เตภูมิกถา รตนตยปณามคาถาคาถานมัสการ - บานแพนก
๑. วนฺทิตฺวา สิรสา พุทธํ สหสฺสธมฺม(๑) คณุตฺตมํ
อิทํ ติภูมิสง.เขปํ(๒) ปวกฺขามิ กถํ อิธ ฯ
๒. สุจิรภชิตุกามํ สชฺชนาลิยสโมหํ
มธุรสมตทานํ ปารมีปารุฬฺหถา
คุณยํ สรคนฺธํ กณฺณิกาฉกวณฺณํ
ชณจรณสโรชํ ปีติปาโมชฺเฌภิวนฺเท ฯ
๓. วิกสิตวิทิตานํ สชฺชราโธรุณฺณนํ
สชฺชนหทยสา เม สาวนาคาเม กุสลยุเทนฺตํ
อกุสลติมรนฺธํ ธสนํ ปาภูตํ
มุณิวรมวลตฺถํ ธมฺมทิปภิวนฺเทมิ ฯ
๔ สชนมนสโรชํ พุทธิวารีสชผลํ
อุภริยภชิตตฺต- ธมฺมสการสํกติ(๓)
วิมลธวสลิลํ(๔) รสิปญฺญายุเปต
สีลาธรํ วรสํฆํ(๕) อุตมตฺเตภิวนฺเท ฯ
๕–๙. ชิโนรุณา วิภาเวนฺโต เหมปาสาทปญฺญวา(๖)
สทฺธาจลผลา พุทฺธํ พาหุสจฺจธนาลโย
กูปภูปนฺธยนฺโต โย ราชา สุนุรนฺธชโก
สุโขเทยฺยนรินฺทสฺส ลิเทยฺโย นาม อตฺรโช
อภิราโม มหาปญฺโญ ธิติมา จ วิสารโท
ทานสิลคุณุเปโต มาตาปิตุภโรปิ จ
ธมฺมธโร สกุสโล สพฺพสตฺเถ จ สุปากโฏ
อยํ ภูมิกถา นาม รญฺญา เภเทน จ
สชนาลยฺยธรมฺหิ ถปิตา ทยภาสฺโต
พุชฺฌิตุสาสนญฺเจว สกฺกจฺจํ สพฺพโส สทา ฯ____________________________________________________________________
[๑] ตรวจสอบชำระใหม่ตามต้นฉบับมหาช่วยและมหาจันทร์ ในการพิมพ์ครั้งแรก เป็น สสทฺธมมคณุตฺตมํ
[๒] ต้นฉบับของมหาช่วยและมหาจันทร์ เป็น ติสงฺเขปํ คำว่า ภูมิ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้ถูกต้องหลักปัฐยาวัตรฉันท์ โดยข้อกำหนดที่ว่า “บาทหนึ่งมี ๘ คำ”
[๓] ตรวจชำระใหม่ตามต้นฉบับของมหาช่วยและมหาจันทร์ ในการพิมพ์ครั้งแรก เป็น อุทิรินํ ภชิตนฺตํ ธมฺมาลงฺการกตํ
[๔] ตรวจชำระใหม่ตามต้นฉบับของมหาช่วยและมหาจันทร์ ในการพิมพ์ครั้งแรก เป็น วิมลธุวลสีสํ
[๕] ต้นฉบับของมหาช่วยและมหาจันทร์ เป็น สลธรวรสยํ การพิมพ์ครั้งนี้ได้คงไว้ตามเนื้อหาพลความ
[๖] ต้นฉบับของมหาช่วยและมหาจันทร์ เป็น ชโนรณา วิณารวิภาเวนฺโต เหอปาสาปญฺญวา การพิมพ์ครั้งนี้ได้คงไว้ตามเนื้อหาพลความอ้างอิง :-
ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ โดยคณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน
vajirayana.org/ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ/เตภูมิกถา-รตนตยปณามคาถา

คำแปล : คาถานมัสการพระรัตนตรัย[๑]
๑. ข้าพเจ้า(พญาลิไทย) ขอกราบนมัสการพระพุทธเจ้า พร้อมพระสหัสธรรม[๒] และพระสงฆ์ผู้มีคุณอันอุดมด้วยเศียรเกล้า ณ ที่นี้แล้ว จักกล่าวไตรภูมิกถาโดยสังเขปนี้ เป็นลำดับไป
๒. ข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้า ผู้ทรงประสงค์จำแนก(พระสัทธรรม) ให้มั่นคง ให้เป็นศูนย์กลาง(พุทธศาสนา) แห่งนครศรีสัชนาลัย ประทานอมฤตธรรมอันไพเราะ ทรงเต็มเปี่ยมด้วยพระบารมี มีพระฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านออกดุจช่อฟ้า ทรงพระเกียรติคุณ กลิ่นหอมขจรขจายไปทั่วสารทิศ ประดุจดอกบัวคือจรณะที่ผุดขึ้นเหนือน้ำให้เกิดความปีติและปราโมทย์
๓. ข้าพเจ้าขอนมัสการดวงประทีปคือ พระธรรมที่พระมุนีเจ้าผู้ประเสริฐทรงตรัสแสดงไว้แล้ว อันกำจัดกิเลสคือความมืดมนแห่งอกุศลให้หมดปรากฏได้ ทำให้เกิดกุศลศวามดี เป็นที่ปลูกฝังศรัทธาความเลื่อมใสแก่ ชาวศรีสัชนาลัยที่มีใจแจ่มใสเบิกบานในสถานที่สดับพระสัทธรรมเทศนานั้น
๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์เจ้าผู้ทรงศีลอันประเสริฐ ผู้เต็มเปี่ยมด้วยปัญญาดุจแสงสว่าง มีความบริสุทธิ์ดุจน้ำที่สะอาดปราศจากมลทิน ผู้เป็นผลคือทายาทแห่งพระพุทธศาสนา มีดวงใจดุจดังดอกบัวที่เบิกบาน ผู้ปฏิบัติด้วยดีเคารพสักการะในพระสัทธรรม คำสอนที่จำแนกเป็น ๒ อย่าง(คือพระธรรมและพระวินัย) ด้วยความเคารพยิ่ง
๕-๙. พระราชาทรงพระนามว่า “พญาลิไทย” เป็นพระราชากล้าหาญ มีพระปรีชาแตกฉาน เป็นพระโอรสพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย(พญาเลอไทย) มีปัญญาผ่องใสไม่ติดขัด มีเรือนทรัพย์คือพาหุสัจจะ(ความเป็นพหูสูต) ทรงประกาศพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาไม่หวั่นไหว อันปราศจากความมืดมน
เป็นพระราชาผู้เป็นนักปราชญ์ มีความรื่นรมย์ มีพระสติปัญญามั่นคง และองอาจยิ่ง
เป็นพระราชาผู้ทรงธรรม(ทศพิธราชธรรม) บำเพ็ญทานและศีลเป็นคุณูปการ อุปถัมภ์เลี้ยงดูบุพการีคือมารดาและบิดา มีพระปรีชาสามารถปรากฏในสรรพศาสตร์ทั้งปวง พระองค์ผู้ทรงแตกฉาน
มีพระประสงค์จะยกย่องเชิดชู พระ(พุทธ)ศาสนา ด้วยความเคารพตลอดกาลทุกเมื่อ จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ(ไตร)ภูมิกถานี้ขึ้นไว้เป็นภาษาไทย ณ เมืองศรีสัชนาลัย
_____________________________________________________________________
[๑] นายบุญเลิศ เลนานนท์ นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้แปลไว้ครั้งแรกและเป็นผู้ตรวจชำระคำแปลใหม่ในการพิมพ์ครั้งนี้
[๒] ย่อมาจากคาว่า จตุราสีติลหสฺสธมฺมํ ซึ่งแปลว่า แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ หรืออีกนัยหนึ่งหากแปลตามศัพท์คงไว้ไม่รวมพลความ ซึ่งหมายถึง พระธรรมแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศ เช่นเดียวกับคำว่า สหสฺสนโย ซึ่งแปลว่า ท้าวสหัสนัยน์ หมายถึง ท้าวสักกเทวราชมีพระเนตรแลดูได้ทุกทิศอ้างอิง :-
ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ โดยคณะทำงานโครงการวรรณกรรมอาเซียน
vajirayana.org/ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ/คำแปล
ยังมีต่อ โปรดติดตาม...