ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มงคลสูงสุดของศิษย์ "ล้างพระบาท" ไม่ใช่แค่ธรรมเนียมประเพณี แต่เพราะกตัญญู  (อ่าน 1112 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




มงคลสูงสุดของศิษย์ "ล้างพระบาท" ไม่ใช่แค่ธรรมเนียมประเพณี แต่เพราะกตัญญูที่มีเต็มหัวใจ แบ่งปันเรื่องราวดีๆ จากศิษย์ใกล้ชิดสมเด็จญาณฯ

ล้างพระบาท มงคลสูงสุด ที่ลูกศิษย์ได้พึงปฏิบัติ

ไม่ต้องแค่พระสงฆ์ แต่คนธรรมดาก็ตัองล้างเท้า เมื่อจะย่ำลงในที่สะอาด ในภาพนี้อดีต ราวปี พ.ศ.๒๕๔๑ ร.ต.อ.ธรรมนูญ สมบูรณ์ไพศาล ได้ล้างพระบาท สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก หลังเสด็จกลับจากเที่ยวบิณฑบาต ณ หน้าตำหนักคอยท่าปราโมช คณะเหลืองรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร
 
เป็นที่ทราบดี ตามที่ได้เขียนเล่าเรื่องในอดีตมาหลายครั้ง ถึงเรื่อง ถอดรองพระบาท เมื่อเสด็จออกจากประตูรั้วกำแพงวัด ด้วยความเคร่งในปฏิบัติของพระองค์ท่าน จะทรงถอดรองพระบาท เพื่อไม่ย่ำ ลงยังบ้านผู้คน เมื่อกลับยังวัด ก่อนขึ้นกุฏิ (ตำหนักคอยท่าปราโมช)ลูกศิษย์ จะล้างพระบาทถวาย ซึ่งถือเป็นเรื่องของมงคล เรียกได้ว่า สรรพนามที่ใช้แทนพระองค์ท่าน เราเรียกว่า "ฝ่าพระบาท" อันเป็นราชาศัพท์ ที่ใช้สืบกันมาแต่โบราณราชประเพณี ในชั้นสมเด็จพระสังฆราช

การล้างพระบาท อาจจะไม่ใช่ประเพณี หรือขนบธรรมเนียม แต่เป็นการกระทำสำหรับผู้ที่ให้ความเคารพรักในบุพการีของคนทั่วไป อย่างน้อย ลูกก็ควรได้ล้างเท้าให้พ่อ แม่ บุพการี สักปีละ ๑ ครั้ง ในอดีตลูกศิษย์ จะกราบพระบาท และขอนำน้ำล้างพระบาท พร้อมด้วยนำผ้ามาเช็ดให้แห้ง ผ้าผืนนั้น มักจะเก็บไว้เพื่อความเป็นมงคลแด่ตนเอง ถึงกระทั่ง เมื่อครั้งสิ้นพระชนม์ ลูกศิษย์ก็ได้นำผ้าสรงเช็ดพระเศียร เช็ดพระพักตร์ เช็ดพระองค์ และนำผ้าอีกผืนหนึ่งเช็ดพระบาท แล้วนำเก็บไว้

 


บิณฑบาต เป็นนิสสัยสี่ ของพระสงฆ์

๑. เที่ยวบิณฑบาต คือ ให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต โดยอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ โดยปัจจัยที่ได้จากการบิณฑบาตนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่บริสุทธิ์
๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล คือ การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ ภิกษุในสมัยพุทธกาลจะเก็บมาย้อมเย็บเป็น จีวร สบง ไว้นุ่งห่ม
๓. อยู่โคนไม้ เนื่องจาก ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต เมื่อทิ้งบ้านเรือนมาออกบวชก็มักจะอาศัยอยู่ในป่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็มิได้ยกเว้น ต่อมาภายหลังจึงมีผู้ศรัทธาสร้างกุฏิถวาย
๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ การฉันยารักษาโรคด้วยยาดองน้ำมูตร




เรื่องเล่า #ป๊อปวัดบวร
ผู้ถ่ายภาพ คุณณรงค์ เสริมสกุลวัฒน์
ที่มา FB : เพจป๊อปวัดบวร
เรียบเรียงโดยกิตติ จิตรพรหม
http://www.tnews.co.th/contents/393219
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ