ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมเรื่องเข้าใจผิดของ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” และเหตุผล ทำไมต้องต้ม 3 นาที  (อ่าน 864 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รวมเรื่องเข้าใจผิดของ “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” และเหตุผล ทำไมต้องต้ม 3 นาที

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์ในโลกโซเชียล เรื่องปริมาณโซเดียมใน “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ที่เยอะจนน่าใจหาย แต่มียี่ห้อหนึ่งที่มีปริมาณโซเดียมไม่ถึง 800 มิลลิกรัม เลยมีการแชร์ความรู้เกี่ยวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การใช้สารขี้ผึ้งหรือแว็กซ์ ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือวิธีการต้มที่ต้องเทน้ำก่อน เดี๋ยวสรุปให้ฟังค่ะว่าเราเข้าใจผิดอะไรบ้าง

@@@@@@

เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีแว็กซ์เคลือบอยู่
เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทำมาจากแป้งสาลี เมื่อได้เส้นแล้วจึงนำไปนึ่งและตัดเป็นก้อน จากนั้นจะนำไปราดน้ำซุป เป่าลม และนำไปทอดกรอบ เมื่อทอดเสร็จแล้วจะนำไปลดอุณหภูมิ และเตรียมบรรจุใส่ซองหรือใส่ถ้วยต่อไป เท่าที่อ่านมาไม่มีแว็กซ์เลยใช่ไหมคะ.?

สรุปคือ ในเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไม่มีแว็กซ์หรือขี้ผึ้งเคลือบอยู่เลยค่ะ ที่เห็นว่าเวลาต้มเส้นเสร็จแล้วมีน้ำมันหรือมีสีจากเส้นติดออกมาจากน้ำ คือน้ำมันและน้ำซุปจากเส้น ไม่ใช้แว็กซ์หรือขี้ผึ้งอย่างที่เข้าใจผิดกัน ตัวแว็กซ์จะไม่ละลายในน้ำร้อน เพราะฉะนั้นน้ำจากการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปลอดภัยแน่นอน

ยังมีกระแสอีกว่า ในถ้วยบรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็มีแว็กซ์เคลือบอยู่ ไม่งั้นจะกันน้ำไม่ได้ ยิ่งไปกันใหญ่เลยค่ะ!! ไม่ว่าจะเป็นถ้วยแบบพลาสติกหรือกระดาษก็ไม่มีแว็กซ์เคลือบอยู่ทั้งนั้นค่ะ ใช้เป็นสารพลาสติกที่ทนความร้อนสูงที่ใช้ในการบรรจุอาหาร ตอนนี้โลกมันไปไกลแล้ว เขาไม่เคลือบแว็กซ์กันหรอก!

@@@@@@

ต้องต้ม 3 นาที เพราะล้างสารพิษ
การเข้าใจผิดเรื่องนี้คืองงมาก อะไรที่ทำให้คิดว่าการต้มเส้น 3 นาทีจะเป็นการล้างสารพิษ เหมือนเป็นการจับต้นชนปลายหลายๆ เรื่องแล้วเอามาตั้งเรื่องใหม่ การต้ม 3 นาที คือระยะเวลาที่ทำให้เส้นสุกแบบพอดี จะใช้เวลาต้มมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่ว่าชอบเส้นแบบไหน ถ้าชอบแบบกรุบๆ หน่อยก็สัก 2 นาที แต่ถ้าชอบแบบนิ่มมากก็จัดไป 5 นาทีเลย

เวลาในการต้ม 3 นาที คือเวลาที่ได้ทำการทดลองแล้วว่าเป็นเวลาที่เส้นสุกกำลังดี ไม่ใช่เวลาที่ต้มแป้งจนสุก เพราะเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถูกต้มจนสุกก่อนที่จะนำไปทอดและอบแห้งอีกครั้ง การต้มในน้ำร้อนเป็นกระบวนการที่ให้น้ำร้อนไปแทรกซึมในเส้น เราจะต้มแบบเทน้ำร้อนใส่ ใส่ไมโครเวฟ หรือตั้งไฟต้มก็ได้ กระบวนการก็คือทำให้น้ำมันร้อนและแทรกซึมเข้าไปในเส้น เป็นเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

การต้ม 3 นาที ไม่ได้ล้างสารพิษอะไรเพราะมันไม่มี ที่เราเห็นเป็นน้ำสีเหลืองเข้มบวกกับเหมือนมีน้ำมันลอยอยู่ในน้ำ นั่นคือน้ำซุปและน้ำมันที่ทอดเส้น จะเททิ้งก็ได้ถ้าใครไม่ชอบ ก็จะลดเค็มได้นิดนึง มีหลายคนบอกว่าน้ำที่ออกมาจากเส้นเวลาใส่เครื่องปรุงลงไปผสมจะได้รสที่กลมกล่อมสุดๆ
 
@@@@@@

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แคลน้อย กินเป็นอาหารลดความอ้วนได้
ถ้าดูตามตัวเลขหน้าซองในช่องพลังงาน ก็ต้องยอมรับค่ะ ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้พลังงานน้อยจริงๆ ประมาณ 260-380 kCal แต่ แต่ แต่ ... ถ้าขยับไปดูช่องปริมาณโซเดียม จะเห็นว่าพุ่งสูงแบบวันนั้นทั้งวันจะกินโซเดียมเพิ่มไม่ได้แล้วค่ะ โหดใช่ไหมคะ? ซึ่งโซเดียมตรงนี้อยู่ทั้งในเส้นและในเครื่องปรุง

ตามหลักโภชนาการ แนะนำให้รับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,500 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบง่ายๆ คือ เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา ถ้าเป็นคนที่มีโรคเช่น โรคความดันโลหิตสูง หรือ ไตวาย ควรรับประทานโซเดียมไม่เกิน 1,000-1,500 มิลลิกรัม ก็ประมาณบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง แต่ทุกวันนี้คนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ยที่ 7000 -10000 มิลลิกรัมต่อวัน เกินค่าที่ควรเป็นประมาณ 3-4 เท่าเลยล่ะค่ะ

@@@@@@

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นอาหารที่ทำออกมาเพื่อความสะดวก ไม่ใช่อาหารที่ทำมาเพื่อประหยัดเงินหรือลดความอ้วนแต่อย่างใด การรับประทานให้ถูกต้องคือต้องเติมเนื้อสัตว์ ผัก หรือไข่ลงไปด้วย เพื่อให้ได้สารอาหารอย่างครบถ้วน อย่าลืมคำนวณปริมาณโซเดียมกันด้วยนะคะ สะสมไปเยอะๆ นานๆ ไตพังไม่รู้ด้วยน้าาาาา




ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.dek-d.com/article/53417
https://today.line.me/th/pc/article/รวมเรื่องเข้าใจผิดของ+“บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป”+และเหตุผล+ทำไมต้องต้ม+3+นาที-RYKPXe 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2019, 06:28:37 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ