ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จริงหรือหลอก.? Facebook ทำร้ายสมอง  (อ่าน 906 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จริงหรือหลอก.? Facebook ทำร้ายสมอง
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2017, 07:40:21 am »
0



จริงหรือหลอก.? Facebook ทำร้ายสมอง

นอกจากทำลายสมอง วันนี้เครือข่ายสังคมยักษ์ใหญ่ 'เฟซบุ๊ก' (Facebook) ถูกโจมตีว่าผู้ใช้อาจได้รับผลกระทบรอบด้านชนิดที่หลายคนนึกไม่ถึง ข้อมูลเหล่านี้ทยอยออกจากปากอดีตผู้บริหารที่เคยคลุกคลีกับ Facebook ในระยะแรก แน่นอนว่าเราผู้ใช้ไม่ควรปล่อยให้ 'คนกลุ่มเดียว' มาเป็นผู้ตัดสินว่าเทคโนโลยีโซเชียลปลอดภัยกับสังคมหรือไม่ ในวันที่ Facebook ก้ำกึ่งเหลือเกินระหว่างความดีและร้าย ชัดเจนอยู่เรื่องเดียวคืออิทธิพลที่ครอบคลุมคนทั้งโลก

เบื้องต้น แพทย์ด้านระบบประสาทของประเทศไทยให้ความเห็นส่วนตัวว่า สมองของคนยุคดิจิทัลที่ถูกกระตุ้นโดย Facebook ทุกวันนี้ไม่ต่างอะไรจากการกระตุ้นที่เกิดจากสื่อในอดีต การรับข้อมูลผ่านตาแล้วแสดงออกทางมือนั้นเป็นเรื่องปกติของคนทุกยุคสมัย ซึ่งผลกระทบกับสมองจะเกิดขึ้นแน่นอนหากคนผู้นั้นใช้งานเฉพาะ Facebook ตลอดเวลาอย่างเดียวเท่านั้น

 


ดีหรือร้าย.?

17 ธันวาคม 2017 เจ้าพ่อ Facebook ออกแถลงการณ์ยอมรับว่าการใช้งานเครือข่ายสังคมอาจทำให้ผู้ใช้บางกลุ่มรู้สึกแย่ทั้งในแง่สุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยเผยแพร่งานวิจัย แนะนำการใช้เครือข่ายสังคมให้เกิดผลดีที่สุด

Facebook อ้างผลงานวิจัยที่จัดทำเองว่าความรู้สึกแย่ของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มักเกิดขึ้นจากการอ่านอย่างเดียว ไม่ตอบโต้กับผู้คนเลย การยอมรับอย่างกล้าหาญเช่นนี้ทำให้สื่อต่างประเทศวิจารณ์ว่า เหตุผลที่ทำให้ Facebook ยอมรับคือเพราะ Facebook กำลังพยายามเดินบนทางคู่ขนานระหว่างการทำความดีให้สังคม ไปพร้อมกับสร้างธุรกิจโฆษณาให้ยิ่งใหญ่ได้ต่อไป

@@@@@@

สิ่งที่ทำให้ Facebook ถูกวิจารณ์เช่นนี้เพราะกระแสโจมตี Facebook ที่นักวิจัยหลายคนพยายามจุดประกายให้ชาวโลกตระหนักว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างผิดวิธี อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกไม่ดี ทั้งอารมณ์อิจฉา หรืออารมณ์ซึมเศร้าที่อาจเพิ่มขึ้น การโจมตีนี้หนักหน่วงยิ่งขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่เห็นชัดที่สุดคือฌอน ปาร์กเกอร์ (Sean Parker) ผู้ก่อตั้งบริการแชร์เพลงออนไลน์อย่างแนปสเตอร์ (Napster) และอดีตประธานกรรมการบริษัทคนแรกของ Facebook ที่ออกมาบอกว่าตัวเขาเป็น 'ผู้ต่อต้านเครือข่ายสังคม' ซึ่งไม่ได้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อีกต่อไป เพราะเครือข่ายสังคมเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอในจิตของมนุษย์

ฌอนมองว่า Facebook ประสบความสำเร็จบนการใช้ประโยชน์จากความเปราะบางในจิตใจคน ผ่านวงจรที่ทำให้คนอยากโพสต์เพื่อให้ได้รับยอดไลค์และความเห็น จุดนี้ ฌอนเทียบว่าการใช้ Facebook ไม่ต่างกับการรับประทานอาหารขยะไร้ประโยชน์ เพราะทุกคนจะได้ความพึงพอใจทันทีเมื่อโพสต์เพื่อยอดไลค์และความเห็น เรียกว่ากระชุ่มกระชวยได้เร็วและง่ายแต่ไม่มีประโยชน์ โดยถล่มซ้ำอีกว่า 'มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าสื่อโซเชียลทำอะไรกับสมองของเยาวชน'
 
@@@@@@

นอกจากฌอน ยังมีชามัท พาลีหปิติยา (Chamath Palihapitiya) อดีตผู้บริหาร Facebook ที่นั่งเก้าอี้ดูแลการเติบโตของผู้ใช้ Facebook ช่วงปี 2005 ถึงปี 2011 ร่วมด้วยโรเจอร์ แมกนามี (Roger McNamee) นักลงทุน Facebook ยุคแรก และเจรอน ลาเนียร์ (Jaron Lanier) นักเทคโนโลยีที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าตัวพ่อของวงการวีอาร์ (virtual reality) เสมือนจริง

Palihapitiya ที่ปัจจุบันเป็นซีอีโอบริษัทลงทุนชื่อโซเชียลพลัสแคปปิตอล (Social + Capital) มุ่งให้ทุนสนับสนุนบริษัทด้านการดูแลสุขภาพและการศึกษา เรียกการโต้ตอบบนโลกโซเชียลว่าเป็น 'วงจรการตอบสนองที่มีโดพามีนเป็นแรงผลักดัน' ทำนองว่าการไลค์ Like หรือการออกความเห็นบนโซเชียลนั้นเป็นความคิดเห็นแบบสั้นที่ออกแบบมาให้เข้ากับสาร dopamine ในสมองมนุษย์ ทำให้สามารถผลักดันให้โซเชียลมีเดียเป็นที่นิยมมากขึ้นจน 'ทำลายกระบวนการทางสังคม'

@@@@@@

ทั้งหมดนี้ทำให้ Palihapitiya บอกว่ารู้สึกผิดอย่างมากที่เข้าไปมีส่วนทำให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น พร้อมกับไม่ลืมที่จะแนะนำให้ผู้ร่วมงานเสวนาที่สถาบันชื่อดัง 'สแตนฟอร์ด บิสเนส สกูล' พักตัวเองจากสื่อสังคมออนไลน์อย่างจริงจัง

ด้าน McNamee นักลงทุนรายนี้ให้ความเห็นว่าไม่เพียง Facebook แต่กูเกิล (Google) ยังปลูกฝัง 'พฤติกรรมเสพติด' ในผู้ใช้ของตัวเอง ขณะที่ Lanier ซึ่งเป็นขาประจำผู้วิพากษ์วิจารณ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และเทคโนโลยีมานาน กล่าวว่าสื่อโซเชียล ออนไลน์จะเร่งให้เกิดความขัดแย้งและความเกลียดชัง ตราบใดที่สื่อโซเชียลยังต้องหารายได้ด้วยการดึงคนเข้าไปใช้งาน




รายใหญ่สุด ผิดมากสุด.?

การวิจารณ์ของทุกคนไม่ได้หมายถึง Facebook เท่านั้น แต่หมายความรวมถึงระบบนิเวศบริการที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งหมด ตั้งแต่ทวิตเตอร์ (Twitter), สแนปแชต (Snapchat) และพินเทอเรสต์ (Pinterest) เพียงแต่อิทธิพลที่สูงที่สุดทำให้ Facebook มองว่ามีความผิดติดตัวมากที่สุด เพราะทำให้โลกเห็นการไม่ก่อเกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น ไม่ร่วมมือกัน ข้อมูลผิด และลดทอนความจริงบน Facebook ได้ชัดที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่น

เรื่องนี้เห็นได้ชัดจากคำพูดของ Palihapitiya ที่เหมาหมดว่าระบบฟีดแบ็กหรือระบบแสดงความรู้สึกที่สร้างขึ้นมาบนโซเชียล ทั้งการแสดงออกด้วยการให้หัวใจ กดไลค์ หรือยกนิ้วหัวแม่มือ ล้วนทำลายการทำงานของสังคม

@@@@@@

อย่างไรก็ตาม Facebook เป็นรายเดียวที่ออกมาให้ความเห็น โดยโฆษก Facebook ออกมาแก้ต่างกรณีของ Palihapitiya ว่าผู้บริหารรายนี้นั่งเก้าอี้ใน Facebook ตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว สถานะและจุดมุ่งหมายของ Facebook ในวันนี้ไม่เหมือนเดิม และบริษัทพยายามหาสมดุลย์ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับผลดีที่สุด
 
สิ่งที่ Facebook ไม่ได้ชี้แจงคือผลกระทบกับสมอง ซึ่งมีนักวิจัยตั้งสมมติฐานว่าสมองของผู้ใช้ Facebook นั้นไม่ต่างจากสมองของคนที่ติดน้ำตาล และเป็นรูปแบบสมองเดียวกับคนที่ติดโคเคน

นอกจากน้ำตาล ที่เคยถูกมองเป็นสารเสพติดอย่างหนึ่ง ยังมี 'เกลือ' ที่มีผลต่อสมองเหมือนยาเสพติดที่ทำให้คนติดรสเค็ม เช่นเดียวกับความรัก ที่นักวิจัยบางรายมองว่าสารกระตุ้นความอยากตัวเดียวกันในเซลสมอง เกิดความเชื่อมโยงกับ 'โดพามีน' (Dopamine) หนึ่งในสารสื่อประสาทที่อดีตผู้บริหาร Facebook กล่าวถึง
เรื่องนี้สอดคล้องกับงานวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ศาสตราจารย์โอเฟอร์ ทูเรล (Ofir Turel) สรุปผลหลังจากสังเกตการทำงานของสมองของอาสาสมัครที่เข้าร่วมทดลองจำนวน 20 คน พบว่าการทำงานของสมองของกลุ่มตัวอย่างนั้นคล้ายกับสมองของผู้เสพสารเสพติดระดับอ่อน แม้กลุ่มตัวอย่างจะสามารถควบคุมพฤติกรรมตัวเอง แต่ก็ไม่มีแรงจูงใจพอที่จะควบคุม เพราะทุกคนไม่คิดว่าผลจากการติดนั้นจะรุนแรงและมีผลต่อชีวิต




แพทย์ไทยมอง 2 ด้าน

เรื่องนี้อาจารย์นายแพทย์สุวัฒน์ ศรีสุวรรณานุกร หัวหน้าสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ให้ความเห็นที่ต่างออกไป โดยบอกว่า Dopamine เป็นสารสื่อประสาทที่จำเป็น และการใช้งานเครือข่ายสังคมนั้นเป็นไปตามยุคสมัย ภาวะทำร้ายสมองไม่น่าเกี่ยวกับสื่อโซเชียลและสมาร์ทโฟน

'สมองต้องมีข้อมูลผ่านให้มีการใช้งานอยู่ตลอด จะได้ไม่เสื่อม การอ่านและชมสื่อโซเชียลมีด้านดีอยู่ ไม่ได้มีข้อเสียอย่างเดียว ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นไปตามยุค คนเรามีหน้าที่ปรับตัวให้สมดุลย์ ส่วนสมองก็ต้องทำหน้าที่ต่อสิ่งกระตุ้นที่เปลี่ยนแปลงไป'
 
@@@@@@

ในภาพรวม อาจารย์นายแพทย์สุวัฒน์มองว่าการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านสายตา แล้วแสดงออกทางมืออยู่ตลอดเวลานั้นยังมีส่วนดีมากกว่าการไม่มีอะไรมากระตุ้นเลย โดย Dopamine เป็นสารที่ต้องหลั่งต้องมีอยู่แล้วในสมอง

'สมัยก่อนเราไม่มีสื่อโซเชียล แต่ก็มีตัวกระตุ้นอื่นอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบไปเท่านั้น ผมคิดว่าการกระตุ้นที่เกิดขึ้นในยุคสมัยไหนก็ไม่ต่างกัน ดังนั้นในเบื้องต้นโซเชียลมีเดียไม่ได้ทำลายสมองโดยตรง ยกเว้นแต่การไม่มีปฏิสัมพันธ์อื่นเลย ใช้แต่โซเชียลอย่างเดียวเท่านั้น'

@@@@@@

คำสรุปนี้ตรงกับสิ่งที่ Facebook พยายามอ้างว่าผู้ใช้ที่ 'อ่านอย่างเดียว ไม่ตอบโต้กับผู้คน' เท่านั้นที่จะรู้สึกแย่ เนื่องจากงานวิจัยที่ Facebook ดำเนินการเองพบว่าการเลื่อนฟีดข่าวเพื่อดูข้อมูลไปเรื่อย ๆ (อย่างไม่มีจุหมาย) เป็นเรื่องไม่ดี แต่การเลื่อนดูฟีดข่าว และการคลิกไลค์ รวมถึงการออกความคิดเห็นที่เจาะจง ล้วนเป็น 'สิ่งที่ดี' ที่ทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความรู้สึกดีขึ้น

ไม่แน่ สิ่งที่เราต้องกังวลบน Facebook อาจไม่ใช่เรื่องสมองหรือสุขภาพ แต่เป็นเรื่องภัยล่อลวงทั้งสินค้าปลอม ข่าวปลอม คำพูดปลอม และเรื่องอื่นที่อาจนำความเสียหายมาให้ผู้ใช้ Facebook ที่ไม่รู้เท่าทัน ซึ่ง Facebook ก็พยายามการันตีว่าจะเร่งลดความถี่ในการแสดงเนื้อหาเหล่านี้ลงให้มากที่สุด
ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้ทุกคนใช้ Facebook ต่อไปแต่โดยดี.



ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
https://today.line.me/TH/pc/article/จริงหรือหลอก+Facebook+ทำร้ายสมอง-yqplDG 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ