อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ กุสินารวรรคที่ ๓
๘. อนุรุทธสูตรที่ ๒ อรรถกถาทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิทนฺเต มานสฺมึ ความว่า นี้เป็นมานะอันเจริญแล้วโดยส่วน ๙ ของท่าน. บทว่า อิทนฺเต อุทฺธจฺจสฺมึ ความว่า นี้เป็นความฟุ้งซ่านของท่าน คือความที่จิตของท่านฟุ้งซ่าน. บทว่า อิทนฺเต กุกฺกุจฺจสฺมึ ความว่า นี้เป็นความรำคาญของท่าน. จบอรรถกถาทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘
ที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=570
สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล)
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ )
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)
๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง)
๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ)
๗. อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)
มานะ อุทธัจจะ เป็นสังโยชน์ ของคนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์
อาจเป็นอนาคามีผลก็ได้ เพราะอนาคามีผลยังละสังโยชน์ห้าข้อหลังยังไม่ได้
ส่วนกุกกุจจะ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกับอุทธัจจะ
แต่โดยสรุปแล้ว ยังไม่ได้ตอบคำถามของคุณสถาพรเลย
คำถามที่ว่า เป็นวิปัสสนารึเปล่า ผมเองยังไม่มีภูมิธรรมพอที่จะตอบได้
แต่ถ้าเอาตำรามาตอบ ก็ต้องบอกว่า คุณเห็นไตรลักษณ์รึเปล่า
เพราะการวิปัสสนา คือ การเห็นตามความจริง ความจริงก็คือ ไตรลักษณ์นั่นเอง
ถ้าเอาวิปัสสนาญาณ ๑๖ มาคุย ก็ต้องถามที่ญาณแรกก่อน คือ
นามรูปปริเฉทญาณ หมายถึง การแยกรูปแยกนามได้
ขอพูดเล่นๆว่า ตัวโกรธ กับผู้รู้ว่าโกรธ คุณรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งเดียวกันรึเปล่า
ถ้ายังรู้สึกว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่น่าเรียกว่าวิปัสสนา
แต่ถ้ารู้สึกในตอนนั้นว่า มันเป็นคนละส่วนกันละก็ ขอแสดงความยินดีด้วย
ผมแค่ตีความตามตัวหนังสือนะครับ อย่าถือเ้ป็นจริงจัง
