รักตนเหมือนรักคนอื่น ธรรมะโดย ท่าน ส.ชิโนรส
งานศึกษาหลายชิ้นบอกว่า “เด็กอ่อนที่ถูกแม่สัมผัสด้วยความรักอย่างทะนุถนอมจะเจริญเติบโตได้อย่างมีสติปัญญามากกว่าเด็กอ่อนที่ถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างเดียวดาย” ความรักจึงเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ ทุกคนจึงโหยหาความรักกันอยู่เสมอ โดยฉพาะอย่างยิ่งการรักตัวเอง “รักตน”จึงเป็นสุดยอดแห่งความรักสำหรับมนุษย์ การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระมเหสีชื่อมัลลิกา สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติข้อนี้ได้เป็นอย่างดี
บนปราสาทที่โอ่อ่าสูงลิบลิ่วแห่งหนึ่ง จอมรชันย์ซื่อปเสนทิโกศล จ้าครองแควันโกศล กำลังพร่ำรักอยู่กับหญิงงามบ้านนอกชื่อมัลลิกา หญิงงามนางนี้เป็นลูกสาวชาวบ้านธรรมคาสามัญ ท้าวเธอได้พบนางเข้ายามที่เดินตราทัพไปทำสงครามกับพระเจ้าอชาดศัตรูเจ้าครองแคว้นมดข ต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกศลได้อภิเษกนางขึ้นเป็นพระมเหสี เพราะทรงพอพระทัยในความเฉลียวฉลาดและความเป็นกุลสตรีของนาง
@@@@@@
“ใครหนอคือคนที่น้องพี่รักมากที่สุดในปฐพี” จอมราชันย์เริ่มตันด้วยคำหวานหู พร้อมกับกระหยิ่มอยู่ในพระทัยว่า “ข้านี่แหละคือคนที่นางรักมากที่สุด” เพราะไม่มีพระองค์เสียแล้ว หญิงบ้านนอกอย่างมัลลิกาหรือจะได้เป็นถึงพระมเหสี
“อุ๊ย…เสด็จพี่ช่างเขลานัก” มัลลิกาตอบอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม “ผู้ที่น้องรักมากที่สุดนะหรอเพคะ ก็คือตัวน้องน่ะซีคะ แล้วเสด็จพี่ล่ะเพคะ” พอถูกย้อนถามอย่างไม่ตั้งตัวเช่นนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับหมดอารมณ์พร่ำรัก เพราะมันไม่ใช่เวลาพูดเรื่องธรรมะธัมโม
“อือ…พี่นี่แหละคือสุดที่รักของเสด็จพี่” พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงตอบกลับอย่างมะนาวไม่มีน้ำ แต่เมื่อทรงครุ่นคิดถึงสิ่งที่มัลลิกาพูดอีกที พระองค์ก็ร้องอ๋อว่า “ตัวกูคือสุดที่รักของมนุษย์” เหมือนอย่างมัลลิกาว่า
@@@@@@
การสนทนาระหว่างพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาบอกเราว่า “ตัวกูคือยอดแห่งความรักของคน” ความรู้สึกรักตัวรักตนจึงเป็นยอดแห่งความรักทั้งผองของมนุษย์ เหมือนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“เมื่อเหลียวดูทั่วสารทิศ ไม่พบใครอื่นสุดที่รักเท่ากับตน….”
ความรักตัวรักตนจึงอยู่เบื้องหลังการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมค้นความคิด คำพูด หรือการกระทำ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนสะท้อนออกจากความรักตัวรักตนทั้งนั้น แต่การแสดงความรักตัวเองออกมาของมนุษย์มีอยู่ 2 ลักษณะคือ สร้างสรรค์ และ ทำลาย
@@@@@@
1. การรักตัวอย่างสร้างสรรค์ คือ คนที่เอาใจเราไปใส่ใจเขา เรารักตัวเองอย่างไร คนอื่นก็รักตัวเองอย่างนั้น เราต้องการความสุขอย่างไร คนอื่นก็ต้องการควมสุขอย่างนั้น เราอยากได้ความสำเร็จอย่างไร คนอื่นก็อยากได้ความสำเร็จอย่างนั้น คนประเภทนี้มักจะเป็นที่รักของคนอื่น เพราะเข้าใจความรู้สึกคนอื่นเหมือนความรู้สึกตัวเอง เห็นคุณค่า เห็นความดีของคนอื่น คนกลุ่มนี้เปรียบเหมือนน้ำที่เย็นชุ่มฉ่ำ อยู่ที่ไหน ทำงานที่ไหน ก็สร้างความสบายใจ ความสุขใจแก่คนที่นั่น
2. การรักตัวอย่างทำลาย คือ คนที่เห็นแก่ตัว รักแต่ตัวเอง ไม่เคยรักคนอื่น ไม่เคยเห็นใจคนอื่น เห็นคนอื่นได้ดีกว่าก็อิจฉาตาร้อน ทนอยู่ไม่ได้ ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อไม่ให้เขาเท่าเทียมกับตนหรือเกินหน้าเกินตาตน คนประเภทนี้มักเป็นที่รังเกียจของคนอื่น อยู่กับสังคมได้ยาก อยู่ที่ไหน ทำงานที่ไหน มักสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายที่นั่น คนประภทนี้เปรียบเหมือนไฟที่ร้อนรน เข้าไปที่ไหนก็เผาผลาญที่นั่น
การรักตนจึงเป็นสัจธรรมของชีวิต การรักตัวอย่างสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่เราควรมี แต่การรักตัวอย่างทำลายคือสิ่งที่เราควรเว้น
ที่มา : ฉลาดคิด ชีวิตเป็นสุข โดย ส.ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส) สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ
Photo by : Guilherme Stecanella on Unsplash
Secret Magazine (Thailand) มIG @Secretmagazine
ขอบคุณ :
https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/170332.htmlBy ying ,20 August 2019