สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ, จิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของ ฌาน ๔
(ข้อ ๘ ในมรรค)ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร
ธัมมานุปัสสนาสัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
ที่มาhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=6721&w=%CA%D1%C1%C1%D2%CA%C1%D2%B8%D4
มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
(ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๘)ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค[๓๔๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ ที่พระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว
มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การ
ที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
ความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เป็นไฉน ฯ
มิจฉัตตะ ๘ อย่าง
๑. มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด]
๒. มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด]
๓. มิจฉาวาจา [วาจาผิด]
๔. มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด]
๕. มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด]
๖. มิจฉาวายามะ [พยายามผิด]
๗. มิจฉาสติ [ระลึกผิด] ๘. มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด]ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015