ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะคนถ่อยเป็นอย่างไร.? พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คนถ่อย ๒๐ ประเภท  (อ่าน 1087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ดูเอาเถิด.. ลักษณะคนถ่อยเป็นอย่างไร.? พระพุทธเจ้าตรัสไว้ คนถ่อย ๒๐ ประเภท.. เตือนสติ! ความถ่อยเกิดจากการกระทำ ไม่ใช่ชาติกำเนิด

การกระทำที่ไม่ดี ชั่วช้า เลวทราม  อันเป็นที่รังเกียจของสังคม ที่เรียกกันคนประเภทนี้ว่าเป็น “คนถ่อย” นั้น ไม่ได้วัดกันที่ชาติกำเนิดว่าเกิดในตระกูลต่ำหรือสูง แต่ดูจากการกระทำอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องเดือดเนื้อร้อนใจ

พระพุทธเจ้าได้แสดงไว้ใน   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗  ปรากฏใน วสลสูตรที่ ๗  http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7292&Z=7379

ที่ว่าด้วยเรื่องคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อย
สาเหตุที่พระองค์แสดงธรรมในเรื่องนี้อันเนื่องมาจากครั้งหนึ่งที่พระองค์ได้เสด็จบิณฑบาตร ณ นครสาวัตถี ขณะนั้นอัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระองค์เสด็จมาแต่ไกล จึงได้พูดขึ้นมาว่า 
    “หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนโล้น หยุดอยู่ที่นั่นแหละสมณะ หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนถ่อย ฯ”

    พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามกลับไปว่า
    “ดูกรพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยหรือ ฯ”

@@@@@@

อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ปฏิเสธว่าไม่รู้จัก พระพุทธองค์จึงได้ตรัสพระคาถาประพันธ์ อันว่าด้วยคนถ่อย หรือ ธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อย  ดังนี้

๑. คนมักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่อย่างเลว มีทิฐิวิบัติ และมีมายา พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย
๒. คนผู้เบียดเบียนสัตว์ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหนไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๓. คนเบียดเบียน เที่ยวปล้น มีชื่อเสียงว่า ฆ่าชาวบ้านและชาวนิคม พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๔. คนลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ไม่ได้อนุญาตให้ ในบ้านหรือในป่า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หาได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๖. คนฆ่าคนเดินทาง ชิงเอาสิ่งของ เพราะอยากได้สิ่งของพึงรู้ว่า เป็นคนถ่อย ฯ
๗. คนถูกเขาถามเป็นพยาน แล้วกล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแห่งตนก็ดี เพราะเหตุแห่งผู้อื่นก็ดี เพราะเหตุแห่งทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๘. คนผู้ประพฤติล่วงเกิน ในภริยาของญาติก็ตาม ของเพื่อนก็ตาม ด้วยข่มขืนหรือด้วยการร่วมรักกัน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๙. คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๐. คนผู้ทุบตีด่าว่ามารดาบิดา พี่ชายพี่สาว พ่อตาแม่ยายแม่ผัวหรือ พ่อผัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๑. คนผู้ถูกถามถึงประโยชน์ บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์พูดกลบเกลื่อนเสีย พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๒. คนทำกรรมชั่วแล้ว ปรารถนาว่าใครอย่าพึงรู้เราปกปิดไว้ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๓. คนผู้ไปสู่สกุลอื่นแล้ว และบริโภคโภชนะที่สะอาดย่อมไม่ตอบแทนเขาผู้มาสู่สกุลของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๔. คนผู้ลวงสมณะ พราหมณ์หรือแม้วณิพกอื่น ด้วยมุสาวาท พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๕. เมื่อเวลาบริโภคอาหาร คนผู้ด่าสมณะหรือพราหมณ์และไม่ให้โภชนะ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๖. คนในโลกนี้ ผู้อันโมหะครอบงำแล้ว ปรารถนาของเล็กน้อย พูดอวดสิ่งที่ไม่มี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๗. คนเลวทราม ยกตนและดูหมิ่นผู้อื่น ด้วยมานะของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๘. คนฉุนเฉียว กระด้าง มีความปรารถนาลามก มีความตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๑๙. คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือติเตียนบรรพชิต หรือคฤหัสถ์สาวกของพระพุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย ฯ
๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นแลเป็นคนถ่อยต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก คนเหล่าใดเราประกาศแก่ท่านแล้วคนเหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย ฯ


     @@@@@@

     พระพุทธองค์ทรงกล่าวต่อไปว่า
    “บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ท่านจงรู้ข้อนั้นฯ”

ตามที่ยกมาข้างต้น เป็นเพียงการย่อความเท่านั้น ท่านผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดฉบับเต็มได้ที่  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗  ปรากฏใน วสลสูตรที่ ๗  http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7292&Z=7379

สรุปใจความสำคัญคือ การเป็นคนถ่อยนั้น สาเหตุไม่ได้เกิดมาจากชาติกำเนิด ไม่ว่าจะเกิดในตระกูลที่ดีหรือไม่ดี ไม่ได้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนถ่อยหรือไม่.? เพราะความถ่อยเกิดมาจากการกระทำของตนเองทั้งสิ้น…ถ้าไม่อยากถูกเรียกว่าคนถ่อย ก็จงถอยห่างจากลักษณะการกระทำทั้ง ๒๐ ประเภท นั้นให้จงได้


 
อ้างอิงข้อมูลจาก : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ วสลสูตรที่ ๗ http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=7292&Z=7379
เครดิตภาพ : Napapawn ,เรียบเรียงโดย นภาพร เครือชัยสุ
http://www.tnews.co.th/contents/448358
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ