ลักษณะ 3 ในวิปัสสนากรรมฐานสภาวะ หรือ อาการ ชื่อว่าลักษณ เพราะมีความหมายว่า เป็นเหตุให้กำหนดรู้ได้ คือหมายรู้ได้ว่า ธรรมนี้เป็นอย่างนี้ ก็ลักษณะนั้น มี 2 อย่าง คือ
- ปัจจัตตลักษณะ (ลักษณะเฉพาะตน) และ
- สามัญญลักษณะ (ลักษณะที่เสมอเหมื่อนกัน)
วิปัสสนาญาณที่ 1-2 คือ นามรูปปริจเฉทญาณ(ญาณแยกนามรูแ) , และ ปัจจยปริคคหญาณ(ญาณจับปัจจัยของนามรูปได้) เพ่ง ปัจจัตตลักษณะ เพื่อเกื้อต่อการแยกรูปนามและจับปัจจัยได้
วิปัสสนาญาณที่ 3-12 ( สัมมสนญาณ- อนุโลมญาณ ) เพ่งสามัญญลักษณะ ด้วยการเข้าถึงอันเป็นผลที่เนื่องมาจาก 2 ญาณแรก คือเห็นนามรูปเกิดดับตามปัจจัย เมื่อปัจจัยเกิดนามรูปก็เกิด เมื่อปัจจัยดับนามรูปก็ดับ เห็นแบบสันตติขาดเหมือนดูแผ่นฟิิล์มหนังเป็นแผ่นๆไม่ได้เห็นแบบแผ่นฟิล์มหนังฉายสือต่อกันอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นการจะเห็นว่าพระเอกต่อยกับผู้ร้ายเป็นต้นจึงเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะขาดความสือต่อที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนั่นเอง อัตตาตัวตนจึงหลุดหายไป ปรากฏแต่นามรูปเกิดดับฉัพพลันทันที่ ไม่ใช่คิดหรือนึกเอา เห็นประจักษ์ด้วยสภาวะที่นามรูปแสดงให้เห็นตามญาณที่ตัดสันตติได้นั่นเอง
@@@@@@@
ในคัมภีร์นิสสยะอักษรปัลลวะท่านกล่าวเป็นอุปมาให้เข้าใจได้ง่ายๆว่า เห็นนามรูปเกิดดับเท่ากับเห็นตัวเสือ เห็นลักษณะ 3 (ไตรลักษ์)เท่ากับเห็นลายเสือ คือ
- ผู้ยิ่งด้วยศีลเมื่อเห็นนามรูปเกิดดับจะเห็นเป็นอนิจจลักษณะ เพราะศีลมีลักษณะเป็นสมาธานฐาน(ฐานความทรงความดีไว้) พอเห็นประจักษ์กับความเกิดดับของนามรูปก็จะเห็นเป็นอนิจจลักษณ์
- ผู้ยิ่งด้วยสมาธิก็จะเห็นทุกขลักษณะ เพราะสมาธิมีสุขที่ไม่อิงอามิส(กามคุณ)เป็นเหตุใกล้
- ผู้ยิ่งด้วยปัญญาจะเห็นเป็น อนัตตลักษ์ เพราะปัญญาเห็นตรงต่อความเป็นจริง
ลักษณะทั้งสาม(ไตรลักษ์)จึงปรากฏเริ่มตั้งแต่สัมมสนญาณถึงอนุโลมญาณ ส่วนโคตรภูญาณ,มรรคญาณ,ผลญาณ มีนิพพานเป็นอารมณ์ และปัจจเวกขณญาณ มี มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืิออยู่เป็นอารมณ์ ลักษณะ ในวิปัสสนากรรมฐาน จึงมี 3 อย่างดังกล่าว (วิสุทธิมรรค.2/312)ขอบคุณ :
dhamma.serichon.us/2020/11/22/ลักษณะ-3-ในวิปัสสนากรรมฐ/ บทความ : ลักษณะ 3 ในวิปัสสนากรรมฐาน โดยสมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
22 พฤศจิกายน 2020 , post by admin.