« เมื่อ: เมษายน 08, 2018, 06:55:44 am »
0
ประกอบพิธีกรรม อย่างไร.? ไม่ให้ “กำพิธี” ธรรมะจากพระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
ถาม : พระอาจารย์คะ ทำไมศาสนาพุทธมีการ ประกอบพิธีกรรม มากจัง…ขอสารภาพว่าเวลาไปวัดแล้วเจอพิธีกรรมที่เป็นระเบียบแบบแผนมักเกิดอาการ “วัยรุ่นเซ็ง” เสมอๆ (และแน่ใจว่าไม่ใช่วัยรุ่นเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็เซ็งค่ะ!)

ตอบ : นั่นเป็นเพราะส่วนมากคนเราชอบ “กำ” พิธีมากกว่าทำพิธีกรรมไง จริงๆ แล้วพิธีกรรมเป็นอุบายแยบคายที่ถูกคัดสรรกลั่นกรองมาตั้งแต่สมัยก่อน ส่วนใหญ่แล้วพิธีกรรมเป็นการเตรียมความพร้อม เตรียมจิตให้ทุกคนมีศูนย์รวมใจก่อนจะเริ่มพิธี ทุกคนอาจกำลังเมาท์กระจาย บีบสิว เปียแชร์ แต่เมื่อท่านประธานเริ่มจุดธูปเทียน ทุกคนก็จะพร้อมใจกันหันหน้าไปทางโต๊ะหมู่บูชา…พอบรรยากาศเงียบ ปิดวาจากายสงบ จิตก็สงบ พร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป เช่น การสวดมนต์หรือฟังธรรม
นอกจากเตรียมความพร้อมให้จิตแล้ว พิธีกรรมยังมีธรรมะแฝงให้คนได้ฉุกคิดเกิดปัญญาอีกด้วย แต่นั่นหมายถึงเราต้องถอดรหัสพิธีกรรมให้ได้ก่อนว่า เราจะประกอบพิธีกรรมอย่างไรไม่ให้ “กำพิธี” ถ้าถอดรหัสได้ เราก็จะได้ปัญญาเป็นของแถม เช่น เจ้าภาพจัดงานทำบุญใหญ่เสียงบประมาณไปตั้งเยอะ แต่พอไม่มีใครเตรียมน้ำมาให้กรวดน้ำก็ไปด่าแม่บ้านว่าทำไมไม่เตรียมของให้ดี
@@@@@@@
ในเมื่อใจขุ่นแล้วอย่างนี้ การกรวดน้ำจะได้กุศลอะไร พระบางรูปที่ท่านลึกซึ้งก็จะบอกว่าไม่เป็นไรโยม สาระไม่ได้อยู่ที่น้ำน้ำเทตรงไหนก็อยู่ตรงนั้นแหละ เป็นสื่อกลางเฉยๆ แค่นี้เราก็เห็นตำตาแล้วว่า ใจของเจ้าภาพกำลังทุกข์หรือสุขอิสระหรือไม่อิสระ หนักหรือเบา
พอเห็นแล้วเรานำมาพิจารณาให้เกิดปัญญา ว่าความยึดมั่นถือมั่นทำให้ใจหนักเป็นทุกข์…หากได้พิจารณามากๆ ก็มีสิทธิ์ที่ใจจะหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ได้เลยนะ
ที่มา : นิตยสาร Secret
ภาพ : Ramakrishnan Nataraj on Unsplash
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/30428.html