
การศึกษา ในพระพุทธศาสนา นี้ล้วนแล้วเป็นการศึกษา เข้าไปในจิต ทั้งหมด โดยการศึกษานั้น ใช้ ขันธ์ 5 เป็นที่ศึกษา
รูปขันธ์ มีธาตุ 4 ประกอบ มี กฏตายตัว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีความเกิดเป็นที่เริ่มต้น มีความแก่ และ ความเจ็บเป็นตัวดำเนินไปและ มีความตายเป็นที่สุด
เวทนาขันธ์ มีความรู้สึก สุข ทุกข์ เป็นกลาง ที่ผลัดเวียนเปลี่ยนไปตามสภาพของ สังขาร(กาย) อุตุ(อากาศ) กาล(เวลา) ทั้งที่เป็นส่วนประกอบด้วยอามิส ( มีกิเลส) และ ไม่มีอามิส( ไม่มีกิเลส)
สัญญา มีความจำได้ ในเวทนาขันธ์ ในรูปขันธ์ ล้วนแล้วจำคำว่า สุข ทุกข์ ไว้อย่างสม่ำเสมอเป็นบ่วงผูกพันให้จิต นั้น ยังหลงกับคำว่า รัก ชัง ตลอดเวลา
สังขาร การปรุงแต่งความนึกคิด ไปตามอารมณ์ที่มีสติ และไม่มีสติ หรือ ทั้งที่เป็นกุศล และ อกุศล ตามสภาวะ เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เนื่องเข้ามา
วิญญาณ ความหมายรู้ อารมณ์ ทั้งปวงที่เกิดขึ้น จาก รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
การศึกษา อธิจิต นั้น เป็นการศึกษาตรง คำว่า วิญญาณขันธ์ แต่ใช้การเรียนรู้จาก รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ จึงกล่าวได้ว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น โดยย่อจาก ขันธ์ 5 นั่นเอง
เมธาวี(นักปราชญ์) ผู้ฉลาด ย่อมยังจิตที่ผูกพันกับ กามคุณทั้งห้า ที่เหมือนน้ำ ซัดขึ้นไปสู่ฝั่งแห่งวิปัสสนา ให้เหือดแห้งบนบกฉันใด
ผู้ตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าย่อม ยังจิตให้ ศรัทธา ปราโมทย์ ปีติ ในคำว่า พุทโธ อรหัง ไม่หยุด ฉันนั้นเช่นกัน
เจริญธรรม / เจริญพร