อยลงมาก แต่ในปี ๒๔๒๓ สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งคนไทยพอจะมีความรู้ในการป้องกันกำจัดอหิวาต์ขึ้นบ้าง กลับมีคนตายเป็นจำนวนหมื่น

       

        ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้ กรมสุขาภิบาลได้มีการจัดพิมพ์ใบปลิวออกแจกจ่ายประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับอหิวาต์เป็นครั้งแรก แนะนำไม่ให้เอาของโสโครกหรือเสื้อผ้าของคนป่วยทิ้งในแม่น้ำลำคลอง อย่ากินอาหารที่บูดเสีย เสาะท้อง หรือรสจัด ให้กินแต่น้ำต้มหรืออาหารที่ไม่มีแมลงวันตอม
       
       ส่วนการรักษานั้น ถ้าเริ่มรู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการอืดเฟ้อ ให้กินยาแก้ท้องเฟ้อประเภทการบูนหรือน้ำไพล
       
       ถ้าถึงขั้นอาเจียน ถ่ายท้องมาก ก็มียาสำหรับอหิวาต์ผลิตออกมาแล้ว ของห้างโอสถสภา สลากบอกว่า “ยาแก้อหิวาตกโรค” ส่วนห้างบีกริมของฝรั่งก็มีออกมาเช่นกันเรียกกันว่า “ยาขวดแตก”
       
      จนกระทั่งในปี ๒๔๕๗ ได้มีการผลิตน้ำประปาขึ้นในกรุงเทพฯ อหิวาต์จึงบรรเทาเบาบางลงมาก แต่ก็ยังไม่ขาดหายไป แม้ในทุกวันนี้ก็ยังมีอหิวาต์เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนเมษายน แต่ความรู้และสุขาภิบาลในสมัยนี้ทำให้อหิวาต์ไม่สามารถระบาดคร่าชีวิตผู้คนได้มากมายอย่างในสมัยก่อน

        :96: :96: :96:

       ในตอนที่คำว่า “แร้งวัดสระเกศ” โด่งดังนั้น มีอีกคำที่ถูกกล่าวขาน แต่ในความหมายตรงกันข้าม กลับเป็นเรื่องสนุกสนาน ก็คือคำว่า “ไก่งวงวัดสระเกศ”
       
       มีเรื่องเล่ากันว่า มีชายคนหนึ่งเกิดพิเรน จับแร้งตัวหนึ่งใส่กระสอบแล้วแบกไปที่บ้านฝรั่งตอนก่อนถึงคริสต์มาส ๔-๕ วัน แล้วบอกว่ามีไก่งวงมาขายในราคาถูก เป็นไก่งวงที่เลี้ยงไว้ในทุ่งจึงเปรียวมากต้องใส่กระสอบไว้ ฝรั่งชะโงกหน้าลงมาดู ชายคนนั้นก็เผยอปากถุงให้เห็นหัวแดง ตัวใหญ่เท่าไก่งวงดิ้นขลุกขลักอยู่ในกระสอบ จึงรับซื้อไว้ในราคา ๔ บาท
       
       รุ่งขึ้นฝรั่งสั่งให้พ่อครัวเอาไก่งวงออกมายืดเส้นยืดสายก่อนที่จะตายในกระสอบ แต่พอเปิดกระสอบปล่อยออกมา แร้งก็วิ่งอ้าวแล้วบินหนีไป
       เรื่องนี้เล่ากันอย่างสนุกสนานไปทั่ว ทำให้คำว่า “ไก่งวงวัดสระเกศ” เป็นคำฮิตของบางกอกในสมัยนั้นไปด้วย


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000033693
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7283
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สาธุ เป็นช่วงเหตุการณ์ ที่สำคัญ ในสมัยหลวงปู่ เลยนะอันนี้

 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ