ปางโปรดพุทธบิดาปางโปรดพุทธบิดา – พระพุทธรูปปางนี้เป็นพระพุทธรูปที่ต่อเนื่องจากปางอุ้มบาตร มีลักษณะอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์ (คล้ายกับปางปฐมเทศนา) ที่หมายถึงการแสดง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร
พระพุทธประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาเมื่อได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าออกบิณฑบาตรับอาหารจากชาวบ้านนั้น พระองค์เห็นเป็นเรื่องที่เสื่อมเสีย ขัดต่อประเพณีของกษัตริย์ จึงทรงไปต่อว่าพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อพระราชบิดาว่า นี่เป็นประเพณีของตถาคต (คำว่าตถาคตหมายถึงผู้ไปดีแล้ว) หรือวิถีชีวิตของพระพุทธเจ้า หรือพระภิกษุผู้ปรารถนาที่จะพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง
ที่จะยังชีวิตด้วยการให้ของผู้อื่น เพราะการยังชีวิตด้วยการให้ของผู้อื่น ผู้นั้นย่อมไม่ต้องปรุงแต่ง แสวงหา วุ่นวายอยู่ด้วยการจัดทำจัดหาอาหาร ปรุงอาหาร เพื่อบำเรอตนด้วยความยินดีในรสอันเกิดจากลิ้น (เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ)
อันเป็นส่วนหนึ่งของการบำเรอตนด้วยสิ่งที่เรียกว่า "กามสุขัลนุโยค" ให้พระราชบิดาเข้าใจ และทรงบรรลุธรรมในลำดับที่เรียกว่า โสดาบันคอลัมน์ : คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรม โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
ขอบคุณ :
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_3226997วันที่ 22 ธันวาคม 2562 - 00:01 น