ธรรมที่ทำให้สมาธิมีกำลังตั้งมั่น
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พลสูตร [๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร
เพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
- เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้ไม่กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑
- ไม่กระทำติดต่อ ๑
- ไม่กระทำความสบาย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุพล
ภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม
- เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
- เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑
- เป็นผู้กระทำติดต่อ ๑
- เป็นผู้กระทำความสบาย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ฯ
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถาพลสูตร พึงทราบวินิจฉัยในพลสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พลตํ ได้แก่ ความเป็นผู้มีกำลัง คือ ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง(ในสมาธิ).
บทว่า อสาตจฺจการี ความว่า ไม่กระทำให้ติดต่อกัน.
คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง. จบอรรถกถาพลสูตรที่ ๘
ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน